เปิดตำนานอุ้มฆ่า ‘เก๋งดำ’ อาชญากรรมยิงทิ้งผู้เห็นต่างของรัฐบาลมาเฟีย

หนึ่งในเรื่องเล่าขานสมัยต้นรัชกาลที่ 9 ที่สร้างความน่าพรั่นพรึงสำหรับเหล่าพสกนิกรผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็คือเรื่องของ “เก๋งดำ” ซึ่งเป็นความพยายาม “ปิดปาก” และ “ตามเก็บ” ผู้เห็นต่างทางการเมืองของรัฐบาลปรีดี-หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ โดยเฉพาะในประเด็น “เหตุการณ์สวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8” เมื่อใครก็ตามที่พยายามแสวงหาความจริงเรื่องดังกล่าว มักต้องถูกข่มขู่คุกคาม หรือยิ่งไปกว่านั้น ก็โดน “เก๋งดำ” ยิงทิ้งตอนกลางวันแสกๆ

ประชาชนและสื่อหนังสือพิมพ์ ต่างซุบซิบกันว่า พฤติการณ์อุกอาจดังกล่าว เป็นฝีมือของ “ตำรวจสันติบาลการเมือง” ที่ใช้ “เก๋งดำ” รถหลวงของกรมตำรวจสันติบาลในตอนนั้น เป็นพาหนะมฤตยูเพื่อก่อเหตุ “ประทานความตาย” ให้เหล่านักการเมืองฝ่ายตรงข้าม ประชาชน กระทั่งนักหนังสือพิมพ์ ด้วยวิธีแสนอำมหิตจนผู้คนครั่นคร้ามพฤติกรรมนักเลงของรัฐบาลคณะปรีดี-หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ที่ปกครองประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2489-2490 ซึ่งนับวันจะหมดความชอบธรรมลงไปทุกทีในสายตาประชาชน

พฤติการณ์แสนเลวร้ายของ “เก๋งดำ” นั้น หม่อมราชวงศ์ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี เล่าให้ฟังไว้ว่า

“…หากหนังสือพิมพ์ฉบับใดโจมตีรัฐบาลอย่างรุนแรงในเรื่องกรณีสวรรคต ผู้รับผิดชอบก็จะประสบอันตรายร้ายแรง ดังเช่นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า หนังสือพิมพ์เที่ยงธรรม (ซึ่งอาจจะเป็นความทรงจำที่คลาดเคลื่อน เพราะจากข้อมูลในยุคนั้น น่าจะเป็นหนังสือพิมพ์อิทธิธรรม – ทีมงานฤๅ) ได้ถูกบุคคลในรถเก๋งสีดำยิงถึงแก่ความตายที่ถนนเพชรบุรี โดยตำรวจไม่สามารถหาตัวคนร้ายได้ อันตรายจาก ‘เก๋งดำ’ คุกคามผู้ที่อยู่ตรงข้ามฝ่ายรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง ข่าวเก๋งดำออกอาละวาดไล่ยิงผู้คน และลอยนวลไปได้โดยไม่มีการจับกุมมีให้ได้ยินแทบไม่เว้นแต่ละวัน ยุคนั้นถนนหนทางหารถราแล่นผ่านไปมานับคันได้…”

ซึ่งเป็นคำบอกเล่าที่สอดคล้องกับ พิมพวัลคุ์ เสถบุตร (ภริยาของ สอ เสถบุตร) ที่หวนรำลึกเหตุการณ์ “เก๋งดำออกลาละวาด” ช่วงก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เอาไว้ว่า

“…นอกจากนั้นนักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง และ ส.. ฝ่ายค้านหลายต่อหลายคนได้ถูกคุกคามด้วยอิทธิพลมืด ถูกลอบยิงด้วยปืน ถูกขว้างระเบิดในสถานที่ และวัน เวลาต่างๆ กัน โดยคนร้ายมิได้เกรงกลัวต่อกฎหมาย เหมือนบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป จนเป็นที่ประหวั่นพรั่นพรึงแก่ประชาชนทั่วไป เสมือนยุคทมิฬได้สอดแทรกหวนกลับคืนมาอีก…

อย่างไรก็ดี คำบอกเล่าต่างๆ ในงานเขียนหรือหนังสือที่เขียนขึ้นจากความทรงจำที่ผ่านมาหลายสิบปี อาจมาจากความทรงจำที่คลาดเคลื่อนได้ แต่เมื่อสืบค้นข่าวตามหนังสือพิมพ์เก่าๆ ก็พบว่า เหตุการณ์ “เก๋งดำออกอาละวาดไล่ยิงคน” เคยเกิดขึ้นจริง อย่างไม่ต้องสงสัยโดยปรากฏหลักฐานในหนังสือพิมพ์จากอดีต ดังนี้

หนังสือพิมพ์ ศรีกรุง ฉบับวันที่ 7 สิงหาคม 2489 ลงข่าวว่า นายไถง สุวรรณทัต อดีตนักโทษการเมืองยุคบางขวาง เกาะตะรุเตา และเกาะเต่า ถูกขว้างด้วยลูกระเบิดมือ ขาข้างซ้ายขาด เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2489 เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 1 คนและบาดเจ็บอีก 8 คน

หนังสือพิมพ์ ศรีกรุง ฉบับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2490 ลงข่าวว่า บ.ก. อิทธิธรรม ถูกลอบยิงเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. โดยเนื้อหาข่าวระบุว่า “คืนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2490 นายชื้น โรจนวิภาต บ.. หนังสือพิมพ์อิทธิธรรม ได้ขี่จักรยานสองล้อออกจากสำนักงานที่โรงพิมพ์ดำรงธรรมจะกลับบ้าน เมื่อมาถึงเชิงสะพานอุรุพงษ์ก็ถูกยิงด้วยปืน 11 มม. จากรถเก๋งสีดำ กระสุนปืนถูกใต้ราวนมซ้ายทะลุออกชายโครงเบื้องขวาล้มลง พร้อมกันนั้น รถเก๋งคันนั้นก็ได้ขับหนีไปทางประตูน้ำ ส่วนชื้นก็ได้พยายามนำตัวเองขึ้นรถสามล้อมาโรงพยาบาลกลาง เมื่อมาถึงโรงพยาบาลกลางได้ 10 นาที ชื้นก็สิ้นใจตายเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว”

นอกจากนายชื้น โรจนวิภาต ถูกยิงเสียชีวิตแล้ว ยังมีนายเลื่อน พงษ์โสภณ ส.ส.ประชาธิปัตย์ถูกลอบยิงกลางวันแสกๆ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2490 ขณะที่นายสุวิชช พันธเศรษฐ ส.ส. เชียงใหม่พรรคประชาธิปัตย์ ก็ถูกลอบยิงจาก “เก๋งดำ ด้วย โชคดีที่ทั้งสองรอดมาได้อย่างหวุดหวิด

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจาก “เก๋งดำ” เหล่านี้ ล้วนถูกมองว่า เป็นฝีมือคนในรัฐบาลปรีดี-หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ต่อมา ร้อยโท สัมพันธุ์ ขันธะชวนะ นายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (2490) ได้กล่าวโจมตีความเกี่ยวข้องระหว่างรัฐบาลกับ “เก๋งดำ” ไว้ในหนังสืองานศพของนายชื้น (ซึ่งถูกเก๋งดำยิงเสียชีวิต) อย่างไม่เกรงกลัวความตายว่า “สวัสดิภาพของคนหนังสือพิมพ์หาไม่ได้ในรัฐบาลที่ชั่วชาติ”

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายๆ คนอาจเริ่มเกิดข้อสงสัยว่า “แล้วใครคือเก๋งดำกันแน่?” ซึ่งเป็นคำถามที่อาจตอบไม่ได้เลยในสมัยนั้น เพราะถ้าใครทราบก็คงถูกจัดการจนเสียชีวิต มีเพียงการกระซิบกระซาบกันว่าเป็น “ตำรวจสันติบาลฝ่ายการเมืองที่สนิทกับรัฐบาล”

หากในเอกสาร “ลับ” ของสถานทูตสหรัฐฯ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาว่า แท้จริงแล้ว “มือปืน” (เก๋งดำ) ที่อาละวาดไล่ยิงประชาชนในช่วง พ.ศ.2489-2490 ก็คือ เฉียบ ชัยสงค์ (อัมพุนันทน์) บอดี้การ์ดส่วนตัวของปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเอกสารดังกล่าวระบุด้วยว่า เฉียบสนิทกับปรีดีมาก ถึงกระทั่งยอมลี้ภัยไปอยู่ประเทศจีนคอมมิวนิสต์ด้วยกัน แต่เฉียบได้กลับมาไทยก่อนในปี พ.ศ. 2499 และยังเป็นผู้มีบทบาทอย่างยิ่ง ในการปล่อยข่าวใส่ร้ายในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าเป็นผู้ปลงพระชนม์ในหลวงรัชกาลที่ 8

ยิ่งไปกว่านั้น เฉียบและ “เก๋งดำ” ยังมีบทบาทสำคัญในการลอบพา ร.. วัชรชัย ชัยสิทธิเวท ผู้ต้องหาคดีปลงพระชนม์ในหลวงรัชกาลที่ 8 หนีออกจากประเทศไทย หลังได้รับการประกันตัว ซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งถึงกับพาดหัวว่า ‘วัชรชัยหนีด้วยขบวนเก๋งดำ’

ด้วยหลักฐานที่แน่นหนารัดตัวขนาดนี้ คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า “เก๋งดำคือใคร” และเกี่ยวข้องอย่างไรกับ “ปรีดี พนมยงค์”

ที่มา :

[1] อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพนายชื้น โรตนวิภาต ณ เมรุวัดพระพิเรนทร์ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492
[2] NARA, RG 59 Central Decimal File 1955-1959 box 3912, Rolland H. Bushner to Mr. Young, 19 September 1956
[3] หจช. สบ.9.2.3/8 ‘วัชรชัยเข้าหาบุคคลสำคัญให้รับประกัน – พบวัชรชัยหนีด้วยขบวนเก๋งดำ’
[4] หม่อมราชวงศ์ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, “ก่อนเสด็จจะลับเลือนหาย”, (กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี) 2559
[5] พิมพวัลคุ์ เสถบุตร, “ลิขิตชีวิต”, (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์) 2548

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า