ฤา Podcast Ep 23 – การถวายฎีกา จารีตปฏิบัติในการบำบัดทุกข์แก่ราษฎร

ในอดีตเมื่อราษฎรได้รับความเดือนร้อนโดยไม่สามารถพึ่งพาเจ้านายของตนได้ สิ่งหนึ่งซึ่งถือเป็นสิทธิโดยชอบธรรมที่สามารถกระทำได้คือ การถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระมหากรุณาธิคุณโดยตรงในการช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ยากจากความลำบากหรือความไม่เป็นธรรมต่างๆ

โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ราษฎรถวายฎีกามาก สมัยนั้นประชาชนสามารถถวายฎีกาได้ทุกเมื่อ โดยฎีกาที่ส่งมานั้นมีหลายประเภท ทั้งการขอพระราชทานพระมหากรุณาลดหย่อนผ่อนโทษ การร้องเรียนกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง การขอพระราชทานความช่วยเหลือเนื่องจากความทุกข์ยาก เป็นต้น

และหากตรวจดูแล้วฎีกามีมูลความจริง พระองค์จะทรงช่วยเหลือเพื่อให้ราษฎรได้รับความเป็นธรรมโดยเท่าเทียมกัน

ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชกฤษฎีกาวางระเบียบการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา” และตั้ง “กรรมการศาลฎีกา” ขึ้นมาเพื่อปรับปรุงขั้นตอนการยื่นถวายฎีกา ทั้งในเรื่องการลงนาม ที่อยู่ และวิธีการยื่นถวาย ทำให้เกิดความเป็นระบบระเบียบมากขึ้น

การถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นจารีตปฏิบัติที่สืบเนื่องมาถึงทุกวันนี้ โดยในรัชสมัยปัจจุบัน การรับเรื่องฎีกาจากราษฎร ถือเป็นอำนาจหน้าที่ตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ และยังถือเป็นจารีตปฏิบัติ ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของภาครัฐ และช่วยเหลือราษฎรที่กำลังได้รับความลำบาก ให้พ้นจากความทุกข์ยากโดยเท่าเทียมกัน

อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการถวายฎีกา ซึ่งถือเป็นจารีตปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจและพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์โดยตรง ได้ในบทความนี้ ‘การถวายฎีกา’ จารีตปฏิบัติในการบำบัดทุกข์แก่ราษฎร ที่สืบเนื่องมาแต่โบราณถึงปัจจุบัน

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r