Lue Podcast EP 47 -‘หมอบกราบ’ ธรรมเนียมปฏิบัติของการให้เกียรติ ไม่ใช่แค่ ระบบไพร่ทาสและศักดินา

การยกเลิกการหมอบกราบในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการยกเลิกธรรมเนียมปฏิบัติในแง่ของการแบ่งแยกชนชั้น แบ่งคนไทย แบ่งฝรั่ง ทำให้ต่างชาติมองเราว่าไม่เป็นสากล พระองค์จึงทรงยกเลิกการหมอบกราบ เพื่อยกระดับของสยามให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ ซึ่งถือเป็นการปรับเปลี่ยนตามบริบทบ้านเมืองในขณะนั้น

แต่การกราบการไหว้นั้น ยังมีความหมายในแง่มุมของการแสดงความเคารพ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

ซึ่งความหมายในแง่นี้ ไม่มีใครยกเลิก และคงไม่สามารถยกเลิกได้ หากการ “ให้เกียรติกัน” ยังคงเป็นวัฒนธรรมสากลที่ทั่วโลกต่างให้การยอมรับ

จริงๆ แล้ว “การหมอบกราบ” เป็นการแสดงความเคารพ ที่ยังปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมสากลซึ่งยึดถือปฏิบัติกันมานมนานจนถึงปัจจุบันด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะในแถบเอเชียใต้ หรือในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์

สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ประเพณีที่ยังมีการหมอบกราบ เช่น พิธีไหว้ครู ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่แสดงถึงการให้เกียรติครูบาอาจารย์ที่มอบวิชาความรู้แก่ศิษย์ เป็นการแสดงความเคารพและให้คุณค่ากับอีกฝ่าย ในทางกลับกันยังเป็นการละวาง ลดการถือดี ลดอีโก้ของเราลงมาด้วย

สิ่งเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับไพร่ทาส หรือระบบศักดินาอะไรเลย

และประเพณีปฏิบัตินี้ไม่มีใครบังคับใคร ใครไม่สะดวกใจ จะไม่เข้าร่วมก็ไม่มีความผิด แต่ก็ต้องเคารพในสิทธิของคนที่เข้าร่วมด้วยเช่นกัน และในอนาคตหากธรรมเนียมปฏิบัติไหน ไม่มีความสะดวก หรือไม่เหมาะสมจริงๆ การพูดคุยกันเพื่อปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน โดยไม่ตกอยู่ในกระแสปลุกปั่นของคนบางกลุ่ม เพียงเพื่อหวังผลทางการเมืองเท่านั้น

การแยกแยะได้แบบนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมเดินหน้าได้อย่างแข็งแรงที่สุด ภายใต้กรอบของคำว่าสิทธิและเสรีภาพ

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.