ย้อนรอยประวัติศาสตร์โรคระบาด และความสำเร็จในการกวาดล้าง ‘ฝีดาษ’ ของไทย

ไข้ทรพิษ” หรือ “ฝีดาษ” เป็นโรคติดต่อที่มีมาตั้งแต่โบราณ พบการระบาดครั้งแรกในโลกเมื่อปี พ.ศ. 2301 ซึ่งในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นถิ่น เช่น “ไข้น้ำ” หรือ “ตุ่มสุก” จากอาการของโรคที่จะมีไข้และตุ่มหนองขึ้นตามร่างกาย

โรคฝีดาษ มีปรากฏบันทึกมาตั้งแต่สมัยอยุธยาว่าเป็นโรคระบาดที่ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากภายในระยะเวลาไม่นาน จนทำให้เกิดการเรียกโรคแบบนี้ว่า “ห่าลง” โดยในสมัยอยุธยาได้ปรากฏหลักฐานการระบาดของโรคฝีดาษหลายครั้ง ซึ่งแม้แต่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ก็ประชวร หรือสวรรคตด้วยโรคนี้ เช่น สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ที่ทรงประชวรด้วยโรคฝีดาษจนสวรรคต หรือ สมเด็จพระนเรศวร ก็เคยทรงประชวรด้วยโรคนี้ เมื่อครั้งที่พระองค์ยกกองทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดีตีลานช้าง ในปี พ.ศ. 2117 และการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นในสมัยของสมเด็จพระเพทราชา ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 80,000 คน

ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้เกิดการระบาดอย่างหนักของโรคฝีดาษในสมัยรัชกาลที่ 3 และมีการพยายามทดลอง “ปลูกฝี” ป้องกันโรคนี้ให้กับคนไทยโดยหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกันที่เดินทางเข้ามายังสยาม โดยได้รับการสนับสนุนจากในหลวงรัชกาลที่ 3 และบุคคลท่านอื่นๆ จนประสบความสำเร็จในการปลูกฝีด้วยเชื้อหนองฝีที่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา

กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เริ่มมีการปลูกฝีให้แก่ราษฎรทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างๆ โดยหมอและมิชชันนารีจำนวนหนึ่ง

เมื่อล่วงเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 5 แม้ว่าการปลูกฝีด้วยเชื้อหนองฝีนำเข้าจะได้ผลดีในด้านการรักษา แต่ด้วยระยะเวลาการขนส่งที่ยาวนานทำให้เกิดปัญหาหนองฝีเสื่อมสภาพ พระองค์จึงส่งแพทย์และบุคลากรของไทยไปศึกษาดูงานยังต่างประเทศ นั่นคือ พระบำบัดสรรพโรค หรือนายแพทย์แฮนซ์ อดัมเซ็น (Hans Adamsen) และหลวงวิฆเนศน์ประสิทธิวิทย์ (อัทย์ หสิตะเวช) โดยนายแพทย์ทั้งสองได้นำความรู้กลับมาพัฒนาการสร้างหนองฝีขึ้นใช้เองในประเทศไทย กระทั่งประสบความสำเร็จ จนต่อมารัฐบาลได้จัดตั้ง Government Serum Laboratory สำหรับผลิตพันธุ์หนองฝีขึ้น เพื่อใช้ปลูกป้องกันโรคฝีดาษภายในประเทศ โดยได้มอบหมายให้เทศาภิบาลขยายการปลูกฝีให้แก่ราษฎรตามหัวเมืองต่างๆ อย่างทั่วถึง

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถานดำเนินการเกี่ยวกับวัคซีนโรคกลัวน้ำ หรือโรคพิษสุนัขบ้า ขึ้นเป็นครั้งแรกนั่นคือ “ปาสตุระสภา” เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2456 โดยมีสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นผู้ให้การอนุเคราะห์สนับสนุน และต่อมาได้มีการย้ายสถานผลิตวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ และวัคซีนประเภทอื่นๆ มาไว้รวมกันที่ปาสตุระสภาแห่งนี้ โดยดำเนินการอยู่ในสังกัดของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมี ดร.เลโอโปลด์ โรแบรต์ ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้อำนวยการ อีกทั้งยังได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากสถานปาสเตอร์แห่งประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย

ในปีเดียวกันนั้นเอง กระทรวงมหาดไทยได้ออกตราพระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ โดยมีข้อกำหนดว่าราษฎรมณฑลใดได้รับการปลูกฝีมีจำนวนเกินกว่าครึ่งของจำนวนสำมะโนครัวแล้ว จะได้รับการตราพระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษให้กับมณฑลนั้นๆ ซึ่งเป็นการชักจูงให้ประชาชนสมัครใจเข้ามาปลูกฝีและเห็นผลของการปลูกฝีอีกด้วย

ต่อมา “ปาสตุระสภา” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานปาสเตอร์” ในปี พ.ศ. 2460 ก่อนโอนมาเป็นของสภากาชาดไทย และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากในหลวงรัชกาลที่ 6 พระราชทานนามว่า “สถานเสาวภา” ตามพระนามของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งมีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าเสวภาผ่องศรี”

สำหรับการระบาดครั้งสุดท้ายของโรคฝีดาษในประเทศไทย มีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษในประเทศด้วยการรณรงค์ปลูกฝีป้องกัน จนกระทั่งไม่พบผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทยอีกเลย

และในปี พ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าโรคฝีดาษได้ถูกกวาดล้างจนหมดแล้ว ซึ่งเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ จากวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพ นั่นคือการปลูกฝีที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ และได้รับการยอมรับไปทั่วโลก นำไปสู่การปลูกฝีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประชากรให้มากที่สุด จนกระทั่งไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษได้หมดสิ้นไปจากสังคมโลกในที่สุด

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า