รัฐธรรมนูญฉบับปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกนับถอยหลังลงตั้งแต่วินาทีแรกที่ประกาศใช้

พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ร่างขึ้นโดยนายปรีดี พนมยงค์ และถูกประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ที่เกิดจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เพื่อเรียกร้องให้มีการปกครองในระบอบรัฐสภา แม้ว่าก่อนหน้านั้น ในหลวงรัชกาลที่ 7 จะทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ. 2470 ซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติ แต่อำนาจอธิปไตยในทางนิติบัญญัติก็ยังคงเป็นของพระองค์อยู่

ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 จะเรียกร้องให้มีการปกครองในระบอบรัฐสภา แต่ก็พูดได้ไม่เต็มปากว่านั่นคือระบอบประชาธิปไตย เพราะว่า ในมาตรา 10 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้บัญญัติให้มีสมาชิกผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ซึ่งมาจากการ “แต่งตั้ง” โดยรัฐบาลคณะราษฎร โดยกำหนดระยะเวลาไว้มากถึง 10 ปี

และแม้ว่าต่อมาจะมีการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นฉบับถาวรแล้ว และได้มีการปกครองในระบอบรัฐภาเป็นเวลากว่า 8 ปี กระทั่งถึง พ.ศ. 2483 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งนำโดยนายปรีดี พนมยงค์ ก็มีการผลักดันให้ขยายระยะเวลาการมีผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 นี้ ออกไปอีก 10 ปี โดยให้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ ยังได้บอกอีกด้วยว่า การขยายเวลาออกไป 10 ปี ยังน้อยไปด้วยซ้ำ

การกำหนดให้มีผู้แทนราษฎรจากการแต่งตั้ง เป็นเวลาถึง 10 ปี และยังขยายเวลาออกไปอีก 10 ปี เป็นอย่างน้อย คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า นายปรีดีฯ ซึ่งเป็นคนเขียนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมา รู้อยู่แล้วว่าประชาชนยังไม่พร้อมกับระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน เรื่องนี้ดูได้จากรัฐธรรมนูญของนายปรีดีฯ ที่ให้เหตุผลถึงความจำเป็นของการมีผู้แทนจากการแต่งตั้ง ว่าเป็นเพราะประชาชนยังสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษาไม่ถึงครึ่ง

และต่อให้คนไทยมีการศึกษามากพอแล้ว รัฐธรรมนูญของนายปรีดีฯ ก็ดูเหมือนจะยังคงไม่ไว้วางใจประชาชน เห็นได้จากการออกแบบการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร โดยให้มีการเลือกตั้งทางอ้อมถึง 3 ชั้น ด้วยการให้ประชาชนเลือกผู้แทนหมู่บ้าน แล้วให้ผู้แทนผู้บ้านเลือกผู้แทนตำบล จากนั้นจึงให้ผู้แทนตำบลเลือกผู้แทนราษฎร

รัฐธรรมนูญของนายปรีดี พนมยงค์ ยังแฝงไปด้วยทัศนคติอำนาจนิยมในระบอบเผด็จการ โดยเห็นได้จากการออกแบบโครงสร้างอำนาจอธิปไตยที่ทับซ้อนแทรกแซงอำนาจกัน รวมถึงการสร้างคณะกรมการเมือง (Politburo) เพื่อครอบงำการบริหารงานของเสนาบดีสภา (คณะรัฐมนตรี) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เลียนแบบมาจากประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น โซเวียต

การวางโครงสร้างอำนาจอธิปไตยที่บิดเบี้ยวผิดหลักการประชาธิปไตย ยังเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตราต่างๆ ของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ดังนี้

มาตรา 6 ได้บัญญัติให้การฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในคดีอาชญายังโรงศาล กระทำไม่ได้ แต่ให้อำนาจหน้าที่แก่สภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยแทน ซึ่งบทบัญญัติเช่นนี้ เป็นการให้ “อำนาจตุลาการ” แก่องค์กรฝ่าย “นิติบัญญัติ” ซึ่งถือเป็นการละเมิดหลักการแบ่งแยกอำนาจ

มาตรา 7 ได้บัญญัติให้ “การกระทำใดๆ” ของพระมหากษัตริย์ต้องมีการลงนามโดยความยินยอมของ “คณะกรรมการราษฎร” มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ ซึ่งการบัญญัติถ้อยคำกว้างๆ ว่า “การกระทำใดๆ” ทำให้นิติกรรมทุกชนิดของพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะในทางส่วนตัว หรือส่วนที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ การบัญญัติเช่นนี้จึงเป็นการ “ละเมิดสิทธิมนุษยชน” เพราะบุคคลธรรมดาที่บรรลุนิติภาวะ ต่างได้การรับรองสิทธิในการทำนิติกรรมได้อย่างเสรีตามกฎหมาย ดังนั้น ในเมื่อพระมหากษัตริย์ก็เป็นบุคคลธรรมดาในทางกฎหมาย ก็ย่อมมีสิทธิขั้นพื้นฐานทางกฎหมาย ในการทำนิติกรรมที่ “ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน” เหมือนกับบุคคลทั่วๆ ไป โดยไม่จำเป็นต้องขอคำยินยอมจากคนอื่น

มาตรา 9 ได้ให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎร ในการถอดถอนกรรมการราษฎร หรือพนักงานรัฐบาลคนใดก็ได้ ซึ่งถือเป็นการให้อำนาจ “ฝ่ายนิติบัญญัติ” เข้าไปแทรกแซงการทำงานของ “ฝ่ายบริหาร” เพราะการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการราษฎร ถือเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการราษฎร ซึ่งเทียบได้กับการที่นายกรัฐมนตรีมีเอกสิทธิ์ในการแต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน ดังนั้นการที่สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจทั้งถอดถอนกรรมการราษฎรหรือพนักงานรัฐบาล จึงเป็นเรื่องที่ขัดกับหลักประชาธิปไตย และไม่มีประเทศไหนในโลกเขาทำกัน

มาตรา 34 ได้ให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎร สามารถแต่งตั้งกรรมการราษฎรทดแทนได้ในกรณีที่กรรมการราษฎรขาดคุณสมบัติ หรือพ้นจากตำแหน่งเพราะถึงแก่ความตาย ทั้งๆ ที่มาตรา 33 ให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งประธานกรรมการราษฎรได้เพียงคนเดียว ส่วนอำนาจการแต่งตั้งกรรมการราษฎรนั้น จะเป็นอำนาจของประธานกรรมการราษฎรอีกที เรียกได้ว่าเป็นการวางบทบัญญัติแบบมั่วมาก

คณะกรรมการราษฎร” ถือเป็นจุดด่างพร้อยที่สุดในรัฐธรรมนูญฉบับของนายปรีดีฯ เพราะเป็นการสอดไส้โครงสร้างองค์กรทางการเมืองเลียนแบบประเทศคอมมิวนิสต์ โดยคณะกรรมการราษฎรจะทำหน้าที่เป็น คณะกรมการเมือง (Politburo) ซึ่งมีอำนาจที่ซ้อนทับกับอำนาจของเสนาบดีสภา (คณะรัฐมนตรี) อีกทีหนึ่ง กล่าวคือ คณะกรรมการราษฎรจะมีอำนาจพิเศษที่จะออก “พระราชกำหนด” เป็นกฎหมายได้ในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน (ปกติแล้วการออกกฎหมายจะทำได้แค่ ออกผ่านรัฐสภา) ซึ่งจริงๆ แล้วการออกพระราชกำหนดจะเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) ดังนั้น อำนาจในส่วนนี้ของคณะกรรมการราษฎรจึงถือเป็นการแทรกแซงฝ่ายบริหาร

นอกจากนี้ อำนาจการเจรจาการเมืองกับต่างประเทศ และอำนาจการลงนามผูกพันกับต่างประเทศ ก็ยังมีการวางบทบัญญัติในลักษณะที่มีความทับซ้อนกันระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะว่ามาตรา 36 วรรคแรก ได้ให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎร สำหรับการเจรจาการเมืองกับต่างประเทศ ส่วนมาตรา 36 วรรคสาม ได้บัญญัติให้การให้สัตยาบันสัญญาทางพระราชไมตรีของพระมหากษัตริย์ ต้องใช้พระราชอำนาจตามคำแนะนำของกรรมการราษฎร ทั้งๆ ที่ในเมื่อมาตรา 36 วรรคแรก ได้ให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติไปเจรจา แต่เวลาลงนามผูกพันกลับให้ทำตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร

ด้วยเหตุผลเหล่านี้เอง พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งร่างขึ้นโดยความคิดของคนๆ เดียว จึงถือเป็นรัฐธรรมนูญที่มีการสอดไส้ทัศนคติและอุดมการณ์ส่วนตัว ลงไปในกฎหมายแม่บทที่จะนำมาใช้บังคับกับคนทั้งประเทศ

และด้วยพระปรีชาญาณของในหลวงรัชกาลที่ 7 ซึ่งทรงเล็งเห็นด้วยพระอัจฉริยะภาพ ถึงภัยของรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยแบบบิดเบี้ยว และเป็นร่างจำแลงของการปกครองระบอบเผด็จการกรรมชีพตามแนวทางลัทธิคอมมิวนิสต์ เมื่อทรงได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว จึงทรงให้ใช้เป็นฉบับ “ชั่วคราว” ไปก่อน จนกว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่หลากหลาย เพื่อออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่มีความเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง

พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงเพราะความไม่รอบคอบของนายปรีดี พนมยงค์ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นสิ่งที่ฉายพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 7 ว่าทรงมีความเข้าใจหลักการประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้ จึงสามารถเล็งเห็นถึงรัฐธรรมนูญที่ผิดหลักประชาธิปไตยได้ในฉับพลันทันที

อีกทั้งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังเป็นต้นเหตุที่ทำให้คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองฝ่ายทหารหัวเสียและโกรธนายปรีดี พนมยงค์ เป็นอย่างมาก ที่เขียน “รัฐธรรมนูญยัดไส้” โดยไม่ปรึกษาใคร ทำให้คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองหน้าแตกไปตามๆ กัน เมื่อในหลวงรัชกาลที่ 7 พระราชทานร่างรัฐธรรมนูญคืนมา พร้อมกับพระราชหัตถเลขาเพิ่มเติมแค่คำว่า “ชั่วคราว” เพียงคำเดียว ก็ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปรีดีฯ ต้องนับเวลาถอยหลังทันทีตั้งแต่วินาทีแรกที่ประกาศใช้

อ้างอิง :

[1] พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า