สมเด็จย่า ผู้ปกป้องรัชกาลที่ 8 จากเกมอำนาจของรัฐบาล

หลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478

ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับในหลวงรัชกาลที่ 8 ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา และทรงประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ในช่วงเวลานั้นเอง สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ หรือ สมเด็จย่า คือบุคคลสำคัญที่คอยดูแลและทรงปกป้องยุวกษัตริย์พระองค์ใหม่ในสกุลมหิดลพระองค์นี้มาตลอด ในห้วงสถานการณ์เปลี่ยนผ่านของประเทศไทย ที่พระมหากษัตริย์แทบจะไม่มีพระราชอำนาจใด ๆ เลย

ในช่วงปี พ.ศ. 2478 – พ.ศ. 2479 รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญในหลวงรัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัติพระนคร เพื่อให้ราษฎรเห็นว่ามีพระเจ้าแผ่นดินอยู่จริง แต่สมเด็จพระราชชนนีกลับยืนยันหนักแน่นว่า ยังไม่ต้องการให้ในหลวงรัชกาลที่ 8 เสด็จกลับเมืองไทย เนื่องจากพระพลานามัยของพระองค์ไม่สมบูรณ์แข็งแรง บวกกับสถานการณ์บ้านเมืองที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง

โดยสมเด็จพระราชชนนีได้ทรงเขียนจดหมาย แจ้งความเป็นอยู่ของลูกทั้งสามถึงสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ( ย่าของรัชกาลที่ 8 ) อยู่เสมอมิได้ขาด รวมถึงเรื่องที่รัฐบาลพยายามโน้มน้าวให้ในหลวงรัชกาลที่ 8 เสด็จกลับประเทศไทยเรื่อยมาตั้งแต่รับขึ้นครองราชย์ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล

ซึ่งในขณะนั้น เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐบาล ได้เข้าเฝ้าเพื่อกราบบังคมทูลเชิญให้ในหลวงรัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัติพระนคร แต่สมเด็จพระราชชนนีได้ทรงคัดค้านเนื่องจากปัญหาพระพลานามัยที่ยังไม่สมบูรณ์แข็งแรงของในหลวงรัชกาลที่ 8

และเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศยังได้เสนออีกว่า ในเรื่องการศึกษาเล่าเรียนของในหลวงรัชกาลที่ 8 นั้น ควรจัดให้มีครูมาสอนที่บ้านโดยตรง แทนที่การไปโรงเรียน แต่สมเด็จพระราชชนนีก็ได้ทรงค้านไปทันที โดยให้เหตุผลว่า ในหลวงควรไปโรงเรียน เพราะจะได้สนุกที่มีเพื่อน มีคู่แข่งทำให้อยากเรียน ประการสำคัญคือ จะได้รู้นิสัยของคนทั่วไป เพื่อเป็นประโยชน์ในภายภาคหน้า เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้การปกครองอย่างประชาธิปไตย ซึ่งในที่สุดเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศก็เห็นด้วย

โดยสมเด็จพระราชชนนียังได้ย้ำอีกว่า สกุลมหิดลไม่ต้องการลาภยศใด ๆ หากแต่สิ่งที่มุ่งหวังคือ พระพลานามัย การศึกษา ตลอดจนการเรียนรู้ในช่วงเยาว์วัยของในหลวงรัชกาลที่ 8 คือสิ่งสำคัญที่สุด โดยได้ทรงย้ำกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศว่า…

การที่นันทต้องรับเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ก็เพราะเห็นว่าเป็นหน้าที่ต่อบ้านเมือง เพราะฉนั้นจะทำอะไรต่อไปขอให้พูดกันดี ๆ อย่าบังคับและตัดอสิรภาพจนเหลือเกิน และสำหรับร่างกายและการศึกษาแล้วขอให้ได้เต็มที่ เวลานี้เป็นเด็กก็ขอให้เป็นเด็ก พระเจ้าแผ่นดินที่ร่างกายไม่แข็งแรงและโง่ ก็ไม่เป็นสง่าสำหรับประเทศ

ในครั้งนี้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงพอใจในการพูดของสมเด็จพระราชชนนีมาก ดังจะเห็นได้จากร่างลายมือในจดหมายของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2478 โดยเขียนชื่นชมสมเด็จพระราชชนนี ว่าฉลาดและใจเย็น ดังเนื้อความในจดหมายว่า…

...ใจเย็นพูดจาโต้ตอบงดงามอย่างน่าพิศวงกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ บุญของฉันมาได้ลูกสะใภ้เช่นนี้ บุญของหลานที่มีแม่ที่เลิศ...ฉันพูดนี้ปลื้มใจด้วย เศร้าใจด้วย จนน้ำตาไหล...

นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลในขณะนั้นมีอำนาจมากเพียงใด ดังจะเห็นได้จากการโน้มน้าว ตลอดจนการพยายามบังคับ ตัดรอนอิสรภาพ ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่และการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นเพียงยุวกษัตริย์ที่ไม่มีพระราชอำนาจใด ๆ เลย

แต่ด้วยความเข้มแข็ง ตลอดจนการเจรจากับฝ่ายรัฐบาลอย่างประนีประนอมของสมเด็จพระราชชนนี จึงทำให้ในหลวงรัชกาลที่ 8 ได้ทรงประทับ และศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ต่อไป ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระราชชนนี

กระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2481 สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระเชษฐภคินี และพระราชอนุชา จึงได้เสด็จนิวัติกลับประเทศไทย เพื่อทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรเป็นครั้งแรกโดยประทับอยู่ในพระนครเป็นเวลากว่า 2 เดือน

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็ง และพระปฏิภาณของสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ในการเจรจากับทางรัฐบาลในขณะนั้น ตลอดจนได้เห็นถึงการตั้งพระทัยมั่น ในการปกป้องและดูแลยุวกษัตริย์แห่งสกุลมหิดลพระองค์นี้ ให้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งในด้านพระพลานามัยและการศึกษา

ทำให้เห็นภาพชัดเจนอีกว่า แท้จริงแล้วผู้ที่มีอำนาจในขณะนั้นคือรัฐบาล ที่สามารถโน้มน้าวและควบคุมสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในทิศทางที่พวกเขาต้องการได้ อีกทั้งเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า ราชสกุลมหิดลมิได้มีความต้องการอำนาจใด ๆ เลย รัฐบาลเองต่างหากที่พยายามดึงพระมหากษัตริย์ลงมาอยู่ในเกมการเมือง เพื่อวัตถุประสงค์ที่พวกเขาต้องการ

ดังนั้น คำกล่าวหาต่าง ๆ นานา ที่มีผู้พยายามใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์มาตลอดว่า พระองค์ทรงอยู่เบื้องหลังรัฐบาลและทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจนั้น แท้จริงแล้วเป็นแค่เรื่องโกหกปั้นแต่งของพวกที่หวังทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น

อ้างอิง :

เจ้านายเล็ก ๆ – ยุวกษัตริย์ โดย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า