ล้อเลียน เสียดสี โดยไม่มีการอ้างชื่อใคร ทำไมจึงผิด ม.112

ที่ผ่านมาเราได้เห็นกลุ่มม็อบเรียกร้องประชาธิปไตย ออกมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นการจงใจดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัวล้อเลียน การใส่ชุดเดินบนพรมแดงให้คนกราบไหว้กันอย่างสนุกสนาน หรือการเอาพระราชดำรัสมาพูดในเชิงเสียดสี ซึ่งหลายเหตุการณ์นำไปสู่การแจ้งความดำเนินคดีความผิด ม.112

หลังจากนั้นก็มีผู้ถูกดำเนินคดีหลายคนออกมาแย้งว่า เขาไม่ได้พูดถึงใคร แค่แสดงออกเฉยๆ แต่กลับมีความผิด ม.112 เป็นเพราะกฎหมายตีความเกินเลยจนกลายเป็นการกลั่นแกล้งประชาชน

นี่คือเรื่องที่หลายคนยังเข้าใจผิด เพราะจริงๆ แล้ว การดูหมิ่น หมิ่นประมาท ทั้งทางคำพูด การกระทำ หรือวิธีการใดก็แล้วแต่ แม้จะไม่มีการระบุชื่อ แต่ถ้า “พฤติการณ์แวดล้อม” สามารถบ่งชี้ได้ว่าบุคคลที่จำเลยแสดงพฤติกรรมดูหมิ่นนั้นหมายถึงใคร ก็ถือว่าเข้าข่ายหมิ่นประมาทได้

แต่ก็ไม่ใช่ว่าศาลจะฟันธงลงไปทันทีว่าจำเลยมีความผิด เขาต้องมีขั้นตอนต่างๆ อีกมาก ทั้งการสืบพยาน รวมถึงการหาผู้เชี่ยวชาญมาพิสูจน์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกล่าวหาดูหมิ่นจริงๆ หรือไม่ ถ้าผลสุดท้ายพิสูจน์แล้วว่าเป็นการดูหมิ่นจริง ก็จะถือว่าจำเลยมีความผิด

ทั้งหมดที่พูดมานี้ เคยมีตัวอย่างที่เป็นคดีขึ้นศาลมาแล้ว และศาลฎีกาก็ได้วางแนวคำพิพากษาเอาไว้ชัดเจนแล้วด้วย

ถ้าใครยังสงสัยว่าพฤติกรรมใส่ความ หมิ่นประมาท ที่ไม่มีการระบุชื่อ จะเข้าข่ายมีความผิด ม.112 ได้ยังไง และพฤติการณ์แวดล้อมที่บ่งชี้ว่าจำเลยมีความผิดนั้นเป็นแบบไหน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญที่จะมาสืบพยานในชั้นศาลนั้นเป็นใคร … ลองดูคลิปนี้ให้จบครับ แล้วจะเข้าใจทั้งหมดแบบเคลียร์ๆ ว่า การพิจารณาคดี ม.112 นั้น มีขั้นตอนที่ชัดเจน และไม่สามารถเอามาใช้กลั่นแกล้งกันได้ง่ายๆ

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r