รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475 แตกต่างอย่างไรกับ ธรรมนูญฉบับชั่วคราวของ ปรีดี พนมยงค์

หลายคนยังมีความเข้าใจกันว่า รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยซึ่งเป็นต้นแบบของรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มาจนถึงปัจจุบันคือ “ธรรมนูญการปกครองสยาม พ.ศ. 2475” หรือที่เรียกว่า“ธรรมนูญฉบับชั่วคราว” ที่เขียนขึ้นโดย ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน

ซึ่งทั้งหมดข้างต้นเป็นความเข้าใจที่ “ผิด”

ธรรมนูญการปกครองสยาม พ.ศ. 2475 ของนายปรีดีฯ เป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจในหลวง ร.7 เพื่อเรียกร้องให้มีการปกครองในระบอบรัฐสภา ซึ่งร่างขึ้นโดยสอดไส้โครงสร้างองค์กรทางการเมืองแบบเผด็จการกรรมมาชีพของพรรคบอลเชวิคในสหภาพโซเวียต ตามอุดมการณ์ส่วนตัวของนายปรีดีฯ

ในหลวง ร.7 ทรงเล็งเห็นถึงความไม่ถูกต้องหลังจากทรงได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว จึงทรงให้ใช้เป็นฉบับ “ชั่วคราว” ไปก่อน จนกว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่หลากหลาย เพื่อออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่มีความเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง

ซึ่งต่อมาเหล่าคณะกรรมการจากหลายฝ่าย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่เป็นผลสำเร็จ โดยในหลวง ร.7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็น “รัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของไทย” ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 และเรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่มีสถานะเป็น “การตกลงร่วมกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน” โดยสมบูรณ์ และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นรากฐานแห่งรัฐธรรมนูญของไทยฉบับต่อ ๆ มาจวบจนถึงปัจจุบัน

สำหรับข้อแตกต่างระหว่าง “รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475” กับ “ธรรมนูญฉบับชั่วคราวของ ปรีดี พนมยงค์” มีรายละเอียดสำคัญดังนี้

[ธรรมนูญฉบับชั่วคราวของ ปรีดี พนมยงค์]

มีลักษณะเป็น “Convention” หรือกฎหมายที่ราษฎรร่วมกันถวายขึ้นมาเองฝ่ายเดียว และถ้าว่ากันจริงๆ แล้ว ผลงานการร่างธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ ก็เป็นแค่ความคิดของ ปรีดี พนมยงค์ เพียงคนเดียวเท่านั้น เนื่องจากผู้ก่อการฯ ระดับแกนนำ ไม่เห็นด้วย และไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในเนื้อหาของร่างธรรมนูญการปกครองฯ เพราะว่าคณะผู้ก่อการเพียงแค่มอบหมายให้นายปรีดีฯ ไปออกแบบร่างธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่นายปรีดีฯ กลับยัดไส้ในให้ธรรมนูญการปกครองจำกัดบทบาทของพระมหากษัตริย์ โดยมีต้นแบบจากรัฐธรรมนูญโซเวียต ของพรรคบอลเชวิค ทำให้ธรรมนูญการปกครองฉบับนายปรีดีฯ ซ่อนรูปกลิ่นอายเผด็จการกรรมาชีพ ซึ่งให้คณะบุคคลเพียงคณะหนึ่งมีอำนาจอาญาสิทธิ์แทนพระมหากษัตริย์ (หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เปลี่ยนจากการปกครองกษัตริย์องค์เดียว เป็นการปกครองของกษัตริย์หลายองค์)

[รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475]

มีสถานะเป็น “Pact” หรือ กฎหมายที่มาจากการตกลงร่วมกันระหว่างประมุข คือ ในหลวงรัชกาลที่ 7 และตัวแทนประชาชน คือ คณะราษฎร, ขุนนาง รวมถึงตัวแทนประชาชนนอกคณะราษฎร ภายใต้การจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นโดยคณะอนุกรรมาธิการจากหลายฝ่าย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่หลากหลาย ส่งผลให้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร สามารถรักษาหลักการประชาธิปไตยได้สูงกว่าธรรมนูญการปกครองชั่วคราวฉบับนายปรีดีฯ

[ธรรมนูญฉบับชั่วคราวของ ปรีดี พนมยงค์]

มีการสอดไส้โครงสร้างองค์กรทางการเมืองแบบเผด็จการกรรมมาชีพ ตามอย่างพรรคบอลเชวิคในสหภาพโซเวียต โดยคณะกรรมการราษฎรจะทำหน้าที่เป็น คณะกรมการเมือง (Politburo) ซึ่งมีอำนาจที่ซ้อนทับกับอำนาจของเสนาบดีสภา (คณะรัฐมนตรี) อีกทีหนึ่ง กล่าวคือ คณะกรรมการราษฎรจะมีอำนาจพิเศษที่จะออก “พระราชกำหนด” เป็นกฎหมายได้ในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน (ปกติแล้วการออกกฎหมายจะทำได้แค่ ออกผ่านรัฐสภา) ซึ่งจริงๆ แล้วการออกพระราชกำหนดจะเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) ดังนั้น อำนาจในส่วนนี้ของคณะกรรมการราษฎรจึงถือเป็นการแทรกแซงฝ่ายบริหาร

[รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475]

การปกครองในระบบรัฐสภาตามแนวทางประชาธิปไตยได้วางหลักแบ่งแยกอำนาจ โดยแบ่งอำนาจอธิปไตยเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ซึ่งมงแต็สกีเยอให้เหตุผลว่าเพื่อถ่วงดุลการใช้อำนาจ ไม่ให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจสูงสุดโดยลำพัง อันจะนำไปสู่การปกครองแบบเผด็จการ

ซึ่งคณะ Politburo ของพรรคบอลเชวิคนี้เอง เป็นองค์กรทางการเมืองที่ชี้นำองค์กรทางการเมืองสามฝ่ายอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่เฉพาะแค่การควบคุมคณะรัฐมนตรีเท่านั้น เพราะผู้นำสูงสุดในคณะ Politburo จะต้องพ่วงตำแหน่งเลขาธิการพรรคบอลเชวิคด้วย

ในทางประชาธิปไตย ปกติแล้วอำนาจการออกกฎหมายเป็นของฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนั้นกฎหมายทุกฉบับที่จะออกบังคับใช้ได้จึงต้องผ่านความเห็นของรัฐสภาก่อน แต่ทั้งนี้ก็มีข้อยกเว้น เพราะว่ากระบวนการทางรัฐสภามีขั้นตอนการกลั่นกรองหลายชั้น ทำให้การออกกฎหมายใช้เวลานาน ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงวางข้อยกเว้น กรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน ให้ฝ่ายบริหารสามารถออกกฎหมายบังคับใช้ไปพลางก่อนได้ (กฎหมายบริหารบัญญัติ เรียกว่าพระราชกำหนด) มีลำดับศักดิ์ทางกฎหมายชั้นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่ทั้งนี้ “พระราชกำหนด” ยังจะต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วย เพื่อพิจารณาว่าเหตุที่ออกพระราชกำหนดนั้นเป็นกรณีเร่งด่วนฉุกเฉินหรือไม่ ถ้ารัฐสภาเห็นชอบ ก็จะส่งผลให้กฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้ารัฐสภาไม่เห็นชอบ กฎหมายฉบับนั้นก็เป็นอันตกไปและมีผลเพียงเท่าที่บังคับใช้เท่านั้น

[ธรรมนูญฉบับชั่วคราวของ ปรีดี พนมยงค์]

มีลักษณะพื้นฐานของระบบรัฐสภาไม่ครบถ้วน นั่นคือไม่มีบทบัญญัติในเรื่องการยุบสภา จึงย่อมตีความได้ว่าคณะกรรมการราษฎรหรือประธานคณะกรรมการราษฎร ไม่มีอำนาจยุบสภาแต่อย่างใด

[รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475]

มีลักษณะพื้นฐานของระบบรัฐสภาครบทั้ง 3 ประการ และมีบทบัญญัติเรื่องการยุบสภาเอาไว้ ก่อนที่สภาจะครบกำหนด 5 ปี โดยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งสมาชิกมาใหม่ ในพระราชกฤษฎีกาให้ยุบสภาเช่นนี้ ต้องมีกำหนดให้เลือกตั้งสมาชิกใหม่ภายในเก้าสิบวัน”

[ธรรมนูญฉบับชั่วคราวของ ปรีดี พนมยงค์]

มีการออกแบบให้ มาตรา 1 ซึ่งเป็นการวางหลักการที่มาของอำนาจอธิปไตย แยกกับมาตรา 2 ซึ่งเป็นเรื่องของการใช้อำนาจอธิปไตย ถือเป็นการเขียนรัฐธรรมนูญแบบตัดแปะที่ลอกมาจากรัฐธรรมนูญในประเทศเผด็จการกรรมาชีพ เพื่อหวังผลในทางการเมือง และเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความบกพร่องสะท้อนให้เห็นว่าผู้ร่างไม่มีความเข้าใจในกฎหมายรัฐธรรมนูญและอ่อนภาษาจึงได้เขียนออกมาโดยขาดความสวยงามทางอักษรศาสตร์ และยังใช้คำผิดๆ ถูกๆ เพราะว่าไปแยกมาตรา 1 กับมาตรา 2 ไว้เป็นคนละเรื่อง ทั้งๆ ที่มันคือเรื่องเดียวกัน และต้องเขียนในมาตราเดียวกัน

[รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475]

มาตรา 2 ได้มีการบัญญัติให้ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยเสียใหม่ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางการเมืองของไทยมาแต่โบราณว่า “อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์ ผู้เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นแต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงที่มาของพระราชอำนาจ (อำนาจอธิปไตย) ที่สืบทอดมาจากหลัก “อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ” และปรับเข้ากับหลักสากล โดยให้พระมหากษัตริย์ใช้พระราชอำนาจผ่านสถาบันทางการเมือง 3 สถาบัน คือ ฝ่ายบริหารผ่านคณะรัฐมนตรี ฝ่ายนิติบัญญัติผ่านรัฐสภา และฝ่ายตุลาการผ่านองค์กรตุลาการ

[ธรรมนูญฉบับชั่วคราวของ ปรีดี พนมยงค์]

มาตรา 6 ได้บัญญัติให้การฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในคดีอาชญายังโรงศาล กระทำไม่ได้ แต่ให้อำนาจหน้าที่แก่สภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยแทน บทบัญญัติเช่นนี้ เป็นการให้ “อำนาจตุลาการ” แก่องค์กรฝ่าย “นิติบัญญัติ” ซึ่งเป็นการละเมิดหลักการแบ่งแยกอำนาจ

[รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475]

สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นองค์กรทางการเมือง ที่ไม่มีอำนาจโดยตรงในการใช้อำนาจอธิปไตย ดังนั้นการกระทำของพระมหากษัตริย์จึงอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสถาบันการเมืองสามฝ่ายที่ใช้อำนาจอธิปไตย พระมหากษัตริย์จึงมีสถานะเป็นกลางทางการเมือง และอยู่ในสถานะเป็นที่เคารพของปวงชนทั้งหลาย จึงเป็นเหตุผลอันหนักแน่นที่รัฐธรรมนูญจะต้องคุ้มครองให้พระมหากษัตริย์ไม่อาจถูกฟ้องร้องในทางใดๆ ได้ ไม่ใช่แค่เพียงไม่สามารถฟ้องร้องในคดีอาชญา

[ธรรมนูญฉบับชั่วคราวของ ปรีดี พนมยงค์]

มาตรา 7 ได้บัญญัติให้ “การกระทำใดๆ” ของพระมหากษัตริย์ต้องมีการลงนามโดยความยินยอมของ “คณะกรรมการราษฎร” มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ ซึ่งการบัญญัติถ้อยคำกว้างๆ ว่า “การกระทำใดๆ” ทำให้นิติกรรมทุกชนิดของพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะในทางส่วนตัว หรือส่วนที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ การบัญญัติเช่นนี้จึงเป็นการ “ละเมิดสิทธิมนุษยชน” เพราะบุคคลธรรมดาที่บรรลุนิติภาวะ ต่างได้การรับรองสิทธิในการทำนิติกรรมได้อย่างเสรีตามกฎหมาย ดังนั้น ในเมื่อพระมหากษัตริย์ก็เป็นบุคคลธรรมดาในทางกฎหมาย ก็ย่อมมีสิทธิขั้นพื้นฐานทางกฎหมาย ในการทำนิติกรรมที่ “ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน” เหมือนกับบุคคลทั่วๆ ไป โดยไม่จำเป็นต้องขอคำยินยอมจากคนอื่น

[รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475]

รัฐธรรมนูญฉบับถาวร ได้บัญญัติให้การกระทำทางการเมืองของพระมหากษัตริย์จะต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เพราะว่าการใช้พระราชอำนาจส่วนพระองค์ซึ่งไม่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการบริหารประเทศ

[ธรรมนูญฉบับชั่วคราวของ ปรีดี พนมยงค์]

มาตรา 10 ได้บัญญัติให้มีสมาชิกผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ซึ่งมาจากการ “แต่งตั้ง” โดยรัฐบาลคณะราษฎร โดยกำหนดระยะเวลาไว้มากถึง 10 ปี

[รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475]

ธรรมนูการปกครองชั่วคราวฉบับนายปรีดีฯ ในมาตรา 10 สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติอันเป็นปรปักษ์ต่อประชาธิปไตย เพราะมองว่าประชาชนไม่มีความพร้อมที่จะใช้สิทธิในระบอบประชาธิปไตยด้วยตัวเองได้โดยตรง คณะราษฎรจึงเห็นว่าคณะของพวกตนจำเป็นต้องผูกขาดอำนาจประชาธิปไตยเอาไว้แต่พวกเดียวก่อน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ได้มีการปรับปรุงให้ยังยอมรับสมาชิกผู้แทนราษฎรที่มาจากการแต่งตั้งได้ก็จริง แต่ก็เพราะเป็นประเด็นข้อเรียกร้องจากฝ่ายคณะราษฎร ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงได้บัญญัติให้ ในหลวง ร.7 ทรงเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อที่จะได้มีการเลือกสรรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงเข้ามาทำหน้าที่ในสภา แต่ทว่าในทางปฏิบัติแล้วกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะรัฐบาลที่คณะราษฎรชักใยอยู่เบื้องหลัง ได้ทูลเกล้าฯ เสนอชื่อคนของตัวเอง เพื่อให้ทรงแต่งตั้ง โดยไม่เปิดโอกาสให้ทรงเลือกบุคคลอื่น

[ธรรมนูญฉบับชั่วคราวของ ปรีดี พนมยงค์]

มาตรา 34 ได้ให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎร สามารถแต่งตั้งกรรมการราษฎรทดแทนได้ในกรณีที่กรรมการราษฎรขาดคุณสมบัติ หรือพ้นจากตำแหน่งเพราะถึงแก่ความตาย ทั้งๆ ที่มาตรา 33 ให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งประธานกรรมการราษฎรได้เพียงคนเดียว ส่วนอำนาจการแต่งตั้งกรรมการราษฎรนั้น จะเป็นอำนาจของประธานกรรมการราษฎรอีกที เรียกได้ว่าเป็นการวางบทบัญญัติแบบมั่วมาก

[รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475]

รัฐธรรมนูญฉบับถาวร ได้ตัดโครงสร้างของคณะ Politburo อันเป็นที่นิยมกันในหมู่ประเทศเผด็จการกรรมาชีพ ซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยออกไป โดยให้สิทธิการบริหารประเทศแก่คณะรัฐมนตรีทำหน้าที่ฝ่ายบริหารอย่างเป็นเอกเทศ และให้เอกสิทธิ์แก่นายกรัฐมนตรีในการตั้งคณะรัฐมนตรีให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย

อ้างอิง :

[1] พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
[2] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า