เมื่อกลุ่มการเมืองเจ้าของวาทกรรม IO โป๊ะแตก ใช้ปฏิบัติการ IO เพื่อด้อยค่าฝ่ายตรงข้ามเสียเอง

ทุกวันนี้ใครหลายคนคงคุ้นเคยกับคำกล่าวที่มักถูกใช้ในการป้ายสีกันว่า “เป็น IO” ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า IO คืออะไร และทำไมบางคนที่มักจะกล่าวว่าคนโน้นคนนี้เป็น IO กลับปากว่าตาขยิบและดำเนินการเสียเอง

IO หรือ Information Operation เป็นการปฏิบัติการที่มุ่งสร้างผลกระทบหรือสร้างอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจหรือข่าวสารของฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมาย รวมไปถึงการปฏิบัติการเพื่อป้องกันข่าวสารของฝ่ายตัวเองด้วย [1] ซึ่งการทำ IO นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในปฏิบัติการทางสารสนเทศเท่านั้น แท้จริงแล้วยังมีเครื่องมืออื่นๆ อีกด้วย เช่น ปฏิบัติการทางจิตวิทยา (Psychological Operations) แต่ปัจจุบันคนทั่วไปมักจะเข้าใจไปว่า “การโฆษณาชวนเชื่อ” (Propaganda) คือ IO ทั้งหมด ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่

เมื่อเราย้อนดูการเมืองไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะพบว่าคนแรกๆ ที่พูดถึงการทำ IO เป็นการพูดถึงในการอภิปรายในรัฐสภาโดยนักการเมืองจากพรรคที่มีทัศนคติในแง่ลบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์พรรคหนึ่งในช่วงต้นปี 2563 [2] ซึ่งนักการเมืองประเภทนี้ ได้ให้นิยาม IO ไว้เพียงสั้น ๆ ว่า “ปฏิบัติการข่าวสารของภาครัฐ” จึงกล่าวได้ว่าพรรคนี้นั่นเองที่เป็นเจ้าของ “วาทกรรม IO”

จากนั้นหลายคนก็ได้สมาทานแนวคิด IO มาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเห็นใครที่มีความเห็นแย้งหรือไม่ตรงกับตนเองในโลกออนไลน์ก็มักจะไปกล่าวหาความคิดเห็นนั้นว่าเป็น IO แทบทั้งสิ้น จนบ่อยครั้งที่เกิดการถามอย่างเสียดสีว่า “ไปเบิกเงินที่ไหนได้บ้าง?”

หากเรานิยามว่าการทำ IO คือการทำสงครามข่าวสารแล้ว จะเห็นได้ว่า หลายคนหรือเกือบจะทุกคนล้วนแล้วแต่ทำ IO ด้วยกันทั้งสิ้น เช่น การแชร์ข่าวเก่าบ้าง การแชร์ข่าวปลอมบ้าง หรือกระทั่งรูปตัดต่อซึ่งนำไปสู่ความเสียหายของฝ่ายที่ถูกเพ่งเล็ง ก็ย่อมนับได้ว่าเป็น IO เช่นกัน นั่นหมายความว่าการทำ IO นั้นไม่ได้มีเพียงจากฝั่งตรงข้ามเท่านั้น แต่ยังมาจากฝั่งเดียวกันได้อีกด้วย ดังนั้น แทนที่จะไปเหมาว่าผู้เห็นต่างทุกคนเป็นคนทำ IO บางทีการย้อนมามองดูตัวเองว่าเคยแชร์ข่าวอะไรที่เป็นโทษต่อฝ่ายตรงข้ามแต่กลับไม่เป็นจริง ก็เป็นการทำ IO ได้เช่นกัน

เมื่อไม่นานมานี้หากยังจำกันได้ อดีตผู้สมัครของพรรคการเมืองต้นแบบ “วาทกรรม IO” ก็เผลอระบุว่าพวกตนเคยมีการ “ใช้ทีมเฝ้าหน้าจอเพื่อวิจารณ์พรรคการเมือง โดยได้มีการสร้างแอคเคาท์เฟซบุ๊กไว้เป็นร้อยๆ แอคเคาท์ แล้วรุมถล่มพร้อมกัน” [3] ซึ่งถ้าหากดูสิ่งที่มีผู้กล่าวเคยกล่าวเอาไว้ว่า เป้าหมายของ IO คือการทำให้คนรู้สึกว่ามีคนสนับสนุนเยอะมากแล้ว [4] การกระทำของพรรคบางพรรคก็ถือว่าเป็น IO ใช่หรือไม่ ?

แต่อดีต ส.ส.ของพรรคนี้กลับเคยนิยามการทำ IO ไว้แคบๆ ว่า เป็นการปฏิบัติการทหารที่ใช้งบประมาณแผ่นดินและใช้เจ้าหน้าที่ของกองทัพหรือคนนอกเพื่อด้อยค่าผู้อื่น [5] แต่ก็ไม่แน่ใจว่า แล้วการสร้างแอคเคาท์เฟซบุ๊กเป็นร้อยๆ แอคเคาท์ของพรรคการเมืองบางพรรค ที่เอาไว้ใช้ถล่มฝ่ายตรงข้าม (รวมทั้งบางครั้งมีการลามปามคุกคามไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่เกี่ยวข้องและสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย) ถือเป็นการด้อยค่าผู้อื่นด้วยหรือไม่ ? และทุนสนับสนุนในการกระทำการดังกล่าวมีที่มาจากไหน ?

และเมื่อไม่นานมานี้เราก็ได้เห็นการ “ระดม” ให้เกิด engagement ในวิดีโอ TikTok ของตัวเองของอดีต ส.ส.พรรคนี้ ซึ่งเนื้อหาในวิดีโอนั้นก็เป็นการวิจารณ์เรื่องต่างๆ ซึ่งการระดม “บอต”เข้าไปในที่นี้ก็คือการสร้างกระแสให้เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าอดีต ส.ส.คนนี้ จะกล่าวว่าใช้บอตเข้ามาเพื่อช่วยให้เกิดการมองเห็น แต่ก็ไม่ได้มีความจำเป็นอะไรที่ต้องให้แอคเคาท์เหล่านั้นมีคอมเมนต์ไปในทางเดียวกัน อีกทั้งยังถึงกับมีลิสต์การตอบคอมเมนต์เพื่อไกด์ให้คนตอบแปะไว้หน้าโต๊ะอีกด้วย ซึ่งก็กลายเป็นคำถามตามมาว่า หากอดีต ส.ส.คนนี้ได้รับความนิยมจริงๆ แล้ว จำเป็นด้วยหรือที่ต้องใช้วิธีการระดม “บอต” เช่นนี้

หากมองในทางทฤษฎีการเมืองแล้ว การทำ IO ยังโยงไปถึงภาพใหญ่อย่างการแพร่ขยายของสื่อ และการใช้เพื่อสื่อสารทางการเมืองในการแย่งชิงฐานเสียง [6] หรือ Contentious politicsอีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่ากระบวนการใช้อินเทอร์เน็ตนี้แม้จะทำให้เกิดเสรีภาพแก่ทุกคนที่จะใช้พูดและฟังเพื่อการแสดงความคิดเห็น อันจะเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงสังคมต่อไป แต่หากสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นไปโดยไม่รู้เท่าทันว่าต่างฝ่ายต่างก็ทำ IO ด้วยกันทั้งสิ้น แล้วกลับมองเพียงแค่ว่าฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นที่ทำ การใช้การสื่อสารทางการเมืองที่ควรจะเป็นการสื่อสารสองทางก็กลับกลายเป็นการสื่อสารทางเดียวและแบ่งขั้วกันมากขึ้น

และจากการที่อินเทอร์เน็ตได้ลดข้อจำกัดทางด้านเวลาและต้นทุนของการติดต่อสื่อสารลง พื้นที่การเมืองที่เคยอยู่ภายนอกจอ จึงได้กำเนิดตัวเองขึ้นในจอกลายเป็นการต่อสู้ทางการเมืองบนจอ LED [7] ดังนั้น ในอนาคตเราจะได้เห็นถึงการพยายามใช้สื่ออินเทอร์เน็ตผ่านโซเชียลมีเดียในการโน้มน้าวจิตใจของผู้คนเพื่อให้เห็นชอบด้วยกับแนวทางทางการเมืองของบุคคลนั้นๆ หรือของพรรคนั้นๆ มากขึ้นต่อไป

เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าในอนาคตการใช้สื่อในลักษณะนี้จะถูกใช้ไปเพื่ออะไรได้อีก ยิ่งเนื้อหาและวิธีการต่างๆ ที่นักการเมืองพรรคที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นทำนั้น มีจุดประสงค์ไปในทางปลุกระดมทางการเมืองอย่างชัดเจนแล้วด้วย ก็ลองคิดกันเล่นๆ ว่า ถ้าในอนาคตเทคนิคการทำ IOเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองแบบพรรคดังกล่าวได้ถูกยอมรับ และกลายเป็นบรรทัดฐานของสังคมขึ้นมา เราทุกคนก็อาจจะถูกด้อยค่าหรือไปด้อยค่าคนอื่นไปมาไม่จบสิ้น และสังคมประชาธิปไตยก็คงจะไม่เกิดขึ้นเลยจากการมองแบบ “แบ่งเขาแบ่งเรา” ด้วยการแปะป้าย IO แก่ฝั่งตรงข้ามและเมินข้อมูลที่ไม่ใช่ของฝั่งตนเองไป ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลของอีกฝั่งนั้นอาจจะมีส่วนจริงก็ได้ แต่อคติจาก “วาทกรรม IO” ก็ได้บดบังความจริงเหล่านั้นไป

สุดท้าย เราจึงควรตระหนักว่า เราทุกคนล้วนเคยตกเป็นส่วนหนึ่งของ IO หรืออาจจะกำลังเป็นอยู่ในฐานะเครื่องมือที่ถูก IO ใช้ประโยชน์ ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า