สายสัมพันธ์จากปรีดีถึงสฤษดิ์คือสายป่านความทุจริตในทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เกิดกรณีอื้อฉาวซึ่งเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับมรดกระหว่างทายาทขึ้น มีการเรียกร้องให้ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 เพื่อสอบสวนเรื่องราวทั้งหมด

จนนำไปสู่ การยึดทรัพย์เป็นมูลค่ากว่า 604,551,276 บาท 62 สตางค์

ความมั่งคั่งนับพันล้านบาทของจอมพลสฤษดิ์ ไม่ได้เกิดขึ้นภายในชั่วพริบตาขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากแต่บทบาททางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์นั้น เริ่มฉายแววมาตั้งแต่ครั้งยังเป็น พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากการปราบปรามกบฏ ในปี พ.ศ. 2492 หรือกบฏวังหลวง ที่มีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าผู้ก่อการ ซ่องสุมกำลังพลเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง เพื่อหวังยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม

จอมพลสฤษดิ์เริ่มสะสมความมั่งคั่ง ผ่านการเป็นกรรมการบริษัท ทั้งในบริษัทรัฐวิสาหกิจ และการเข้าไปลงทุนในบริษัทเอกชนจำนวนมาก ทำให้จอมพลสฤษดิ์มีทรัพย์สินครอบครองอยู่ก่อนแล้วนับพันล้านบาท ในระยะเวลาเกือบสิบปีก่อนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี และความร่ำรวยบางส่วน ก็เกิดจากกลไกทางการเมืองบางอย่าง ที่เปิดทางส่งผ่านความมั่งคั่งระหว่างกัน

ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารแห่งเอเชียเพื่ออุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ที่นายปรีดี พนมยงค์ ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดการใช้เงินสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มาซื้อหุ้น ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งพลเรือตรี ถวัลย์ เป็นทหารเรือที่สนับสนุนนายปรีดี และต่อมายังเป็นนายกหุ่นเชิดให้นายปรีดี ในปี พ.ศ. 2489 อีกด้วย รวมถึงธนาคารนครหลวง ซึ่งก่อตั้งและถือหุ้นใหญ่โดยนายหลุย พนมยงค์ น้องชายแท้ ๆ ของนายปรีดี โดยธนาคารทั้งสองแห่งนี้ ล้วนเป็นทุนทางการเมืองให้นายปรีดีทั้งสิ้น

และนอกจากนี้ นายปรีดี พนมยงค์ ในขณะเป็นรัฐมนตรีการคลัง ยังเป็นประธานกรรมการบริษัทของรัฐวิสาหกิจทุกแห่งอีกด้วย ซึ่งหากเราจะกล่าวว่านโยบายรัฐนิยมของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ส่งผลให้เกิดการผูกขาดเศรษฐกิจโดยรัฐ เพราะรัฐบาลได้อาศัยทุนจากการยึดทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มาบริหารจัดการ และขยายธุรกิจ ก็ต้องนับว่าเป็นผลงานของนายปรีดี ในฐานะรัฐมนตรีการคลัง ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัทโดยตำแหน่งของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง

ภายหลังเหตุการณ์กบฏวังหลวง หุ้นธนาคารเอเชียถูกบังคับเปลี่ยนมือไปยังผู้มีอิทธิพลทางการเมือง และเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แล้ว จอมพลสฤษดิ์ ได้ปล่อยนักโทษการเมืองจำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นมีนายปาล พนมยงค์ (ลูกชายคนโตของนายปรีดี) และนายหลุย พนมยงค์ (น้องชายแท้ ๆ ของนายปรีดี) อีกทั้งหุ้นของธนาคารเอเชียก็ถูกเปลี่ยนมืออีกครั้ง ไปอยู่ในชื่อของนายทองดุลย์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นน้องชายของจอมพลสฤษดิ์

ทั้ง ๆ ที่การเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นนั้น ก็ควรจะคืนให้กับเจ้าของเดิม แต่กลับกลายเป็นว่าเหมือนมีดีลลับอะไรบางอย่างเกิดขึ้นระหว่างคนสองกลุ่มนี้

การยึดอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ได้ล่วงรู้ถึงหูนายปรีดีซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน หรือไม่ ไม่มีใครยืนยันได้ แต่ว่าในการเมืองระหว่างประเทศนั้น เป็นที่รู้กันว่าพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ได้ติดต่อกับรัฐบาลอเมริกาเพื่อยึดอำนาจ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่อเมริกาในขณะนั้นไม่สนับสนุนพลตำรวจเอกเผ่า ขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ก็กำลังสะสมอำนาจแข่งกับพลตำรวจเอกเผ่าอยู่เช่นกัน โดยก่อนหน้าที่จอมพลสฤษดิ์จะยึดอำนาจจอมพล ป. ไม่ถึงครึ่งปี นายปรีดีก็ขออนุญาตรัฐบาลจีน เพื่อย้ายจากปักกิ่งมาอยู่กวางโจว ราวกับเตรียมตัวจะกลับไทยในเร็ววัน

และเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ยึดอำนาจสำเร็จ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจการคลังที่สถานทูตไทยในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก็ได้รับการทาบทามให้มารับราชการในประเทศไทย ในตอนแรก ดร.ป๋วย เหมือนจะเล่นตัว แต่ในที่สุดก็ตอบรับคำเชิญของจอมพลสฤษดิ์ ราวกับว่าได้รับไฟเขียวจากปักกิ่งรึไงก็ไม่ทราบ แต่ทราบได้อย่างหนึ่งคือ เมื่อนายปรีดีย้ายจากปักกิ่งมาที่กวางโจวตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2499 และได้ขออนุญาตจีนย้ายไปฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2513 บุคคลแรก ๆ ที่ไปเยี่ยมนายปรีดี ก็คือ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คนนี้นี่เอง

อีกสิ่งที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของจอมพลสฤษดิ์ กับนายปรีดี พนมยงค์ ได้เป็นอย่างดีคือ ในช่วงปี พ.ศ.2502 เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ได้เขียนจดหมายส่วนตัวแนะนำเกี่ยวกับโครงการขุดคอคอดกระ และให้จอมพลสฤษดิ์เอาทองคำแท่งในพระบรมมหาราชวังออกมาใช้เป็นทุนในการดำเนินโครงการ จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ที่นายปรีดีก่อกบฏ และพลตรีสฤษดิ์ ในขณะนั้นก็เป็นแม่ทัพปราบกบฏฝ่ายรัฐบาล นายปรีดีมีท่าทีประณีประนอมกับพลตรีสฤษดิ์ และเคยชวนให้หักหลัง จอมพล ป.พิบูลสงคราม มาตั้งแต่ครั้งกระโน้นแล้ว

และไม่รู้ว่าเพราะทองคำแท่งที่เก็บไว้ในพระบรมมหาราชวังหรือไม่ ที่ทำให้นายปรีดี เลือกที่จะยึดพระบรมมหาราชวัง แทนที่จะไปยึดทำเนียบรัฐบาลซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองประเทศ

หลังเหตุการณ์กบฏวังหลวง เครือข่ายการเมืองของนายปรีดีได้ถูกกวาดล้างอย่างหนัก รวมถึงเครือข่ายธุรกิจต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมของกลุ่มนายปรีดี ก็พลอยหมดบทบาทลงนับแต่นั้นมา แต่หลังจากที่รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม สิ้นสุดอำนาจลง แทนที่กลุ่มของนายปรีดีจะเรียกร้องทรัพย์สินคืน กลายเป็นว่าทรัพย์สินบางส่วนกลับไปโผล่ที่กลุ่มของจอมพลสฤษดิ์แทน โดยที่เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ดำเนินไปพร้อม ๆ กับบรรยากาศอินเลิฟระหว่างจอมพลสฤษดิ์ และนายปรีดี พนมยงค์ โดยเฉพาะบทบาทของนายปรีดีนั้น เรียกได้ว่ารุกคืบสานความสัมพันธ์กับจอมพลสฤษดิ์เป็นระยะ ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยปรากฎเลยว่าจอมพลสฤษดิ์เขียนจดหมายถึงนายปรีดี มีแต่นายปรีดีที่เขียนจดหมายมาจีบฝ่ายเดียว

ทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แม้บางส่วนจะมาจากการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยที่ถูกยึดทรัพย์ สำหรับทรัพย์สินส่วนอื่นนั้น ล้วนมาจากการสร้างความมั่งคั่งก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และบางส่วนอาจเรียกได้ว่า ผูกโยงหรือเกี่ยวพันถึงกลุ่มการเมืองคณะราษฎร ที่ได้หมดสิ้นอำนาจไปก่อนหน้านี้แล้ว

ทั้งหมดนี้คือเส้นทางความมั่งคั่งของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ลากไปจนเผยให้เห็นว่า นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลคณะราษฎรโดยเฉพาะเครือข่ายนายปรีดี พนมยงค์ ต่างดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างแข็งขัน นั่นคือนโยบายที่เอื้อประโยชน์กันเอง มีการผูกขาดธุรกิจโดยรัฐ แถมยังยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินพระมหากษัตริย์มาเป็นของตัวเองกันอย่างสนุกสนาน โดยเอาการเปลี่ยนแปลงเพื่อประชาชนมาเป็นข้ออ้าง ซึ่งดูแล้วแทบไม่ต่างอะไรกันเลยกับนักการเมืองเลว ๆ ที่เกาะกินทำลายประเทศชาติมาทุกยุคทุกสมัย

อ้างอิง :

[1] พรรณี บัวเล็ก. การเติบโตและการพัฒนาของนายทุนธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (2475-2516). วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2528
[2] อภิชาติ สถิตนิรามัย. ทุน วัง คลัง (ศักดิ) นา: สมรภูมิเศรษฐกิจการเมืองไทยกับประชาธิปไตยที่ไม่ลงหลักปักฐาน. กรุงเทพฯ: มติชน. 2564
[3] สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. สายธารประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: พี.เพรส. 2551
[4] สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. แผนชิงชาติไทย. กรุงเทพฯ: 6 ตุลารำลึก. 2550
[5] บทความ “เหตุไฉน ‘ถนอม’ ยึดทรัพย์ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผ่าน ‘มาตรา 17’” มติชนออนไลน์ วันที่ 28 กันยายน 2559
[6] บทความ “เหลียวหลัง แลหน้า” วารสาร ธ.ก.ส. ปีที่ 6 ฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2519

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า