เบื้องหลังการปฏิเสธรัฐประหารของกษัตริย์ ฆวน คาร์โลส ความจริงที่ปิยบุตรเล่าไม่ครบ

ในปัจจุบันประเด็นเรื่องประชาธิปไตยและการรัฐประหารนั้นได้ถูกพูดถึงอย่างมากว่ามีความสัมพันธ์กันในแง่ไหนอย่างไร รวมไปถึงความเหมาะสมต่างๆ ดังนั้นแล้ว ในบริบทของประเทศไทยที่พบเจอการรัฐประหารหลายครั้งนั้นจึงถูกมองว่าเป็นสิ่งที่แย่และจำเป็นจะต้องหาทางหยุดยั้ง เมื่อเป็นเช่นนั้นการสืบสาวหาสาเหตุและวิธีการป้องกันการรัฐประหารจึงได้แผ่ขยายกว้างไปในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ของพระมหากษัตริย์ที่มักจะถูกนักวิชาการกลุ่มหนึ่งใช้เป็นตัวอธิบายสำคัญว่าสามารถยับยั้งการรัฐประหารหรืออนุญาตให้เกิดการรัฐประหารได้

หนึ่งในนักวิชาการที่พยายามเสนอข้อเสนอดังกล่าว คือ อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล ซึ่งล่าสุดได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ “เปิดประตูปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” เมื่อปลายปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมานี้ หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมบทความเก่าๆ ของอาจารย์และมีการเพิ่มเติมบางเรื่องเข้ามาใหม่

โดยรวมแล้วอาจารย์ปิยบุตรพยายามเสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อให้สถาบันฯ และประชาธิปไตยสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยอาจารย์ได้กล่าวว่า “ยิ่งรักสถาบันกษัตริย์ ยิ่งต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” ซึ่งอาจารย์ได้เขียน พูด ในหลายวาระหลายโอกาสเกี่ยวกับการปฏิรูป ซึ่ง ฤๅ คิดว่าอาจารย์คงจะรักสถาบันฯ สุดหัวใจทีเดียว

หนึ่งในประเด็นที่อาจารย์ปิยบุตรนำเสนอคือเรื่อง “เมื่อฆวน คาร์โลส ปฏิเสธรัฐประหาร” [1] ซึ่งอาจารย์ได้เล่าที่มา ประวัติ และสถานะทางการเมืองของกษัตริย์ฆวน คาร์โลส โดยอาจารย์เล่าในสาระสำคัญว่าการแทรกแซงทางการเมืองที่สำคัญของกษัตริย์ฆวน คาร์โลส นั้นคือการแถลงไม่สนับสนุนการรัฐประหารของ Alfonso Tejero และเรียกร้องให้กองทัพและประชาชนร่วมมือป้องกันประชาธิปไตย เมื่อขาดแรงสนับสนุนคณะรัฐประหารก็ไม่สำเร็จ ผู้ที่เข้าร่วมจึงกลายเป็นกบฏโดนลงโทษจำคุก ทำให้พวกนิยมคอมมิวนิสต์และพวกนิยมสาธารณรัฐปรองดองกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และกล่าวต่อว่าหากปล่อยให้เกิดการรัฐประหารก็เท่ากับว่ารัฐธรรมนูญ 1978 ที่ประชาชนลงมติจะถูกทำลาย และความพยายามปฏิรูปจะต้องพังทั้งหมด พระองค์จึงตัดสินใจอย่างกล้าหาญในการปฏิเสธรัฐประหาร เพราะหากพระองค์สนับสนุนก็จะสำเร็จแน่นอน แต่กองกำลังทหารที่ออกมาต่อต้านนั้น เพราะต้องปกป้องกษัตริย์ผู้เป็นทายาททางการเมืองของนายพลฟรังโก้เท่านั้น ไม่ได้ปกป้องประชาธิปไตย

จากเรื่องเล่าของอาจารย์นั้นฟังแล้วน่าสนใจอย่างยิ่ง แต่ในขณะเดียวกันอาจารย์ปิยบุตรก็ได้ข้ามหลายเรื่องหลายเงื่อนไขในการต่อต้านรัฐประหารครั้งนี้ไป จนเสมือนว่าพระมหากษัตริย์ที่ไหนๆ ก็สามารถต่อต้านได้หากพระองค์ต้องการ

เพื่อเป็นการเล่าให้ครบมุมที่สุดเท่าที่จะทำได้ ฤา จะยกบทความ Monarchy and Democracy: The Political Role of King Juan Carlos in the Spanish Transición [2] ของ Walther L. Bernecker อาจารย์ประจำสาขาประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัย University of Erlangen- Nürnberg จากเยอรมนีมาในที่นี้

ในบทความนี้มีเนื้อหาสำคัญ คือ การที่มีสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสเปนที่หมิ่นเหม่ขณะนั้นว่าจะล้มครืน ทำให้พระองค์มีเป้าหมายที่ต้องการจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์กลับมาเข้มแข็ง ในตัวกฎหมาย Law of Succession นั้นทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์สามารถกลับมามีที่ทางในสเปนต่อไปได้ แต่จะไม่มีอำนาจการตัดสินใจใดๆ ทั้งสิ้น

นายพล Franco มีความจริงจังและใส่ใจอย่างสูงต่อการศึกษาของ Juan Carlos โดยเขาส่งให้พระองค์ไปเรียนทางทหารก่อนเพื่อเรียนรู้คุณค่าทางทหาร จากนั้นจะส่งเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยเพื่อเรียนรู้ในวิชาอื่นๆ ที่จำเป็น การเข้ารับการศึกษาตามอย่างที่นายพล Franco กำหนดเอาไว้ทำให้ Juan Carlos ได้รับความไว้วางใจและถูกมั่นหมายว่าพระองค์จะเป็นผู้สืบทอดต่อจากเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่ Juan Carlos มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับกองทัพอย่างยิ่ง รวมไปถึงการเตรียมการผ่านการศึกษาที่ยาวนานนับสิบปี ดังนั้น Juan Carlos จึงได้รับความไว้วางใจจากนายพล Franco ว่าจะสามารถทำให้ระบอบของเขาอยู่ต่อเนื่องต่อไปได้

หากกฎหมายทั้งหมดที่นายพล Franco สถาปนาไว้ยังคงอยู่ สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ไม่อาจฟื้นกลับมาได้เฉกเช่นดังก่อน หลังนายพล Franco เสียชีวิตลงและระบบการปกครองได้ดำเนินการตามที่เขาวางเอาไว้ และ Juan Carlos ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นประมุขแห่งรัฐ เป็นครั้งแรกที่การแบ่งแยกอำนาจระหว่างประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลได้แยกกันอย่างชัดเจน  แต่ในขณะที่พระองค์ดำรงตำแหน่งนี้เองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ถูกลอบสังหารและได้แต่งตั้งArias Navarro เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างฉุกเฉินแทน เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นประจวบเหมาะกับที่ Juan Carlos นั้น ทรงมีพระราชอำนาจจากที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาก และทรงพลังมากที่สุดในบรรดาพระมหากษัตริย์ในทวีปยุโรปอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการมีการควบคุมเหนือกองทัพอย่างเด็ดขาด ไม่ใช่เพียงในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น

พระองค์จึงค่อยๆ ทำลายระบอบของ Franco ลงซึ่งเป็นเป้าหมายที่ฝ่ายค้านมีเช่นเดียวกัน ทำให้ฝ่ายค้านหลายฝ่ายซึ่งรวมไปถึงพรรคคอมมิวนิสต์ร่วมมือกับพระองค์ด้วยจนเกิดเป็นเครือข่ายพันธมิตร เพราะต่างทราบแก่ใจกันดีว่าหากระบอบยังคงเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ความต้องการของพวกเขาจะไม่มีวันถูกตอบสนองอย่างแท้จริง ดังนั้น การเป็นพันธมิตรจึงเกิดมาก่อนการห้ามการรัฐประหารแล้ว

จะสังเกตได้ว่าการมีบทบาท “แทรกแซง” นี้คือการไม่อยู่เหนือการเมือง แต่การไม่อยู่เหนือการเมืองนี้ทำได้เพราะอำนาจที่นายพล Franco ได้ถ่ายทอดมาให้นั้นอนุญาตให้ทำได้ ซึ่งน่าแปลกใจที่อาจารย์ปิยบุตรกล่าวเสมือนว่าพระมหากษัตริย์ไทยจะสามารถทำเช่นกษัตริย์ฆวน คาร์โลส ได้ ทั้งที่พระมหากษัตริย์ไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีแค่อำนาจเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ยังไม่นับรวมถึงสภาวะการเมืองที่เข้มข้นทุกด้านจนแม้แต่รัฐบาลก็เกือบควบคุมทิศทางอะไรไม่ได้ กล่าวอีกอย่างคือกลับกลายเป็นว่าเราสามารถยอมรับให้พระมหากษัตริย์แทรกแซงการเมืองได้หากทำเพื่อประชาธิปไตย แต่ยอมรับไม่ได้หากอยู่เหนือการเมืองแต่เกิดการรัฐประหารขึ้น สรุปแล้วจุดสมดุลของอำนาจของพระมหากษัตริย์ในแง่นี้จึงสามารถโป่งพองได้ทุกเมื่อหากมีการรัฐประหาร กลายเป็นว่าการใช้อำนาจไม่มาตรฐาน ซึ่งผิดกับหลักกฎหมายมหาชนที่อาจารย์สอนมิใช่หรือ?

การที่รัฐประหารและประชาธิปไตยเกิดขึ้นในไทยสลับกันไปย่อมเป็นการแสดงให้เห็นชัดแล้วว่าพระมหากษัตริย์ไทยทรงอยู่เหนือการเมืองและอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ นอกจากนี้การโยนความสำเร็จหรือล้มเหลวของการรัฐประหารไปให้สถาบันฯ ย่อมเป็นการละเลยปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้การรัฐประหารสำเร็จหรือล้มเหลว ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้มองไม่เห็นทางอื่นนอกจาก“หมกมุ่น” อยู่กับสถาบันฯ หรือมองเห็นต้นไม้แต่มองไม่เห็นป่านั่นเอง

อ้างอิง :

[1] ปิยบุตร แสงกนกกุล, เปิดประตูปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ (กรุงเทพฯ: มูลนิธิคณะก้าวหน้า, 2565), หน้า 73-78.
[2] Walther L. Bernecker, “Monarchy and Democracy: The Political Role of King Juan Carlos in the Spanish Transicion,” Journal of Contemporary History Vol. 33, No. 1 (Jan., 1998), pp. 65-84.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า