เมื่อ BBC ไทย บิดเบือนและปั้นแต่งพาดหัว โยงมั่วเรื่อง ม.112 ให้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์

เมื่อสำนักข่าว BBC ไทย พาดหัวข่าวว่า “ผู้ลี้ภัย ม. 112 ฟ้อง SCB” สิ่งที่ผู้อ่านที่ติดตามการเมืองไทยย่อมหลีกเลี่ยงที่จะคิดไปว่า คู่พิพาทของผู้ลี้ภัย มาตรา 112 นั้น คือสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่หากเราติดตามเข้าไปอ่านเนื้อหาภายในแล้ว พบว่า BBC ไทย พาดหัวข่าวอย่างต้องการสื่อถึงนัยยะบางอย่างที่เกินไปกว่าความเป็นจริง

มูลเหตุที่แท้จริงแห่งคดี

คดีนี้เป็นคดีการพิพาทสัญญาทางธุรกิจประเด็นเรื่องหุ้น ระหว่าง นายนพพร ศุภพิพัฒน์ อดีตผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) ที่ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB), ผู้บริหาร SCB และผู้บริหารรวมถึงกรรมการของ WEH รวม 17 ราย โดยนายนพพร ระบุว่า ฝ่ายจำเลยสมคบกันชักจูงใจด้วยข้อมูลลวงให้นายนพพรขายหุ้น WEH ในราคาต่ำกว่ามูลค่า

ช่วงปี 2552 – 2557 นายนพพรถือหุ้น WEH เป็นจำนวน 59.46 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ผ่านบริษัท รีนิวเอเบิล เอนเนอยี คอร์เปอร์เรชั่น จํากัด (REC) โดยบริษัท REC มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัท ซิมโฟนี่ พาร์ตเนอร์ส จํากัด, บริษัท เน็กซ์โกลบอล อินเวสต์เมนท์ส จำกัด และบริษัท ไดนามิค ลิ้งค์ เวนเจอร์ส จํากัด ซึ่งทั้ง 3 บริษัทก็เป็นบริษัทของนายนพพรเอง โดยถือหุ้น REC รวม 97.94% ของทั้งหมด

จนปลายปี 2557 นายนพพรถูกกล่าวหาด้วยคดีอาญาหลายคดี รวมถึงคดีที่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

จึงมีการกดดันจาก SCB และกรรมการของ WEH ให้นายนพพร ขายหุ้น WEH เพื่อรับการสนับสนุนทางการเงินจาก SCB สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าซึ่งเป็นธุรกิจในบริษัทของนายนพพร และในปี 2558 นายณพ ณรงค์เดช ผู้ถือหุ้นใหญ่คนปัจจุบันของบริษัท WEH ได้ขอซื้อหุ้นจากนายนพพร โดยนายณพ ได้จัดตั้ง 2 บริษัทขึ้นมาทำสัญญาซื้อหุ้น จากกลุ่มบริษัทของนายนพพร คือ

  1. บริษัท ฟูลเลอร์ตัน เบย์ อิน เวสต์เมนต์ ลิมิเต็ด ซึ่งสำนักข่าวอิศราระบุว่า นายณพ มีชื่อเป็นผู้รับผลประโยชน์เพียงผู้เดียว
  2. บริษัท เคพีเอ็นเอนเนอยี โฮลดิ้ง จํากัด (KPNEH) ซึ่งนายณพ ถือหุ้น 40%, บริษัทฟูลเลอร์ตันฯ ของนายณพ ที่ถือ 20% โดยหุ้นส่วนที่เหลือมี นางเอมม่า ลูอิส คอลลินส์ และ นายธันว์ เหรียญสุวรรณ อดีตผู้บริหารและกรรมการของบริษัท WEH ถือคนละ20%

การทำสัญญาซื้อขายหุ้นบริษัท REC ของ นายนพพร ซึ่งเป็นบริษัทผู้ถือหุ้นใหญ่ใน WEH ให้ นายณพ แบ่งเป็นสัญญา 2 ฉบับ ได้แก่

  1. สัญญาซื้อขายหุ้น REC ที่บริษัท ซิมโฟนี่ พาร์ตเนอร์ส จํากัด ขายหุ้น 49 เปอร์เซ็นต์ของจํานวนหุ้นทั้งหมด ให้ กับบริษัท ฟูลเลอร์ตันฯ ของ นายณพ โดยตกลงซื้อขายหุ้นในราคา 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  2. สัญญาซื้อขายหุ้น REC ที่บริษัท เน็กซ์โกลบอล อินเวสต์เมนท์ส จํากัด และบริษัทไดนามิค ลิ้งค์ เวนเจอร์ส จํากัด ของนายนพพร ขายหุ้นที่เหลืออีก 94 % ให้กับKPNEH ของ นายณพ โดยตกลงซื้อขายหุ้นในราคา 89.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ต่อมา นายนพพร ได้ยื่นฟ้อง SCB ผู้บริหาร SCB และผู้บริหารและกรรมการของ WEH รวม 17 ราย โดยเขาเคยแถลงเกี่ยวกับคดีว่า เขาพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าจะไม่ได้รับการชำระเงินส่วนที่เหลือจากนายณพ และหุ้นที่ตนได้ขายนั้น ได้มีการโอนไปให้ผู้อื่น จึงมีความจำเป็นต้องยื่นคดีหลักต่อศาลอังกฤษ

ทนายความของนายนพพร ระบุว่า ฝ่ายจำเลยสมคบกันใช้อำนาจในการจัดการเอกสารสำคัญ ในช่วงปี 2557 – 2561 จูงใจให้นายนพพรและบริษัทในเครือของเขาขายหุ้น REC ในราคาต่ำกว่าราคายุติธรรมให้กับบริษัทของนายณพ โดยในช่วงที่มีการซื้อขาย หุ้นมีมูลค่า 872 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปัจจุบันมีมูลค่าถึง 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่นายนพพรกลับได้รับเงินเพียง 176 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ความเกี่ยวข้องของมาตรา 112

เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2557 ได้ปรากฏข่าวใหญ่ขึ้น คือกรณีคดี พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) กับพวก เป็นผู้ต้องหานั้น มีคดีที่ถูกกล่าวหากระทำผิด ใช้กำลังทำร้ายร่างกาย กักขังหน่วงเหนี่ยว ทวงหนี้ผู้เสียหาย ใน 3 พื้นที่ คือ พื้นที่ สน.พระโขนง พื้นที่ สน.วัดพระยาไกร และ พื้นที่ สภ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

ศาลได้ออกหมายจับนายนพพร ศุภพิพัฒน์ เจ้าของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ได้จ้างวานผู้ต้องหากลุ่มนายณัฐพล สุวะดี ให้เจรจากับ นายบัณฑิต โชติวิทยะกุล เจ้าหนี้ของนายนพพร ลดหนี้จาก 120 ล้านบาท เหลือ 20 ล้านบาท โดยมีการแอบอ้างเบื้องสูง

โดยผู้ร่วมขบวนการ คือนายวิทยา เทศขุนทศ, นายสิทธิศักดิ์ สุวะดี, นายชลัช โพธิราช, ส.อ.ณธกร ยาศรี, ส.อ.ธีรพงศ์ ช่อจำปี, นายณัฐนันท์ ทานะเวช, นายชากานต์ ภาคภูมิ, นายณัฐพล สุวะดี, นายณรงค์ สุวะดี และ น.ท.ปริญญา รักวาทิน หรือ เจี๊ยบ กรรมการผู้จัดการบริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา ผู้ชักนำให้นายนพพรรู้จักกับนายชากานต์

นายนพพร ถูกศาลทหารออกหมายจับ และถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีอาญาฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 รวมถึงข้อหา “ร่วมกันข่มขืนใจให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือเสรีภาพ โดยมีอาวุธ โดยร่วมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป และหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และให้ผู้อื่นนั้นกระทำการใดให้แก่ผู้กระทำ หรือบุคคลอื่น และร่วมกันลักทรัพย์” นายนพพร จึงตัดสินใจไปฝรั่งเศสเพื่อลี้ภัยทางการเมือง

นายนพพร เคยให้สัมภาษณ์พิเศษกับบีบีซีไทยว่า ตนเองตกเป็นเหยื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี และคดีมาตรา 112 เป็นเหตุผลสำคัญให้ตนเองตัดสินใจลี้ภัยทางการเมือง เพราะคดีนี้ไม่สามารถประกันตัวได้ ซึ่งตนเองเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต โดยระบุว่า

“พอไม่ให้ประกัน (ตัว) เนี่ย ผมก็คิดว่าเขาคงฆ่าผมในคุกเพื่อปิดปากแน่ๆ

สำหรับนายณรงค์ หรือปื้ด สุวะดี และนายณัฐพล หรือกอล์ฟ สุวะดี อายุ 29 ปี ที่ถูกจับกุมไปก่อนแล้ว รวมกับพวก 8 คน ได้ทำการอุ้มผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไปข่มขู่ให้ลดหนี้กว่า 100 ล้านบาท เหลือ 20 ล้านบาท โดยศาลชี้ว่า มีการใช้ปืนขู่บังคับผู้เสียหายให้ไปเจรจาลดหนี้ และศาลตัดสินให้จำคุกคนละ 5 ปี 6 เดือน

ความเกี่ยวพันระหว่างข้อพิพาททางธุรกิจ และความผิดมาตรา 112

จะเห็นได้ว่า ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น นายนพพรมีความขัดแย้งทางธุรกิจฯ กับบุคคลหลายคน จนกระทั่งมีการทวงถามให้ชำระหนี้ และนำมาซึ่งการถูกตั้งข้อหาว่ากักขังหน่วงเหนี่ยว โดยมีการแอบอ้างเบื้องสูง ซึ่งเป็นการกระทำที่นายนพพรถูกตั้งข้อหาจากการกระทำของตนเอง และได้หลบหนีกระบวนการยุติธรรมออกไปนอกประเทศ โดยอ้างว่า “ตนเองจะโดนฆ่าปิดปาก”

ดังนั้น คดีความที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่นายนพพรได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วยตนเองทั้งสิ้น และสถาบันฯ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องด้วยแต่อย่างใดเลย รวมถึงการที่นายนพพรฟ้องร้องธนาคารSCB กับผู้บริหารของ WEH ก็เป็นคดีเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคดีความผิดมาตรา 112 แต่เหตุไฉน BBC ไทย จึงจงจั่วหัวข่าวโดยเอามาปนกันเพื่อชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชน ?

ที่มา :

[1] ลำดับคดีผู้ลี้ภัย ม. 112 ฟ้อง SCB, ณพ ณรงค์เดช และพวก ในอังกฤษ เรียก 5.4 หมื่นล้านบาท
[2] โซ่ข้อกลาง “นพพร-แก๊งอัครพงศ์ปรีชา” เข้ามอบตัว รับนำเงินค่าจ้างหลักแสนให้ “ชากานต์” ไปไกล่เกลี่ยหนี้ 120 ล.
[3] ไขปมขัดแย้ง “บัณฑิต-เสี่ยนพพร” ทำไมต้องจ้าง “อัครพงศ์ปรีชา” ทำไมถึงยอมจ่ายร้อยล้าน
[4] เปิดตัว “บัณฑิต”เจ้าหนี้“นพพร”เหยื่อคดีอุ้มเครือข่าย พงศ์พัฒน์-พวก

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า