130 ปี ปฏิรูปแผ่นดินสยาม สู่ระบบราชการสมัยใหม่

ด้วยภัยคุกคามจากการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก รวมถึงวิกฤตการณ์ต่างๆ ในขณะนั้น ทำให้ในหลวง ร.5 ตัดสินพระทัยวางแผนการปฏิรูปการปกครองให้รัดกุมเหมาะสม เพื่อความมั่นคงของประเทศ และรักษาเสถียรภาพของสยามไว้

แต่ในปัจจุบันกลับมีพวกนักวิชาการและนักการเมืองบางคน ที่ชอบบิดเบือนประวัติศาสตร์ และใช้ข้ออ้างว่าอยากจะ “ปลดล็อกท้องถิ่น” ออกมากล่าวหาว่า การปฏิรูปการปกครองของในหลวง ร.5 เป็นการรวบอำนาจเพื่อควบคุมการบริหารประเทศเอง

ทั้งๆ ที่ในหลวง ร.5 ท่านทรงมองว่า การปกครองแบบเดิมของไทยมีความล้าสมัยไม่สอดคล้องกับความเจริญของบ้านเมือง จึงทำให้เกิดการปฏิรูปการปกครองขึ้น โดยทรงเริ่มแผนการปฏิรูปตามแบบตะวันตกในปี พ.ศ. 2430 โดยการยกเลิกระบบจตุสดมภ์ เวียง-วัง-คลัง-นา และสร้างระบบราชการแบบใหม่ ก่อตั้งกระทรวงขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม

การปฏิรูปในครั้งนั้น ทำให้เกิดการจัดระเบียบการปกครองที่สำคัญคือ “การปกครองส่วนท้องถิ่น” ซึ่งมีหน้าที่คล้ายเทศบาลในปัจุบันนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าการปฏิรูปการปกครองในสมัย ร.5 จริงๆ แล้วเป็นการกระจายอํานาจ และสร้างระบบราชการสมัยใหม่ให้กับประเทศ เป็นการสร้างพื้นฐานให้ราษฎรเรียนรู้การปกครองระดับท้องถิ่น และบริหารงานเพื่อประโยชน์ของชุมชนเอง

ซึ่งทั้งหมดนี้คือรากฐานที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย

ยังมี “ความจริง” อีกมากในการปฏิรูปบ้านเมืองในสมัย ร.5 ที่นักวิชาการบางคนพยายามเหลือเกินที่จะบิดเบือนเพื่อสร้างความเข้าใจผิดๆ ให้กับสังคม และความจริงที่ถูกต้องมีอะไรบ้าง ศึกษาได้จากคลิปนี้ครับ

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่