THE KING’S PEACE ‘ความสงบใต้ราชา’

บทความโดย จิตรากร ตันโห

สังคมมนุษย์ในปัจจุบันมีระบอบการปกครองที่หลากหลาย บางสังคมนั้นเป็นประชาธิปไตยซึ่งยังแยกย่อยออกไปเป็นระบอบประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรีอีก บางสังคมนั้นเป็นระบอบเผด็จการ และบางสังคมก็ยังมีพระมหากษัตริย์ปกครองโดยมีอำนาจบริหารอยู่

อย่างไรก็ดีมีนักวิชาการบางท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่าอย่างไรเสียระบอบประชาธิปไตยจะกลายเป็นจุดหมายใหญ่ที่โชคชะตาของมวลมนุษย์จะเดินไปถึงจนถึงที่เขาเรียกโชคชะตานี้ว่า

“The End of History and the Last Man”

แต่ไม่ว่าจุดสุดท้ายของมวลมนุษย์จะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ สังคมมนษย์กลับมีจุดเริ่มต้นก่อนเข้าสู่อารยธรรมที่เหมือนกันคือการมีพระมหากษัตริย์ปกครอง คำถามที่เกิดขึ้นคือทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

ระบอบกษัตริย์นั้นเป็นต้นแบบของทั้งระบอบประชาธิปไตยและไม่ใช่ประชาธิปไตย [1] เพราะระบอบกษัตริย์นั้นมีพื้นฐานบางอย่างที่สามารถนำไปต่อยอดออกไปได้หลายความเป็นไปได้ในการปกครอง

ระบอบกษัตริย์ในที่นี้นั้นหมายถึงตำแหน่งของผู้ปกครองที่มีการสืบทางสายเลือด ปกครองโดยคนคนเดียว มีระยะการดำรงอยู่ในตำแหน่งหรือครองราชย์ตลอดชีวิต และมีบทบาทอย่างสำคัญในการบริหารปกครองอาณาเขตของตน

ระบอบกษัตริย์จึงเป็นระบอบที่มีความคล้ายคลึงกับรัฐสมัยใหม่อยู่ก่อนบ้างแล้วในตัวด้วย

แต่ทำไมรูปแบบของการมีการปกครองแบบกษัตริย์จึงเป็นสิ่งที่ถูกเลือกมากกว่าการปกครองรูปแบบอื่น เช่น หัวหน้าชนเผ่า และสังเกตว่าระบอบกษัตริย์นั้นจะอยู่คู่กับอารยธรรมที่มีกินพื้นที่ไกล มีวัฒนธรรมแบบเฉพาะ และมีระบบสังคมที่พัฒนาค่อนข้างมาก

คำตอบของคำถามนี้ต้องกลับไปเริ่มต้นที่ว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งที่สังคมมีประชากรมากขึ้นไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด เช่น การเติบโตของการทำเกษตร การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน จะเกิดปัญหาหนึ่งที่ตามมาก็คือปัญหาในการร่วมมือของคนในสังคมนั้น และจะถูกแก้ไขโดยการมีจุดโฟกัสไปที่คนคนเดียววิธีเดียวเท่านั้น

กล่าวคือการมีผู้ปกครองสูงสุดซึ่งกลายเป็นพระมหากษัตริย์นั้นเข้ามาแก้ไขปัญหาที่คนในสังคมหรือชุมชนหนึ่งไม่สามารถร่วมมือกันในการกระทำสิ่งต่างๆ ได้นั่นก็เพราะว่าคนในอดีตนั้นไม่รู้หนังสือ พูดภาษาที่เข้าใจไม่ตรงกัน และไมได้เจอคนนอกถิ่นของตนบ่อยๆ จึงไม่มีความรู้สึกร่วมในการเป็นชุมชนใหญ่เดียวกัน

ดังนั้นการมีจุดโฟกัสไปที่คนคนเดียวจึงทำให้ผู้นั้นกลายเป็นตัวแทนของสังคมที่ขยายใหญ่มากขึ้นในยุคก่อนสมัยใหม่ ซึ่งอาจจะฟังดูแปลกที่ผู้นำที่ไม่ได้เป็นตัวแทนโดยแท้จริงโดยวิธีการของโลกสมัยใหม่กลับรวมคนเข้าไว้ด้วยกันได้เพราะผู้นำสูงสุดอย่างพระมหากษัตริย์เป็นจุดศูนย์รวมเดียวที่ทุกคนสามารถระบุได้ และแต่ละคนแต่ละส่วนในสังคมต่างทำหน้าที่ของตนไปตามระเบียบ การปกครองของพระมหากษัตริย์ในอดีตจึงมิได้มีหัวใจอยู่ที่การปกครองอย่างเท่าเทียม แต่เป็นการปกครองอย่างยุติธรรม

สภาวะสังคมในอดีตที่มีจริงสภาวะหนึ่งคือสภาวะอนาธิปไตย และสภาวะนี้คือสิ่งที่เป็นความกลัวร่วมกันของทุกคน ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงเข้ามาแก้ไขปัญหาตรงนี้ด้วย ผลประโยชน์และเป้าหมายของพระมหากษัตริย์ในยุคก่อนในการรักษาความสงบเรียบร้อยเหนือดินแดนจึงเป็นผลประโยชน์เดียวกับของประชาชนในการรักษาชีวิตและทรัพย์สิน การตรงกันของผลประโยชน์นี้ถูกเรียกว่า

“ความสงบใต้ราชา” (The King’s Peace)

การปกครองของพระมหากษัตริย์จึงต้องใช้การปกครองโดยกฎหมาย (Rule by law) ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นก่อนที่จะมีการปกครองใต้กฎหมาย (Rule of law) ได้ และระบอบกษัตริย์เองก็มีประสิทธิภาพมากในการใช้วิธีการปกครองโดยกฎหมายเพราะมีอำนาจอยู่ที่ตัวพระองค์คนเดียวและสามารถสั่งการได้อย่างฉับพลัน และความจริงแล้วระบอบกษัตริย์ในอดีตสงบและทำสงครามน้อยกว่าที่คนในปัจจุบันเข้าใจกันมาก

อย่างไรก็ดี ข้อได้เปรียบของระบอบกษัตริย์ในยุคเก่าจะถูกท้าทายด้วยความเป็นสมัยใหม่ เพราะความเป็นสมัยใหม่เริ่มสามารถรับมือและแก้ไขกับปัญหาที่เมื่อก่อนต้องใช้ระบอบกษัตริย์เท่านั้นได้ และยังถูกโจมตีด้วยคุณค่าอื่นๆ เช่น เรื่องความเท่าเทียมที่โจมตีเรื่องการสืบอำนาจทางสายเลือด และประชาชนสามารถร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาได้เพราะเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนไปรวมไปถึงทางเลือกระบอบการปกครองแบบอื่นๆ ที่เป็นไปได้มากขึ้น

ระบอบกษัตริย์หรือการมีพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นหลักการสากลในอดีตที่ทุกอารยธรรมมีร่วมกัน จึงกลายเป็นเพียงสิ่งเฉพาะที่มีในบางประเทศเท่านั้นในปัจจุบัน แต่นั่นก็มิได้หมายความว่าพระมหากษัตริย์จะสิ้นมนต์ขลัง

ดังที่พิสูจน์มาแล้วในประเทศไทยเองโดยรัชกาลที่ 9 ในแบบที่ผู้ใช้อำนาจรัฐสมัยใหม่ไม่มีสามารถขึ้นไปเทียบเคียงได้เลยเพราะพระองค์ได้เข้าไปแก้ปัญหาหรือร่วมแก้ปัญหาที่รัฐไทยต้องประสบในอดีตได้สำเร็จ โดยเฉพาะความไม่ไว้วางใจกันในช่วงสงครามเย็น

สิ่งที่พระองค์ทำจึงทำให้พระมหากษัตริย์ไม่จบสิ้นลง เพราะพระมหากษัตริย์ได้กลับมาเป็นความอุ่นใจในโลกยุคใหม่นั่นเอง!

อ้างอิง :

[1] เรียบเรียงจาก John Gerring et al., “Why Monarchy? The Rise and Demise of a Regime Type,” Comparative Political Studies, 54(3-4), 585-622.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า