หลักฐานประจักษ์ชัด รัชกาลที่ 7 ทรงเข้าใจระบอบประชาธิปไตย มากกว่าคณะราษฎร

เมื่อสยามกำลังเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย รู้ไหมว่า…ในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 คือหนึ่งในผู้ที่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยมากที่สุด

พระองค์เป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่ทรงเข้าพระทัยถึง Democracy หรือ “ระบอบประชาธิปไตย” ว่าไม่ใช่ “ระบอบสาธารณรัฐ” (Republic) ทรงเข้าใจอย่างกระจ่างชัด สอดคล้องกับกระแสการเมืองของประเทศอังกฤษในสมัยนั้นว่า “ระบอบประชาธิปไตย” เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกับการปกครองที่ยังมีพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญได้

ดังปรากฏชัดในพระราชบันทึกที่มีชื่อว่า “Democracy in Siam” ที่พระราชทานมายังคณะกรรมการจัดระเบียบองคมนตรี ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2470 ความตอนหนึ่งว่า…

ถ้าเรายอมรับกันว่า วันหนึ่งเราจะต้องถูกบังคับให้มีประชาธิปไตยบางแบบขึ้นในประเทศสยามแล้ว เราก็ต้องเตรียมตัวของเราให้พร้อมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เราจะต้องพยายามให้การศึกษาแก่ประชาชน ให้เขามีการรับรู้ในทางการเมือง ให้เขารู้จักผลประโยชน์อันแท้จริงของเขา ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภากันแล้ว เราก็จะต้องสอนให้ประชาชนรู้จักเลือกตั้งว่าทำกันอย่างไร และรู้จักเลือกผู้แทนซึ่งเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนอยู่ในใจอย่างแท้จริง

พระราชบันทึกนี้เป็นสิ่งที่แสดงให้ประจักษ์ว่า พระองค์ทรงมีความตั้งใจมอบอำนาจอธิปไตยให้ปวงชนชาวไทย และทรงประสงค์ให้สยามมีการปกครองอย่าง Democratic

ประการสำคัญคือ ทรงมองว่าระบอบ Democracy มิได้เป็นปฏิปักษ์กับระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ และหากวันใดที่ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ระบอบการปกครองนั้นต้องประกอบด้วย 2 ระดับ ได้แก่

  1. ระดับบน คือ การปกครองแบบรัฐสภา (Parliamentary system)
  2. ระดับล่าง คือ การปกครองท้องถิ่นนั้น ได้แก่ เทศบาล (Municipality)

ต่อมาหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลของคณะราษฎรยังได้นำแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 7 มาเขียนประกอบไว้ใน “พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476” อีกด้วย

อนึ่ง ก่อนการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 นั้น เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปในหมู่ประชาชนและข้าราชการว่า Democracy คือการปกครองแบบเดียวกับ Republic หรือ ระบอบสาธารณรัฐ อันเป็นระบอบที่ “ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุขปกครองในประเทศ”

หลักฐานนี้ปรากฏชัดเจน จากตำราคำอธิบายกฎหมายปกครอง โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือปรีดี พนมยงค์ ผู้เป็นมันสมองของคณะราษฎร ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2474 หนึ่งปีก่อนการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ปรีดี พนมยงค์ ได้แบ่งรัฐบาลบนโลกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ “รัฐบาลราชาธิปตัย” กับ “รัฐบาลประชาธิปตัย” โดยลักษณะของประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปตัย คือ “ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นให้อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา”

นั่นหมายความว่า ปรีดี พนมยงค์ กำลังอธิบายว่าระบอบประชาธิปไตย กับระบอบสาธารณรัฐที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ คือ “สิ่งเดียวกัน” ซึ่งเป็นคำอธิบายที่ไม่ถูกต้อง เพราะรัฐบาลอังกฤษเวลานั้น ก็เรียกตัวเองว่าเป็น Democratic Government หรือ รัฐบาลประชาธิปไตย แต่ก็ยังมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ

ต่อมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คำว่า “ประชาธิปไตย” จึงเริ่มมีความหมายในเชิงที่ไม่เป็นปฏิปักษ์กับพระมหากษัตริย์มากขึ้น เริ่มมีผู้เข้าใจว่ารูปแบบการปกครองอย่าง Democracy สามารถอยู่กับระบอบ Constitutional Monarchy (ระบอบพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ) ได้อย่างไม่มีปัญหา

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสยามในเวลานั้น ก็ยังนิยมเรียกตัวเองว่าเป็น “ระบอบรัฐธรรมนูญ” มากกว่า “ระบอบประชาธิปไตย” อยู่ดี ดังจะเห็นได้จากการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญทั่วประเทศอย่างคึกคัก ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

จากข้อมูลทั้งหมดนี้ ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาแนวคิดทางการเมืองแห่งยุคสมัย และเป็นหลักฐานที่ประจักษ์ชัดว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงตระหนักถึงความหมายและรูปแบบการปกครองเป็นอย่างดี

อีกทั้งยังเกิดคำถามตามมาว่า ผู้ที่เป็นถึงมันสมองของคณะราษฎร มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับระบอบการปกครองจริง ๆ หรือตั้งใจสร้างแนวคิดบิดเบือน เพื่อหวังผลให้ประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ตัวเองต้องการกันแน่

อ้างอิง :

[1] พระราชบันทึกของรัชกาลที่ 7 เรื่อง “Democracy in Siam”  พ.ศ. 2470
[2] พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476
[3] คำอธิบายกฎหมายปกครอง ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) พ.ศ. 2474

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า