Lue Podcast EP 57 – ‘น้ำใจ’ และ ‘มนุษยธรรม’ ของคนไทย บนสงครามสิ้นชาติของเพื่อนบ้าน

ช่วงปี พ.ศ. 2517-2518 ภัยคอมมิวนิสต์รอบๆ ประเทศไทยได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปทั่วทุกพื้นที่ ตอนนั้นลาว เวียดนาม กัมพูชา แตกเพราะผลพวงจากสงคราม ผู้คนต้องพลัดพรากจากบ้านเรือนและหนีตายกันชนิดที่เรียกได้ว่าสิ้นชาติสิ้นแผ่นดิน

โดยเฉพาะในกัมพูชา ประชาชนถูกเขมรแดงกวาดล้างจนล้มตายนับล้าน ถึงขนาดเรียกกันว่าเป็นสงครามล้างเผ่าพันธุ์เลยทีเดียว ใครนึกภาพความโหดร้ายนี้ไม่ออกลองหาหนังเรื่อง ทุ่งสังหาร (The Killing Fields) มาดูได้ครับ ตอนนั้นตามแนวชายแดนไทยมีผู้อพยพจำนวนมากหนีข้ามมาตลอดเวลา แต่ก็ยังมีชาวกัมพูชาอีกหลายคนที่จนตรอกกันอยู่ตรงแนวชายแดน และต้องเสียชีวิตลงจากกับระเบิดนับแสนๆ ลูกที่เขมรแดงวางไว้เพื่อกันคนหนีออกนอกประเทศ

และในตอนนั้นเองที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงสอบถามไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบภายในประเทศว่าสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้างไหม จนเป็นที่มาของการเปิดพรมแดนไทยทุกด้านเพื่อรับผู้ลี้ภัยนับแสนนับล้านที่กำลังหนีตายให้ข้ามมาฝั่งไทย รวมถึงมีการจัดตั้งค่ายอพยพเพื่อดูแลผู้ลี้ภัยเหล่านั้น

และสมเด็จพระพันปีหลวงยังได้เสด็จฯ ไปยังค่ายผู้อพยพ เพื่อพระราชทานความช่วยเหลือด้วยพระองค์เอง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาคสนามจากทุกหน่วยงานที่ร่วมมือร่วมใจกันอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

ซึ่งความช่วยเหลือของประเทศไทยในครั้งนั้นทำให้มีคนรอดชีวิตกันเป็นล้าน จนกระทั่งต่อมาทางองค์การสหประชาชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเชิดชูเกียรติ “เซเรส” ให้กับสมเด็จพระพันปีหลวง ซึ่งเป็นเหรียญที่ทางสหประชาชาติทำขึ้นและมอบให้เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลที่สร้างประโยชน์ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์

เรื่องราวนี้นอกจากจะสะท้อนถึงความน่าสะเทือนใจจากภัยสงครามแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึง “น้ำใจ” และ “มนุษยธรรม” บนความช่วยเหลือโดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งเป็นคำตอบได้อย่างดีว่าทำไมคนไทยจึงผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r