แกนนำม็อบติดคุกจากการก่อเหตุซ้ำซากของตัวเอง ไม่ใช่ความผิดจากมาตรา 112

ปัจจุบันมีแกนนำม็อบที่ถูกดำเนินคดีในความผิดมาตรา 112 ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำหลายคน และถูกจำคุกมาเป็นเวลานาน เช่น เพนกวิน พริษฐ์ ถูกจำคุกมาแล้ว 78 วัน (ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2564) อานนท์ นำภา ถูกจำคุกมาแล้ว 76 วัน (ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564) และล่าสุด เบนจา อะปัญ ถูกจำคุกมาแล้ว 19 วัน (ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2564)

เป็นเหตุให้มีการออกมาโจมตีว่า แกนนำเหล่านี้ “ติดคุกด้วยความผิดมาตรา 112” ถือเป็นยุคมืดของการใช้กฎหมาย ที่รัฐเอามาตรา 112 มาลิดรอนเสรีภาพประชาชน

ซึ่งนั่นเป็นการกล่าวอ้างที่ “ผิด” เพราะปัจจุบันยังไม่มีการตัดสินคดีความในชั้นศาล ดังนั้น จำเลยจึงยังไม่ถูกตัดสินว่ามีความผิดมาตรา 112 และการถูกคุมขังในขั้นตอนนี้ ถือเป็นการติดคุกระหว่างพิจารณาคดี ซึ่งสามารถประกันตัวออกไปสู้คดีได้ แต่ที่ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว เนื่องมาจาก “การก่อเหตุซ้ำซาก” ของจำเลยเอง และอัตราโทษที่สูงนั้น (จำนวนวันที่ติดคุก) ก็เกิดจากการที่ตัวจำเลยก่อเหตุในหลายคดี

ในหลักการทางกฎหมายนั้น จำเลยจะยังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะพิพากษาว่ามีความผิด จากหลักการนี้ สำหรับคดีทั่วไป ศาลจะให้ประกันตัวจำเลยออกมาใช้ชีวิตปกติ ในระหว่างสู้คดี

แต่บางคดี ที่ศาลมองว่าเป็นคดีร้ายแรง หรือถ้าจำเลยถูกประกันตัวออกไป จะไปข่มขู่พยาน ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน รบกวนกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าในทางใด ๆ หรือแม้กระทั่งออกไปก่อเหตุซ้ำซาก ศาลจะไม่ให้ประกันตัว เพราะถ้าให้ประกันตัวออกไป จะเกิดความวุ่นวายในสังคมเพิ่มขึ้น

ประเด็นข้างต้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคสอง บัญญัติว่า “ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ในมาตรา 29 วรรคสี่ ยังระบุต่อไปอีกด้วยว่า “การไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”

รัฐธรรมนูญได้กำหนดหลักการเป็นกรอบใหญ่เอาไว้ คำว่า ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ เราต้องไปดูกฎหมายลำดับรอง นั่นก็คือ หลักการเรื่องการให้ประกันตัว (ในทางกฎหมายเรียกว่า การปล่อยชั่วคราว) ที่ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 บัญญัติว่า ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบด้วย (ซึ่งจะยกมาอธิบายเฉพาะข้อที่เกี่ยวข้อง)

ข้อ 1 ความหนักเบาแห่งข้อหา
ข้อ 3 พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
ข้อ 5 ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
ข้อ 6 ความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่

โดยศาลจะหยิบยกมาพิจารณาทุกเงื่อนไขประกอบกัน ไม่ใช่เพียงแต่ว่า จำเลยไม่มีพฤติการณ์หลบหนีเพียงอย่างเดียว แล้วจะทำให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวเสมอไป

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 “การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (ซึ่งจะยกมาอธิบายเฉพาะข้อที่เกี่ยวข้อง)

ข้อ 1 ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
ข้อ 2 ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
ข้อ 3 ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
ข้อ 5 การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล

จะเห็นได้ว่า การพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอประกันตัว ศาลจะหยิบยกข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายหลายเหตุมาประกอบกันทั้งหมด แต่การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวนั้น มีเพียงแค่เหตุเดียวที่ศาลเห็นว่า ไม่อาจมีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวได้ ศาลก็มีอำนาจสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวแล้ว

ซึ่งข้อกฎหมายเรื่องหลักเกณฑ์ในการปล่อยชั่วคราวนี้ เป็นหลักเกณฑ์ที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งใช้บังคับกับคดีอาญาทุกคดี (เช่น ฆ่าคนตาย วางเพลิง ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หมิ่นประมาท กักขังหน่วงเหนี่ยว พรากผู้เยาว์ ข่มขืนกระทำชำเรา ปลอมเอกสาร ฯลฯ) ไม่ใช่ใช้บังคับแต่เฉพาะกับมาตรา 112 เท่านั้น

จากข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมายที่ได้อธิบายไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในส่วนของผู้ที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ในปัจจุบัน ศาลยังไม่มีการตัดสินความผิดแม้แต่รายเดียว แต่มีผู้ถูกดำเนินคดีที่ติดคุกอยู่ เนื่องจาก ศาลเคยให้ประกันตัวแล้ว จำเลยกลับก่อเหตุซ้ำซากในลักษณะเดียวกัน ศาลจึงมองว่าเป็นการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย ไม่เคารพยำเกรงกฎหมาย จึงไม่อนุญาตให้ประกันตัวอีก

และคำว่า “ก่อเหตุซ้ำซาก” ไม่ใช่ “ทำผิดซ้ำซาก” นั่นหมายความว่า ศาลยังไม่ได้ตัดสินว่าจำเลยมีความผิด ดังนั้น ผู้ที่ถูกคุมขังอยู่ในปัจจุบันจึงยังไม่ถือว่ามีความผิดมาตรา 112เพียงแต่การถูกคุมขังในขั้นนี้ เรียกว่า “การติดคุกในชั้นพิจารณาคดี” ไม่ใช่การถูกจำคุกเนื่องจากถูกตัดสินว่ามีความผิด

ในส่วนของอัตราโทษที่ได้รับ ให้มองภาพง่าย ๆ ว่า แกนนำม็อบ 1 คน ขึ้นเวที พูดดูหมิ่นในหลวง เป็นการกระทำ 1 ครั้ง แต่ผิดกฎหมายหลายบท ไม่ว่าจะเป็น

  1. กฎหมายมาตรา 112
  2. พรก. ฉุกเฉิน
  3. พรบ. โรคติดต่อ
  4. และอื่น ๆ

ดังนั้น อัตราโทษจึงหนัก และเมื่อศาลให้ประกันตัวออกมา ก็กลับก่อเหตุนำมวลชน ขึ้นเวทีดูหมิ่นในหลวงอีก กลายเป็นถูกดำเนินคดีความเพิ่มอีกเป็นครั้งที่ 2 และครั้งนี้ศาลยังอนุญาตให้ประกันตัว แต่สุดท้ายก็ออกมาก่อเหตุซ้ำเดิมอีก ทีนี้กลายเป็นคดีความครั้งที่ 3 อัตราโทษจึงบวกเพิ่มเข้าไป ในที่สุด ศาลจึงมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว เพราะเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อปล่อยตัวออกมาแล้ว แกนนำก็จะออกมาก่อเหตุซ้ำซากอีก

แต่อย่างไรก็ดี จะพบว่าในปัจจุบัน มีแกนนำม็อบบางคน ที่ได้รับการประกันตัวในคดีความผิดมาตรา 112 และไม่ได้ออกไปก่อเหตุซ้ำซาก ก็ไม่ถูกควบคุมตัวแต่อย่างใด

หลักการทั้งหมดนี้ ไม่ได้หมายความแค่มาตรา 112 แต่ใช้กับการดำเนินคดีในทุกมาตรา โดยศาลจะมุ่งพิจารณาที่ความสงบเรียบร้อย และการที่กฎหมายต้องถูกเคารพยำเกรงจากประชาชน ถ้าหากศาลให้จำเลยประกันตัวออกมา แล้วมาก่อเหตุซ้ำซากอีก สังคมก็จะมีแต่ความวุ่นวาย ประชาชนก็จะทำตามอำเภอใจ ในที่สุดประเทศก็จะกลายเป็นอนาธิปไตยทันที

ดังนั้น สิ่งที่ถูกต้องคือ ในเมื่อจำเลยได้ประกันตัวแล้ว ควรอยู่สงบ ๆ ไม่ใช่มาก่อเหตุในลักษณะเดิมที่หมิ่นเหม่ว่าจะผิดกฎหมายอีก ควรต้องสู้คดีในศาล ให้กระบวนการมันทำงานของมันไป

กฎหมายต้องบังคับใช้ ให้สังคมสงบ ส่วนกฎหมายจะแก้ไขแบบไหน เหมาะสมกับสังคมแบบไหน เป็นหน้าที่ของสภา ศาลไม่มีอำนาจตีความกฎหมายเกินตัวบทไปได้ เพราะอำนาจอธิปไตยมีการแบ่งกันแล้ว นั่นคือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ

อ้างอิง :

[1] รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 29
[2] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 มาตรา 108/1

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า