‘veto ร่างกฎหมาย’ พระราชอำนาจเพื่อถ่วงดุลฝ่ายนิติบัญญัติ ภายใต้ขอบเขตของรัฐธรรมนูญ

จากกรณีเมื่อไม่นานมานี้ ที่ในหลวงรัชกาลปัจจุบันทรงไม่ลงพระปรมาภิไธยในร่าง พรบ.เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฯ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมาย

เหตุที่ทรงยับยั้งร่าง พรบ. นี้ เกิดจากปัญหาเรื่องการพิสูจน์อักษร และมีการอ้างเลขมาตราในร่าง พรบ. ไม่ถูกต้อง ซึ่งตอนนี้ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการแก้ไขของรัฐสภา

ทีนี้ก็มีคนเอาเรื่องนี้มาโจมตีว่า ในหลวงทรงเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง และเป็นการขยายพระราชอำนาจเข้าแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติ

เอาเป็นว่าใครที่พยายามออกมาโจมตีเรื่องดังกล่าว ลองเข้าไปดูคลิปวิดีโอนี้เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันดีกว่าครับว่า รัฐธรรมนูญของประเทศไทยกำหนดให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายได้ และยังกำหนดแนวทางของฝ่ายนิติบัญญัติเอาไว้ด้วยในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจนี้

อธิบายแบบง่ายๆ คือ ถ้าในหลวงทรงไม่เห็นด้วยกับร่าง พรบ. ที่ออกจากรัฐสภา แล้วเก็บไว้ไม่พระราชทานคืนมาภายใน 90 วัน รัฐสภาก็ต้องเอาร่าง พรบ. นั้นไปคุยกันใหม่ ถ้ายังยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมด ก็ทูลเกล้าฯ ถวายร่าง พรบ. นั้นอีกครั้ง แล้วถ้าในหลวงยังไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยอีก พอพ้น 30 วัน นายกฯ ก็สามารถนำร่าง พรบ. นั้นไปประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เลย เหมือนหนึ่งว่าในหลวงได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วนั่นเอง

จากแนวทางข้างต้นจะเห็นว่า อำนาจในการประกาศใช้กฎหมายจะอยู่ที่รัฐสภา ในหลวงท่านไม่สามารถบังคับ หรือแทรกแซงอะไรใดๆ ได้

ซึ่งการที่รัฐธรรมนูญกำหนดพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายเอาไว้ ก็เพื่อ “ถ่วงดุลการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ” ในกรณีที่รัฐสภาใช้อำนาจเกินขอบเขต และยังเป็นการตรวจสอบการทำงานที่อาจมีข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เกิดขึ้นได้ เหมือนที่ในหลวงทรงไม่ลงพระปรมาภิไธยในร่าง พรบ. เพื่อให้รัฐสภาแก้ไขถ้อยคำและการอ้างเลขมาตราให้ถูกต้องเสียก่อน

รายละเอียดชัดๆ เรื่องการ veto ร่างกฎหมาย เป็นอย่างไร ? และในประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้พระราชอำนาจนี้มาแล้วกี่ครั้ง ? พบคำตอบทั้งหมดได้ในคลิปวิดีโอนี้ครับ

TOP