เมื่อ ส.ส. บางกลุ่ม พยายามสร้างประวัติศาสตร์เท็จ ด้วยการอภิปรายในสภาฯ

จากกรณีการเปิดสภานัดแรก ที่ทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้นำปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากผลกระทบน้ำท่วม มาหารือเป็นจำนวนมาก แต่ปรากฎว่า “เจี๊ยบ อมรัตน์” ส.ส.พรรคก้าวไกล กลับใช้เวทีอภิปรายพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีการโกหกบิดเบือนเกี่ยวกับการดำเนินคดีมาตรา 112 อีกด้วย

โดยเจี๊ยบ อมรัตน์ฯ ได้กล่าวอ้างในสภาฯ ถึงการดำเนินคดีมาตรา 112 ว่า …

“ขอหารือ ผ่านไปยังผู้บริหารศาลอาญาเรื่องความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ซึ่งขณะนี้มีประชาชนคนไทยจำนวนมาก เชื่อว่าการทำงานของผู้พิพากษาถูกแทรกแซง โดยเฉพาะคดีทางการเมือง และมาตรา 112 โดยเฉพาะคดีอาญาที่เกิดจากมาตรา 112 มีจำนวนมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ภายหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศจะดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมโดยใช้กฎหมายทุกมาตรา หลังจากที่เคยบอกว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระเมตตา จะไม่ดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 กับใครอีกแล้ว ขอยกตัวอย่างคดีของนายอานนท์ นำภา ทนายความและนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ได้รับรางวัลระดับสากล จากประเทศเกาหลีใต้ นายอานนท์ ถูกดำเนินคดีมาตรา 116 จากการปราศรัย ในเดือน ส.ค.ปี 63 ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และภายหลังถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 อีกหนึ่งคดี ภายหลังจากที่นายกฯ ประกาศจะดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมที่ขับไล่ตัวเอง โดยจะใช้กฎหมายทุกมาตรา

ขณะนี้มีคดีความ ม.112 อยู่ในชั้นสืบพยานในศาลจำนวนมาก และเมื่อจำเลยจะให้ศาลออกหมายเรียกพยานเพิ่มเติม เพื่อนำมาต่อสู้คดี แต่ผู้พิพากษากลับไม่ออกหมายเรียกหลักฐานให้กับจำเลย ทั้งที่เป็นอำนาจของผู้พิพากษา โดยผู้พิพากษาใช้ข้ออ้างว่า ถูกสั่งห้ามโดยผู้บริหารศาลอาญา ขออ้างนี้หมายถึงอะไร จำเลยจำเป็นต้องมีหลักฐานมาต่อสู้ อาทิ หลักฐานการเดินทางเข้าออกของในหลวงรัชกาลที่ 10 ระหว่างประเทศไทยกับเยอรมัน หมายเรียกคำพิพากษาศาลแพ่ง ที่เคยพิพากษายึดทรัพย์ในหลวงรัชกาล 7 เอกสารการใช้เงินของสถาบันกษัตริย์ หลักฐานการโอนหุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ไปเป็นของส่วนพระองค์ แต่ผู้พิพากษากลับไม่เปิดโอกาสให้จำเลย ใช้พยานหลักฐานสู้คดีอย่างครบถ้วน”

นี่คือการกล่าวอ้างของ เจี๊ยบ อมรัตน์ฯ ที่เป็นการ “โกหกคำโต” โดยที่มาที่ไปของคดีนี้คือ คดีชุมนุม 19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร เมื่อวันที่ 19 – 20 กันยายน 2563 ที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และสนามหลวง คดีนี้มีจำเลยเป็นนักกิจกรรมทั้งหมด 22 ราย ในข้อหาต่างๆ กันหลายข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ 116, พ.ร.บ.โบราณสถานฯ, พ.ร.บ.ความสะอาดฯ, พ.ร.บ.จราจรฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

ข้อเท็จจริงของคดีนี้คือ จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานหลักฐาน ซึ่งในคำร้องดังกล่าว พูดถึงปัญหาอุปสรรคในการส่งหนังสือไปขอความอนุเคราะห์ต่อบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานผู้ครอบครองเอกสาร เพื่อขอเอกสารมาประกอบการต่อสู้คดีของจําเลย

โดยผลการติดตามขอเอกสารปรากฎว่า ไม่มีหน่วยงานใดยินยอมส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้ ทั้งยังมีหนังสือแจ้งให้จําเลยไปดำเนินการขอออกหมายเรียกต่อศาลก่อน จําเลยจึงไม่สามารถนําเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกมาแสดงต่อศาลได้ ซึ่งทางศาลได้มีคำสั่งต่อคำร้องดังกล่าว ระบุว่า …

“เพื่อความสงบสุขของสังคมส่วนรวม เพื่อคุ้มครองผู้เสียหาย และเป็นหลักประกันหรือคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหา เห็นควรออกหมายเรียกคำฟ้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำเบิกความพยานโจทก์ให้ตามข้อ 1

ส่วนรายละเอียดการเดินทางเข้าออกประเทศไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณส่วนราชการในพระองค์ และรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เห็นว่า เป็นข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จะเปิดเผยไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 14 ไม่อาจออกหมายเรียกให้ได้ ให้ยกคำขอในส่วนนี้ ให้ผู้ร้องรับหมายไปส่งได้”

ทีมงาน ฤา ขออธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่จำเลยขอให้ศาลออกหมายเรียกหลักฐานการเดินทางเข้าออกของในหลวงรัชกาลที่ 10 ระหว่างประเทศไทยกับเยอรมันนั้น การเดินทางดังกล่าวเป็นการเดินทางส่วนพระองค์ แม้โดยปกติจะมีกำหนดการออกมาจากส่วนงานที่จะต้องถวายความปลอดภัยก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่กระทำผิดข้อหา ม.112 จนเป็นคดีขึ้นศาล แล้วอาศัยช่องทางกระบวนการยุติธรรมในการขอเรียกข้อมูลส่วนพระองค์เข้ามาในคดี กรณีนี้ถือเป็นการใช้ศาลเพื่อเป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลายละเมิดจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์

โดยหลักของกฎหมายแล้ว หน้าที่ในการนำพยานหลักฐานพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำผิดจริงหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของโจทก์ ในทางวิธีพิจารณาความจำเลยมีหน้าที่เพียงแค่ทำให้ศาลสงสัยในความน่าเชื่อถือของพยานโจทก์ก็เพียงพอแล้ว เมื่อศาลเกิดความสงสัยในพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ศาลก็จะยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้น แล้วพิจารณาพิพากษายกฟ้อง ปล่อยจำเลยไปนั่นเอง

อย่างในกรณีที่ทนายจำเลย กล่าวว่า ลูกความของตนถูกโจทก์บรรยายฟ้องเรื่องที่ปราศรัยเกี่ยวกับธงมหาราช ซึ่งหากชักขึ้นแปลว่าพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ในประเทศ ในกรณีนี้หากทนายจำเลยถามค้านเพียงว่า อัยการโจทก์มีหลักฐานว่าพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในประเทศหรือไม่ หากอัยการโจทก์ไม่มีหลักฐานมายืนยันข้อกล่าวอ้างของตนเอง พยานหลักฐานฝั่งอัยการโจทก์ก็ไม่มีความน่าเชื่อถือ ศาลจะต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยโดยการยกฟ้อง

ดังนั้น การที่จำเลยมีพฤติการณ์ละเมิดกฎหมายมาตรา 112 แล้วใช้ศาลเป็นเครื่องมือในการขอเรียกดูข้อมูลส่วนพระองค์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ต่างจากการจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ และบั่นทอนความน่าเชื่อถือของศาลไปในคราวเดียวกัน

ทีมงาน ฤา มีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ การที่ฝั่งจำเลยออกมากล่าวอ้างทำนองว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรม เนื่องจากศาลไม่อนุญาตหมายเรียกพยานหลักฐานที่มีข้อมูลส่วนพระองค์นั้น ทนายความกล่าวว่า ทางพวกเขาจะใช้ช่องทางของสภาฯ โดยจะร้องเรียนผ่านคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพื่อขอให้เรียกศาลไปชี้แจงถึงเหตุที่ไม่ยอมให้เรียกหลักฐานสำคัญในคดี

จากคำกล่าวอ้างของทนายจำเลย ที่จะนำเรื่องร้องเรียนไปยังสภาฯ ดังกล่าว ทีมงาน ฤา เห็นว่า แนวทางต่อสู้คดีของฝั่งจำเลย มีวาระซ่อนเร้น และไม่หวังผลทางคดีให้เกิดการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยอย่างแท้จริง

การร้องเรียนผ่านไปยังช่องทางสภาฯ ยกตัวอย่างการลุกขึ้นอภิปรายในสภาฯ ของ ส.ส.เจี๊ยบ อมรัตน์ฯ พรรคก้าวไกลนั้น หากท่านประธานสภาฯ ปล่อยให้ ส.ส.เจี๊ยบ อมรรัตน์ฯ อภิปรายจนจบ ผลคือถ้อยคำเหล่านั้นจะถูกบันทึกในรายงานประชุมในสภา เพื่อเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ว่าครั้งหนึ่ง ส.ส.เจี๊ยบ อมรัตน์ฯ เคยอภิปรายประเด็นนี้เอาไว้อย่างไร บันทึกรายงานการประชุมที่เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่ถูกสภาฯ บันทึกเอาไว้ ก็จะถูกนำไปขยายผลบิดเบือนต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

สำหรับช่องทางกฎหมาย หากคู่ความคิดว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการพิจารณาของผู้พิพากษา ที่ถูกต้องคือการร้องเรียนไปที่คณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) เนื่องจาก ก.ต. เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลผู้พิพากษาโดยตรง ทั้งในเรื่องของวินัย ทุจริต หรือควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบราชการ (แต่ผู้พิพากษายังมีอิสระในการพิพากษาอรรถคดีอยู่)

ดังนั้น การร้องเรียนไปยังช่องทางสภาฯ อย่างในกรณีให้ ส.ส.นำขึ้นอภิปรายนั้น นอกจากจะไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมายแล้ว ยังเป็นการจงใจสร้างเอกสารเท็จทางประวัติศาสตร์ เพื่อใช้ในการเผยแพร่บิดเบือนต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง

ที่มา :

[1] ศาลยังไม่ออกหมายเรียกข้อมูลการบิน ร.10 และการใช้จ่ายงบให้ อ้างเปิดเผยจะทำสถาบันฯ เสียหาย
[2] คดีชุมนุม 19 กันยา ศาลออกหมายเรียกเอกสารคดี “กท.การคลังฟ้อง ร.7” แต่ไม่ออกหมายเรียกเอกสารเดินทาง ร.10-งบ สนง.ทรัพย์สินฯ

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า