‘สัญญา ธรรมศักดิ์’ นายกรัฐมนตรีผู้มาถูกต้องตามกระบวนการ ไม่ใช่การ ‘พระราชทาน’ โดยไร้กฎเกณฑ์

เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นั้นได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างสูงไม่ว่าจะจากฝ่ายใด สาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคมนั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัยไม่ว่าจะทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เมืองไทยได้อยู่ใต้การปกครองของระบอบทหารอย่างยาวนานทำให้นักศึกษาซึ่งมีพลังอย่างสูงในขณะนั้นเกิดอาการเบื่อหน่ายและได้เรียกร้องให้จอมพลถนอม กิตติขจร ลงจากอำนาจไป

หลังจากเกิดเหตุจลาจลขนาดใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเมืองไทย และจอมพลถนอมต้องหนีออกจากอำนาจไป สภาวะการเมืองไทยในขณะนั้นจึงดูเหมือนว่าจะเข้าสู่สภาวะสุญญากาศเนื่องจากไม่มีคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีที่จะคอยควบคุมสถานการณ์และบริหารประเทศอีกแล้ว ภายใต้ความสับสนและความวุ่นวายเช่นนี้เองที่อำนาจอธิปไตยของประชาชนและพระมหากษัตริย์ได้กลับมาหลอมรวมกันอย่างชัดเจนอีกครั้งเพื่อการก้าวให้หลุดจากวิกฤต และในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อทำให้ประเทศสามารถกลับมาทำงานอย่างปกติได้อีกครั้ง และเหตุการณ์จลาจลครั้งใหญ่ก็ได้ยุติลง

หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้มีการกล่าวย้อนหลังหรือการตีความกลับไปว่ารัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์นั้นเป็น “นายกฯ พระราชทาน” หรือเป็น “รัฐบาลพระราชทาน” ซึ่งหมายถึงการที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโดยพระราชอำนาจของพระองค์เองหรือไม่ถูกต้องตามกระบวนการ ดังปรากฏในโพสต์เฟซบุ๊กของ ปิยบุตร แสงกนกกุล ส่วนหนึ่งว่า การเลือกบุคคลมาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมาจากประชาชนหรือผู้แทนประชาชน ซึ่งในระบบรัฐสภานั้น พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามที่สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบเท่านั้น นอกจากนี้ยังกล่าวว่า เรื่อง นายกรัฐมนตรีพระราชทาน เป็นปมปัญหาของการเมืองไทยมาโดยตลอด เมื่อไรก็ตามที่มีวิกฤต ไม่ว่าวิกฤตนั้นจะเกิดขึ้นเองหรือสมคบคิดสร้างขึ้นมา ก็จะมีกระแสเรียกร้อง นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทุกครั้งไป ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย และหลักการกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ[1]

การกล่าวของปิยบุตรนั้นเป็นการกล่าวที่ถูกต้อง แต่เป็นความถูกต้องที่อยู่บนฐานของการที่ระบบรัฐสภาสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ แต่หากการทำงานไม่ปกติแล้วก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง โดยกรณีนี้ตัวอย่างที่ชัดเจนคือเหตุการณ์ 14 ตุลาคม

ย้อนกลับไปในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้เกิดการเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญขึ้นด้วยการเดินแจกใบปลิวให้กับประชาชน เมื่อกลุ่มเรียกร้องได้ถูกจับโดยตำรวจสันติบาลในข้อหามั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน และได้ตั้งข้อหาอื่นๆ ตามมา เหตุการณ์นี้ได้ทำให้เกิดความไม่พอใจต่อรัฐบาลมากขึ้นในสังคมไทย ต่อมาในวันที่ 14 ตุลาคม รัฐบาลได้ประกาศว่าฝูงชนและนิสิตเป็นผู้ก่อกรจลาจลและทำการปราบปรามอย่างหนักจนเกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างประชาชนและรัฐบาล ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 65 คน บาดเจ็บกว่า 900 คน รวมไปถึงยังเกิดการทำลายและเผาสถานที่ราชการหลายแห่ง ดังนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงได้ทรงพะราชทานกระแสพระราชดำรัสทางโทรทัศน์และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากว่าคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ และสภานิติบัญญัติก็ไม่อาจดำเนินงานได้ปกติทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีนายกรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขวิกฤตโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [2]

แน่นอนว่าการแต่งตั้งอย่างฉุกละหุกนี้ นายสัญญาย่อมไม่มีการเตรียมตัวหรือรับรู้มาก่อนเพราะเป็นเหตุการณ์วิกฤต หรือแม้แต่การแต่งตั้งครั้งนี้จะดูเสมือนเป็นการ “พระราชกระแสรับสั่งชี้ตัวบุคคล” [3] แต่ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2515 มาตรา 14 นั้นได้ระบุอยู่แล้วว่าพระองค์มีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีได้ นอกจากนี้ภายหลังในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงได้มีพระราชดำรัสถึงกรณี “นายกฯ พระราชทาน” เมื่อครั้งเกิดวิกฤต พ.ศ. 2549 แบบเต็มๆ ไว้ว่า [4]

เขาอ้างถึงเมื่อครั้งก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ตอนนั้นไม่ได้ทำเกินอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตอนนั้นสภามีอยู่ ประธานสภา รองประธานสภามีอยู่ แล้วก็รองประธานสภาทำหน้าที่ แล้วมีนายก ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าที่ทำครั้งนั้นผิดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ ตอนนั้นเขาไม่ใช่นายกพระราชทาน นายกพระราชทานหมายความว่าตั้งนายกโดยไม่มีกฎเกณฑ์อะไรเลย ตอนนั้นมีกฎเกณฑ์ เมื่อครั้งอาจารย์สัญญาได้รับแต่งตั้งเป็นนายก เป็นนายกที่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ รองประธานสภานิติบัญญัติ นายทวี แรงขำ ดังนั้น ไปทบทวนประวัติศาสตร์หน่อย ท่านก็เป็นผู้ใหญ่ ท่านก็ทราบว่ามีกฎเกณฑ์ที่รองรับ แล้วก็งานอื่น ๆ ก็มี แม้แต่ที่เรียกว่าสภาสนามม้าก็หัวเราะกัน สภาสนามม้า แต่ไม่ผิดกฎหมาย เพราะว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนอง

นั่นหมายความว่าการแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ นั้นเป็นไปอย่างถูกต้องตามกระบวนการและกฎเกณฑ์ มิใช่การยิงตรงเปรี้ยงโดยไม่มีกฎหมายรองรับ สถานะของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 9 จึงยังคงถูกต้องและมั่นคง แม้แต่สภาวะที่วิกฤตพระองค์ก็ยังคงสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย และสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยทุกประการ

อ้างอิง :

[1] การติดตั้ง “นายกฯ พระราชทาน” ไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 ใน เฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล.
[2] มัณฑิตา รัตนวิโรจน์, “ที่มาของนายกรัฐมนตรี: ศึกษากรณีการได้มาของนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช 2560,” (วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561), หน้า 56-57.
[3] อาสา คำภา, “ความเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายชนชั้นนำไทย พ.ศ. 2495-2535,” (วิทยานิพนธ์ประวัติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562), หน้า 254.
[4] สำนักราชเลขาธิการ, ประมวลพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ พุทธศักราช 2549 (กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2549), หน้า 427-428.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า