01 ม.ค. 2023 PODCAST PODCAST Lue Podcast EP 54 – ตีแผ่คำบิดเบือนของนักวิชาการนอกรีต กล่าวหาสยามทำลายภาษาท้องถิ่น LINE iconLine ในงานเสวนาคณะรัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2565 มีนักวิชาการคนหนึ่งพยายามบิดเบือนว่า รัฐสยามในยุคปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กลืนกินท้องถิ่นด้วยการบังคับให้ใช้ภาษากลาง จนภาษาถิ่นหายไป ซึ่งนี่เป็นวิธีการทำลายท้องถิ่นของเจ้ากรุงเทพฯ ที่ได้รับแบบอย่างมาจากรัสเซียในสมัยพระเจ้าซาร์ไม่ทราบว่านักวิชาการคนนี้ทึกทักเอาเองตามใจ หรือไปเอาข้อมูลมาจากไหน ?เพราะการรับแบบอย่างพัฒนาการของรัฐมาจากรัสเซีย โดยเฉพาะในแง่กระบวนการใช้ภาษาทำลายท้องถิ่นนั้น “ไม่เคยมีหลักฐานปรากฏอยู่เลยในเอกสารชั้นต้น” ไม่ว่าจะของรัสเซียหรือของสยามประการสำคัญคือ การปฏิรูปไปสู่รัฐสมัยใหม่ แน่นอนว่าต้องมีความเป็นทางการ มีระบบราชการ และในสมัยนั้นนอกจากคนสยามแล้ว ยังมีคนเชื้อชาติอื่นๆ รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มากมายในประเทศ ลองคิดดูว่าถ้าไม่มีการกำหนดให้ใช้ “ภาษากลาง” ร่วมกันเพื่อติดต่อราชการ มันจะเกิดความวุ่นวายขึ้นขนาดไหนและภาษาถิ่นจะถูกทำให้หายไปได้อย่างไร ในเมื่อทุกวันนี้คนท้องถิ่นเขาก็ยังใช้ภาษาถิ่นกันอยู่ โดยเฉพาะการพูดจาสื่อสารกัน ไหนจะวัฒนธรรมท้องถิ่นในพื้นที่ต่างๆ ที่ยังได้รับการสืบสานโดยชุมชน และได้รับการสนับสนุนจากรัฐมาจนถึงปัจจุบัน แถมในสมัยก่อน เป็นรัฐสยามเองด้วยซ้ำที่สนับสนุนการใช้ภาษาถิ่น ถึงขนาดมีการเพิ่มเงินค่าเบี้ยภาษาให้เป็นกรณีพิเศษสำหรับข้าราชการที่พูดภาษาท้องถิ่นได้ดังนั้น การกล่าวหาของนักวิชาการคนนี้ที่ว่า รัฐไทยสมัยนั้นไม่สนับสนุนภาษาถิ่นคือการ “โกหกทางวิชาการ” ล้วนๆเป็นการโกหกเพื่อพยายามโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ในเรื่องนโยบายการสร้างชาติ ทั้งๆ ที่นโยบายนี้คณะราษฎรเองก็รับเอามาใช้ภายหลัง พ.ศ. 2475 ด้วยซ้ำ แต่นักวิชาการคนนี้กลับโจมตีแต่สถาบันฯ โดยเลี่ยงไม่เคยพูดถึงคณะราษฎรเลย ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเดียวกันแบบนี้เขาเรียกว่า “ไม่มีจรรยาบรรณทางวิชาการ”หากได้ลองศึกษารายละเอียดการปฏิรูปไปสู่รัฐสมัยใหม่ และการสนับสนุนภาษาถิ่นของรัฐสยาม แล้วจะเข้าใจว่า การทำลายท้องถิ่นด้วยการบังคับให้ใช้ภาษากลางของรัฐสยามนั้น ไม่ใช่เรื่องจริง