‘งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์’ วาทกรรมบิดเบือนที่ ‘ไม่มีจริง’

ในช่วงที่มีการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในทุกๆ ปี จะมีกระแสบิดเบือนเกี่ยวกับงบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์วนมาอยู่ตลอด ทั้งจากสื่อ หรือนักการเมืองพรรคหนึ่ง มีการพยายามสร้างความเข้าใจผิดว่างบประมาณของสถาบันฯ เป็นงบก้อนใหญ่ จำนวนมหาศาลถึง “สามหมื่นกว่าล้านบาท” ล่าสุดมีการบิดเบือนไปถึง “เก้าหมื่นล้านบาท” แล้ว และยังมีการกล่าวหาด้วยว่าเป็นงบประมาณฟุ่มเฟือยที่เอาไปให้ในหลวงใช้ แถมยังตรวจสอบไม่ได้

ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลยครับ

อันดับแรก งบประมาณในส่วนนี้เรียกว่า “งบประมาณส่วนราชการในพระองค์” ไม่ใช่ “งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์”

คำว่า งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์ มักจะถูกนักการเมืองบางคนเอาไปพูด เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้สึกและเข้าใจไปว่า เป็นเงินภาษีที่เอาไปให้สถาบันฯ ใช้ หรือพูดง่ายๆ คือเอาไปให้ในหลวงใช้นั่นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ดังนั้นคำว่า “งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์” จึงเป็นวาทกรรมบิดเบือนที่ “ไม่มีจริง”

กลับมาที่ “งบประมาณส่วนราชการในพระองค์” งบประมาณส่วนนี้ตัวเลขจริงๆ อยู่ที่ประมาณแปดพันล้านบาทเท่านั้น จากร่างงบประมาณร่ายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 งบฯ ส่วนราชการในพระองค์อยู่ที่ 8,611 ล้านบาท ลดลงมาจากปีที่แล้ว 150 ล้านบาท ซึ่งจริงๆ ก็ลดลงมาต่อเนื่องทุกปีนะครับ (ปี พ.ศ. 2564 ได้รับ 8,981 ล้านบาท, ปี พ.ศ. 2565 ได้รับ 8,761 ล้านบาท) และคิดเป็น 0.25% ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด

แล้วงบส่วนนี้ใช้ทำอะไรบ้าง ? งบประมาณส่วนราชการในพระองค์ หลักๆ จะมี 3 ส่วน คือ
1. สำนักพระราชวัง
2. สำนักองคมนตรี
3. หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย

ซึ่งเงินงบประมาณส่วนนี้ 90% เป็นค่าดำเนินการ ค่าจ้างเงินเดือนที่จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่และบุคลากร ประมาณ 14,000 คน ที่เหลือก็เป็นค่าสาธารณูปโภคต่างๆ แล้วรู้ไหมครับว่าตัวเลขนี้ไม่เพียงพอในการใช้จริงด้วย รายได้ของข้าราชการในพระองค์บางส่วนก็มาจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ (สังเกตได้จากพนักงานสำนักพระราชวังที่ใส่อินทรธนู “ททน” ซึ่งย่อมาจาก “เงินท้ายที่นั่ง”)

สำหรับกรณีที่มีคนบอกว่า งบประมาณส่วนราชการในพระองค์ มีการเพิ่มขึ้นจากแต่เดิมในปี พ.ศ. 2562 จำนวนหกพันล้านบาท อยู่ดีๆ ก็ปรับเพิ่มเป็นแปดพันล้านบาท ทำไมจึงต้องปรับเพิ่ม ?

จริงๆ จะเรียกว่าปรับเพิ่มก็ไม่ถูก เพราะเป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนกำลังพล โดยในปี พ.ศ. 2562 มีการออกพระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ ทำให้อัตราเงินเดือนต่างๆ ก็ต้องถูกโอนมาด้วย ทำให้ตัวเลขงบประมาณส่วนนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งก็เป็นเหตุเป็นผล เป็นตรรกะธรรมดาไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด

แล้วกระแสบิดเบือนเรื่อง “งบประมาณสถาบันฯ สามหมื่นล้าน” มาจากไหน ?

จำนวนตัวเลขมหาศาลสามหมื่นล้านนี้มาจาการที่มีคนเอา งบประมาณส่วนราชการในพระองค์ ไปเหมารวมกับงบประมาณของโครงการหลวง โครงการพระราชดำริ แล้วยังมีงบประมาณของกระทรวงต่างๆ ที่ตั้งงบขึ้นมาโดยการอ้างถึงสถาบันฯ แล้วเอาไปใช้เองภายในกระทรวงก็มี

ซึ่งโครงการพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ เป็นโครงการพระราชดำริที่เกิดขึ้นในสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 9 และเป็นโครงการที่ทำสำเร็จไปแล้วมากมาย บางโครงการในหลวงรัชกาลที่ 10 ท่านก็ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอดเพิ่มเติมจากโครงการเดิมที่เคยได้ทำเอาไว้ เพราะฉะนั้นงบประมาณส่วนนี้ก็เป็นงบประมาณต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือประชาชน รวมถึงเป็นเงินเดือนค่าจ้างบุคลากรด้วย

ยกตัวอย่างโครงการพระราชดําริเกี่ยวกับการสร้างเขื่อน หน่วยงานที่รับสนองพระราชดำริก่อสร้างคือกรมชลประทาน สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ โครงการเหล่านี้เป็นประโยชน์กับประชาชนและประเทศชาติหรือไม่ ซึ่งชัดเจนอยู่แล้วว่า โครงการนี้ช่วยป้องกันน้ำท่วม เพิ่มพื้นที่เขตชลประทาน ตลอดจนแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชนได้ ทีนี้เมื่อสร้างเขื่อนขึ้นมาแล้ว ก็จำเป็นต้องมีงบบำรุงรักษา ซึ่งก็อยู่ในงบประมาณที่ตั้งขึ้นในแต่ละปีนั่นเอง

งบประมาณทั้งหมดตั้งขึ้นก็เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ในหลวงหรือสำนักพระราชวังไม่ได้แตะต้องเงินงบประมาณในส่วนนี้เลยแม้แต่บาทเดียว

และโครงการพระราชดําริทุกโครงการ เป็นโครงการที่ในหลวงคิดค้นดำริขึ้น ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของทางรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะนำไปปฏิบัติต่อ ซึ่งโครงการไหนได้ผลต่อเนื่อง เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันแค่ไหน ต้องจัดสรรงบประมาณยังไง เขาก็ต้องไปว่ากันต่อในสภา

งบประมาณของโครงการต่างๆ เหล่านี้แหละครับ ที่มีนักการเมืองบางคนจงใจเอาไปเหมารวมกับงบประมาณส่วนราชการในพระองค์ จนกลายเป็นตัวเลขจำนวนมหาศาล

กับคำถามที่ว่า งบประมาณส่วนราชการในพระองค์ ตรวจสอบได้ไหม ?

งบประมาณส่วนราชการในพระองค์ ก็เหมือนกับงบประมาณอื่นๆ ที่ตั้งขึ้นโดยสำนักงบประมาณ เพราะฉะนั้นการจัดสรรงบจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ต้องมีการชี้แจงเสนอต่อรัฐสภาเพื่อขออนุมัติ ต้องมีเอกสารประกอบมากมาย ทั้งคำแถลงเรื่องบประมาณ รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบระหว่างปี ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ฯลฯ ซึ่งถ้าหากไม่เป็นไปตามรายละเอียดเงื่อนไขในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ การจัดสรรงบก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทีนี้การจัดสรรงบจะชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย รัฐบาล สภา ศาล ก็ต้องไปตรวจสอบกันเองตามอำนาจหน้าที่ที่แบ่งแยกเอาไว้อยู่แล้ว

และในส่วนของการตรวจสอบนั้น งบประมาณแผ่นดินก็จะถูกกำกับดูแลจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) อย่างเคร่งครัดด้วย

ส่วนกรณีที่เคยมีคนบิดเบือนข้อเท็จจริงว่า เมื่อปี พ.ศ. 2560 มีการออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ กำหนดให้โอนสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง กรมราชองครักษ์และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ โดยในกฎหมายดังกล่าวกำหนดว่า ส่วนราชการในพระองค์ “ไม่เป็นหน่วยงานของรัฐ” ทีนี้ก็เลยมีคนออกมากล่าวหาว่า ส่วนราชการในพระองค์ไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบตามระบบกฎหมายปกครอง

ซึ่งจริงๆ แล้วคำกล่าวหาที่ว่า “ส่วนราชการในพระองค์ไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบตามระบบกฎหมายปกครอง” เป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมาก เพราะการพูดแบบนี้ทำให้เกิดการตีความไปว่า ส่วนราชการในพระองค์ไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบของกฎหมาย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่

คำว่า “ไม่เป็นหน่วยงานของรัฐ” ในที่นี้เป็นการพูดถึงในลักษณะของวิธีการจัดระเบียบบริหารงานหน่วยงาน หรือการบริหารงานบุคคล แต่ถึงยังไง ก็ยังอยู่ภายใต้การตรวจสอบตามกฎหมายโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินอยู่ดี เพราะเป็นหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณจากเงินภาษีนั่นเอง

จากข้อมูลทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ตัวเลขจริงๆ ของงบประมาณส่วนราชการในพระองค์นั้น ไม่ได้เป็นจำนวนมหาศาลตามที่มีการบิดเบือนกันเลย และเป็นงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งในหลวงท่านไม่ได้ทรงใช้เงินส่วนนี้เลย อีกทั้งงบประมาณเหล่านี้ก็มีการชี้แจงขออนุมัติกันตั้งแต่ในรัฐสภา รวมถึงมีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดจาก สตง. เหมือนกับงบประมาณส่วนอื่นๆ

การทำความเข้าใจเรื่องนี้เราต้องมีความรู้เบื้องต้นสักหน่อยว่าหน่วยงานของรัฐคืออะไร แต่ละหน่วยงานจัดสรรงบประมาณอย่างไรและใช้ทำอะไรบ้าง ใครมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล และหน้าที่ในการตรวจสอบคือหน่วยงานไหน สิ่งต่างๆ เหล่านี้กฎหมายก็ได้เขียนแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของแต่หน่วยงานเอาไว้แล้วอย่างชัดเจน ซึ่งหลักการง่ายๆ คือ หากหน่วยงานไหนรับเงินภาษีไปดำเนินภารกิจ หน่วยงานนั้นก็จะต้องถูกตรวจสอบด้วยนั่นเอง

สรุปแล้วคำว่า “งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์สามหมื่นล้าน” หรือ “งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์ตรวจสอบไม่ได้” หรือแม้แต่คำว่า “งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์” จึงเป็นแค่วาทกรรมบิดเบือนที่ไม่มีจริง เป็นการหยิบเอาข้อมูลจากส่วนโน้นส่วนนี้มาเหมารวมกันมั่วๆ แล้วโยงว่าเป็นเงินที่เอาไปให้สถาบันฯ ใช้ โยนความผิดให้สถาบันฯ กลายเป็นในหลวงท่านทำอะไรก็ผิดไปหมด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นวิธีสกปรกของคนบางกลุ่มที่พยายามใช้เพื่อโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า