คณะราษฎร “ปล้น” แนวคิดการปกครองของรัชกาลที่ 7 : ตอนที่ 1

มีหลักฐานสำคัญที่ย้ำชัดว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะมอบอำนาจการปกครองแบบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน ก่อนการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร นั่นคือ ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 247เป็นการยืนยันว่าพระองค์ต้องการให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักการใช้สิทธิทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นการศึกษาเรียนรู้และทดลองการปกครองระดับประเทศไปในตัว

แต่ทว่ากลับเกิดความผิดพลาดอันน่าสงสัยในระบบการทำงานของราชการ ที่ทำให้ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล ถูกเลื่อนและเพิกเฉยเป็นเวลานานมาก กระทั่งไม่มีความคืบหน้าใด ๆ เกิดขึ้นเลย

“ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 247…” เป็นกฎหมายว่าด้วย “การปกครองท้องถิ่น” (Local Government) ที่แท้จริงฉบับแรกของสยาม ซึ่งได้ถูกเขียนขึ้นสำเร็จตั้งแต่ในช่วงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ราวปี พ.ศ. 2472 – 2473 โดยพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 7 และผู้รับผิดชอบหลักในการจัดทำพระราชบัญญัติเทศบาล คือ กระทรวงมหาดไทย

ซึ่งปรากฏหลักฐานในการพยายาม “ผลักดัน” กฎหมายนี้ในที่ประชุมเสนาบดีสภา ครั้งที่ 33/2473 วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2474 (ตามปฏิทินใหม่) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะเสนาบดีได้ทำการพิจารณา “ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล” เป็นครั้งแรก

แต่ปรากฏว่า กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ได้ทรงทำการคัดค้านโดยให้เหตุผลว่า ร่างพระราชบัญญัตินี้ ให้สิทธิทางการเมือง (political right) แก่ชาวต่างชาติเท่ากับคนสยาม ซึ่งเป็นเรื่องไม่สมควรและต้องปรับปรุงแก้ไข เพราะคนต่างชาติจะมีสิทธิ์เท่ากับคนไทยไม่ได้ ดังนั้นร่างพระราชบัญญัติเทศบาลจึงถูกเลื่อนออกไปก่อน

ต่อมาได้มีการหยิบ “ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 247…” ขึ้นมาเพื่อหารือและติดตามความก้าวหน้าอีกครั้ง ในการประชุมเสนาบดีสภา ครั้งที่ 35/2473 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 แต่กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย ทรงยืนยันจุดยืนเดิมว่า “ไม่ควรให้สิทธิทางการเมืองแก่ชาวต่างประเทศ” ในเขตเทศบาลไม่ว่ากรณีใด ๆ

ร่างพระราชบัญญัติเทศบาลจึงถูกเลื่อนออกไปอีกครั้ง และรัฐบาลได้จัดให้มีการตรวจสอบเปรียบเทียบกฎหมายเทศบาลไทยกับกฎหมายเทศบาลของประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติเทศบาลให้มีความเหมาะสม โดยผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบและเปรียบเทียบคือ กระทรวงยุติธรรม

ต่อมาเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ได้กราบบังคมทูลความคืบหน้าว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถแปลกฎหมายเทศบาลของประเทศญี่ปุ่นได้ ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่า จะต้องเลื่อนการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ออกไปอีกโดยไม่มีกำหนด

จะเห็นได้ว่าความล่าช้านี้ มีสาเหตุมาจากการทำงานของระบบราชการที่ไม่มีการประสานกัน ระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรม ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับระบบราชการในลักษณะนี้ ก็ยังพบเห็นกันมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาชาติบ้านเมือง

และการจัดทำพระราชบัญญัติเทศบาล มีจุดที่น่าสนใจอีกประการคือ แม้ว่าผู้รับผิดชอบหลักในการจัดทำคือ กระทรวงมหาดไทย แต่การที่กระทรวงยุติธรรมอ้างว่า ไม่สามารถหากฎหมายเทศบาลของประเทศญี่ปุ่นมาเทียบเคียงได้ นับว่าเป็นเรื่อง “ผิดปกติ” และไม่สนองพระราชประสงค์ของในหลวงรัชกาลที่ 7 ที่ทรงต้องการให้รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้โดยเร็วที่สุด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น ก่อนต่อยอดไปสู่ประชาธิปไตยระดับบน (ระดับรัฐสภา)

ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เหตุใดการทำงานของกระทรวงยุติธรรมจึงมีความล่าช้า คล้ายจงใจไม่สนองพระราชประสงค์ของในหลวงรัชกาลที่ 7

หลังจากนี้จะเห็นได้ว่า “ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 247…” ได้ถูก “ดอง” ไว้ในกรมร่างกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม เป็นเวลานานมาก และไม่มีความคืบหน้าใด ๆ เกิดขึ้นเลย จนกระทั่งหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ไปแล้ว กฎหมายฉบับนี้จึงถูกนำกลับมาพูดถึงอีกครั้ง

และต่อมาคณะราษฎรก็ได้ “ลอก” กฎหมายนี้ทั้งฉบับ โดยแก้ไขหลักการและคำเพียงเล็กน้อย แล้วอ้างเอาดื้อ ๆ ว่าเป็นผลงานของตนเอง

ข้อมูลทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นถึงความล่าช้าและการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของระบบราชการ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกระทรวงยุติธรรม อันเป็นผลให้ “ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล” ไม่ได้ถูกนำมาประกาศใช้ตามพระราชประสงค์ของในหลวงรัชกาลที่ 7 จนกระทั่ง คณะราษฎรได้ “ปล้น” กฎหมายฉบับนี้ไปเป็นผลงานของตัวเอง

ทั้ง ๆ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริมาตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ที่จะให้ประชาชนเรียนรู้การปกครองท้องถิ่นในระดับเทศบาล เพื่อให้เกิดความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย อันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาไปสู่การปกครองในระดับประเทศต่อไป

[คณะราษฎร “ปล้น” แนวคิดการปกครองของรัชกาลที่ 7 : ตอนที่ 2]

อ้างอิง :

[1] รายงานเสนาบดีสภา ครั้งที่ 33/2473 วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2473.
[2] รายงานเสนาบดีสภา ครั้งที่ 34/2473 วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2473.
[3] รายงานเสนาบดีสภา ครั้งที่ 35/2473 วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า