ระบอบพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ “ปฏิรูป” หรือ “ล้มล้าง”

โควิดยังไม่ทันซา กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยร่ำ ๆ จะออกมาลงถนนกันอีกแล้ว จุดประสงค์เพื่อกดดันให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และองคาพยพ ลาออก ซึ่งแน่นอนว่า 3 ข้อเรียกร้องหลักยังคงอยู่และไม่มีการลดระดับ หนึ่งในนั้นคือ ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย

ด้วยความมั่นใจ (หรือได้ใจ) ว่าผ่านมาแค่ขวบปี กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยก็สามารถสั่นคลอนสถาบันกษัตริย์ และสร้างแรงกระเพื่อมได้ขนาดนี้ จึงน่าจับตาดูว่าครั้งนี้มวลชนจะออกมาร่วมด้วยมากน้อยแค่ไหน

แต่ว่ากันตามจริงแล้ว หากมองย้อนกลับไปในอดีต แรงกระเพื่อมต่อสถาบันในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย ดังเช่นกรณีการยื่นฟ้องในหลวงรัชกาลที่ 7 โดย นายถวัติ ฤทธิเดช (16 กันยายน พ.ศ. 2476) นั้นสร้างแรงสะเทือนไหวในระดับที่กลายเป็นคดีประวัติศาสตร์เลยทีเดียว

กลับมาที่การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ข้อกล่าวหาที่บิดเบือน

มีผู้ยุยงปลุกปั่นจนเชื่อกันฝังหัวว่าพระมหากษัตริย์ไทยอยู่ ‘เหนือ’ รัฐธรรมนูญ ‘เหนือ’ กฎหมาย และไม่มีความเป็นสากลเหมือนนานาประเทศที่ยังมีสถาบันกษัตริย์ เช่น สหราชอาณาจักร หรือ ญี่ปุ่น ตลอดจนการบัญญัติคำว่า ‘ตาม’ รัฐธรรมนูญ นั้นมีนัยแฝงทางการเมือง

เป็นที่มาของการยกระดับ ทั้งข้อเรียกร้องและความเข้มข้นของการชุมนุม ดังที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยบนท้องถนนตะโกนและขีดเขียนกันให้เป็นที่สนุกปากสนุกมือว่า พวกเขา ‘สั่ง’ กษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

ระบอบพระมหากษัตริย์ตาม (ใต้) รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) เป็นรูปแบบหนึ่งของการปกครองที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นพระพระมุขของชาติ แต่ก็ทรงอยู่ ‘ภายใต้’ บทบัญญัติหรือ ‘ข้อจำกัด’ ของรัฐธรรมนูญอีกทีหนึ่ง การปกครองเช่นนี้ คือ รูปแบบเดียวกับระบอบราชาธิปไตยอำนาจจำกัด (Limited Monarchy) เพียงแต่ในปัจจุบันนิยมใช้เรียกตามคำแรกมากกว่า

ทั้งนี้ มักเกิดปัญหาถกเถียงกันว่า Constitutional Monarchy ควรแปลว่า ระบอบพระมหากษัตริย์ ‘ตาม’ รัฐธรรมนูญ หรือ ‘ใต้’ รัฐธรรมนูญ ?

คำตอบคือ ระบอบพระมหากษัตริย์ ‘ตาม’ รัฐธรรมนูญ

เนื่องจากเป็นการแปลตรงตัวตามคำในภาษาอังกฤษที่นิยามชัดเจนที่สุด ซึ่งได้ให้ความหมายของคำว่า Constitutional (คำคุณศัพท์) ว่า “ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หรือ เห็นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ”

ทั้งนี้ คำว่า ระบอบพระมหากษัตริย์ ‘ตาม’ รัฐธรรมนูญ ปรากฏขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้คำว่า “พระเจ้าแผ่นดินปกครองตามพระธรรมนูญ” ในความหมายตรงตัวกับ Constitutional Monarchy

ดังนั้น ไม่ว่าจะ ‘ตาม’ หรือ ‘ใต้’ รัฐธรรมนูญ ก็ย่อมมีความหมายเดียวกัน ไม่ว่าจะมองในแง่ไหน อำนาจของพระมหากษัตริย์ก็ “ทรงถูกจำกัดให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ” อยู่แล้ว

“ระบอบพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ” ยังได้ถูกบัญญัติว่าเป็น “คำทางการ” ในภาษาไทยไปแล้ว ดังเช่นที่ปรากฏใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 37 ง 8 กุมภาพันธ์ 2562 หน้าที่ 1 เรื่อง “ประกาศสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

ในแง่ของข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 พระมหากษัตริย์มิได้ทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยตนเองเหมือนในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

หากแต่การบริหารราชการแผ่นดินทำโดยรัฐบาล สภานิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากพระมหากษัตริย์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ไม่ว่าจะรัฐบาลจากการเลือกตั้ง จากการรัฐประหาร รัฐบาลจากฝ่ายไหน ใครจะทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างไร สถาบันพระมหากษัตริย์ก็มิได้เข้ามาก้าวก่ายนโยบายสาธารณะของแต่ละรัฐบาลแต่ประการใด

สรุปได้ว่า พระมหากษัตริย์ของไทยทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และมีขอบเขตพระราชอำนาจที่ถูกจำกัดให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ดังเช่นนานาประเทศที่ยังมีสถาบันกษัตริย์ โดยมิได้มีนัยแอบแฝง แล้วเหตุใดกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย ยังต้องเรียกร้องในสิ่งที่เป็นไปตามครรลอง และถูกต้องตามบทบัญญัติอยู่แล้ว

นับเป็นการเรียกร้องที่ไม่สมเหตุสมผล และเกือบจะถึงขั้นเอาสนุกเข้าว่า

หลายคนจึงตั้งคำถามว่า สิ่งที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย กำลังเรียกร้องให้เกิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แท้จริงคือการ ‘ปฏิรูป’ หรือ ‘ล้มล้าง’ กันแน่ ?

ถ้าเราหวังถึงการเปลี่ยนแปลง แน่นอนว่าวันหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงจะเข้ามาสู่ช่วงชีวิตของเรา เพราะการเปลี่ยนแปลงคือความจริงแท้
และต้องยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่ได้นำไปสู่สิ่งที่เรา ’ต้องการ’
หากแต่เป็นการเปลี่ยนแปลง เพื่อก้าวไปสู่สิ่งที่ ‘เหมาะสม’

ไม่ว่าเราจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม…

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า