ย้อนมอง ‘กบฏ’ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 อดีตที่ไม่อาจตัดสินได้ด้วยมโนทัศน์ยุคปัจจุบัน

เหตุการณ์เก่า ๆ ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย เริ่มถูกหยิบขึ้นมาถกเถียงกันมากขึ้น โดยเฉพาะเหตุการณ์ก่อกบฏในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเรื่องดี ที่สังคมไทยเริ่มมีการหยิบยกเหตุการณ์ขึ้นมาวิเคราะห์กันใหม่อีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ที่ดี ต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ตามบริบทของสังคม แนวคิด และเหตุปัจจัยของยุคสมัยนั้น ๆ และหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนคติของคนในยุคปัจจุบันเข้ามาตัดสินเหตุการณ์ในอดีต

เพราะนั่นจะนำไปสู่การวิเคราะห์ที่ผิดพลาดและบิดเบือน

คนทุกคน เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ ต่างก็มีแนวคิด หลักการและเหตุผล และเงื่อนไขปัจจัยของตนเองทั้งสิ้น

คุณค่าที่แท้จริงของวิชาประวัติศาสตร์ ไม่ได้อยู่ที่การตัดสินความถูกผิดของบุคคลแต่ละคนบนหน้าประวัติศาสตร์ แต่คือการเรียนรู้เงื่อนไขปัจจัยที่ทำให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำของโศกนาฏกรรมที่จะนำมาซึ่งความสูญเสียของมนุษยชาติต่างหาก

ในมุมมองด้านการเมือง การก่อกบฏ คือการต่อสู้ทางการเมืองลักษณะหนึ่ง ซึ่งในมุมมองของรัฐและผู้ปกครองยุคเก่า การต่อต้านขัดขืนอำนาจรัฐ ถือว่าเป็นการก่อกบฏทั้งสิ้น

ในขณะที่มุมมองของยุคสมัยใหม่ มีการแบ่งแยกรูปแบบการต่อต้านอำนาจรัฐในหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านด้วยการใช้กองกำลังและความรุนแรง อย่างการก่อรัฐประหาร, การก่อการร้าย หรือการก่อวินาศกรรม หรือการประท้วงอย่างสันติ หรือการก่อการจลาจลโดยประชาชน

ซึ่งการตัดสินลงโทษ ตามกระบวนทัศน์ในยุคสมัยใหม่นั้น มีโทษลดหลั่นกันไปตามระดับความรุนแรง และเจตนาในการล้มล้างระบอบการปกครอง

ในขณะที่ในอดีตนั้น การพูดจาท้าทายหรือลบหลู่อำนาจรัฐ ถูกมองว่าเป็นอาชญากรรม และโทษของการก่อการขัดขืนนั้น อาจถึงขั้นประหารชีวิต

คริสต์ศตวรรษที่ 20 ถือเป็นศตวรรษที่แนวคิดเสรีนิยมเริ่มเบ่งบาน และถูกเรียกขานในแง่ร้ายว่า “ศตวรรษแห่งการก่อกบฏ” เนื่องจากเป็นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนถ่ายจากยุค ”อำนาจนิยม” ไปสู่ยุคสมัยแห่ง “เสรีนิยม”

เงื่อนไข และปัจจัยที่ทำให้เสรีนิยมสามารถเจริญเติบโตและเบ่งบานได้นั้น เป็นผลกระทบจาก “ปฏิวัติอุตสาหกรรม”

การปฏิวัติอุตสาหกรรม ในชาติตะวันตก ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรม ที่เคยอยู่ในความควบคุมดูแลของเหล่าขุนนางศักดินา มาสู่ภาคอุตสาหกรรมในความควบคุมดูแลของเหล่านายทุน

การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคม ในด้านหนึ่ง ช่วยสร้างเสริมขีดความสามารถของรัฐบาลกลาง ให้มีความสามารถในการควบคุมท้องถิ่นได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ความสามารถในการควบคุมประเทศอาณานิคมมีสูงขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของการล่าอาณานิคม และแนวคิดจักรวรรดินิยม

แต่ในทางกลับกัน มันทำให้แนวคิดเสรีนิยมเบ่งบานและแพร่กระจายออกไปได้กว้างไกลขึ้นด้วยเช่นกัน

การต่อสู้ระหว่างกระบวนทัศน์โลกยุคเก่า และแนวคิดโลกยุคใหม่ ทำให้เกิดการต่อสู้ประหัตประหารกันในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะช่วงต้นศตวรรษที่แนวคิดเสรีนิยม และสิทธิมนุษยชนเพิ่งจะเกิดเริ่มต้น ความเมตตาเอื้ออาทรในหมู่เพื่อนมนุษย์ ถูกจำกัดเอาไว้เพียงสำหรับชาวยุโรปด้วยกันเท่านั้น

การสังหารฝ่ายกบฏ ที่บางครั้งเรียกได้ว่าการ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” จึงอุบัติขึ้นเป็นเรื่องปกติ ตามเงื่อนไขและปัจจัยแห่งยุคสมัยตามที่ได้กล่าวไป

กบฏผีบุญ หนึ่งในเหตุการณ์ก่อกบฏในไทย ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย ใน ค.ศ. 1901 ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถูกวาดระบายให้ดูโหดเหี้ยมอำมหิตในสายตาของคนยุคหลัง จากการมีตัวเลขผู้เสียชีวิตมากถึง 300 คน

ซึ่ง ฤา มีบทความอธิบายไปแล้วถึงเหตุการณ์ดังกล่าว อีกทั้งตามข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ กบฏผีบุญ จัดได้ว่าเป็นผู้รุกรานชาวลาว จากมุมมองของยุคสมัยใหม่

แต่ในสมัยนั้น ที่การแบ่งเขตแดนยังไม่ชัดเจน และระบบสำมะโนครัวเพิ่งจะเริ่มทำ ทางการสยามจึงไม่สามารถระบุตัวตนที่ชัดเจนของกลุ่มคนกลุ่มนี้ได้ และมองคนกลุ่มนี้ว่าเป็นโจรกบฏ ที่เผาเมือง ปล้นฆ่าราษฎร์ไทยนั่นเอง

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เอง ที่ทำให้รัฐบาลสยามในสมัยนั้น เห็นว่ากลุ่มกบฏกลุ่มนี้สมควรตาย

เราจะยังไม่ตัดสินว่าการสังหารกบฏผีบุญโดยทางการสยามนี้ โหดร้ายหรือไม่ แต่อยากให้หันมามองเหตุการณ์ก่อกบฏที่เกิดขึ้นในโลกที่น่าสนใจนับตั้งแต่ ค.ศ. 1901 เป็นต้นมาดังนี้

ค.ศ. 1904 เกิดเหตุการณ์กบฏขึ้นในอาณานิคมแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ของจักรวรรดิเยอรมัน โดยชนเผ่าพื้นเมืองก่อการกบฏ ฆ่าชาวเยอรมันไป 60 คนทำให้ทางการเยอรมนีส่งทหารเข้าปราบปราม ซึ่งในช่วงเวลา 4 ปี มีชาวพื้นเมืองถูกสังหารไปราว ๆ 34,000 ถึง 110,000 คน

ค.ศ. 1906 ชาวซูลูในแอฟริกาใต้ก่อกบฏต่อเจ้าอาณานิคมอังกฤษจากการถูกขูดรีดภาษี และถูกอังกฤษเข้าปราบปราม ชาวซูลูถูกประหาร 3 – 4 พันคน, ถูกจำคุก 7 พัน และถูกเฆี่ยน 4 พันคน

ค.ศ. 1907 เกิดเหตุการณ์กบฏชาวนาในโรมาเนีย จากความไม่พอใจในความเหลื่อมล้ำด้านที่ดินทำกิน ทำให้รัฐบาลส่งกองทัพเข้าปราบปราม ถึงแม้ว่าตัวเลขอย่างเป็นทางการจะระบุว่ามีชาวนาถูกสังหารเพียง 419 คน แต่ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการประเมินว่ามีชาวนาเสียชีวิตนับ 10,000 คน

ค.ศ. 1911 เกิดกบฏติมอร์ตะวันออก โดยชาวติมอร์ไม่พอใจต่อการรีดภาษีและการเกณฑ์แรงงานของเจ้าอาณานิคมโปรตุเกส จึงลุกฮือขึ้นสู้ และถูกปราบปราม มีชาวติมอร์เสียชีวิต 3,424 คน และบาดเจ็บ 12,567 คน

ค.ศ. 1913 สหพันธ์แรงงานเหมืองแร่แห่งอเมริกา ลุกขึ้นประท้วงด้วยความไม่พอใจต่อสุขอนามัยในการทำงานที่แย่ของชาวเหมืองถ่านหินในโคโลราโด, สหรัฐอเมริกา และการประท้วงลุกลามบานปลายจนกลายเป็น “สงครามแห่งเหมืองโคโรลาโด”

มีการส่งกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ (National Guard) เข้าปราบปราม และกินเวลายาวนานถึง 2 ปี

ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1914 มีกองกำลังติดอาวุธ สวมเครื่องแบบของกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ โจมตีค่ายคนงานในเมืองลุดโลว์ รัฐโคโลราโด ด้วยปืนกล และระเบิดไดนาไมต์

ถึงแม้จำนวนผู้เสียชีวิตจะมีเพียง 20 คน แต่ 12 ชีวิตที่เสียไปนั้น ยังเป็นเพียงเด็ก ซึ่งในนั้น อายุมากที่สุดเพียง 11 ปี ส่วนน้อยที่สุดนั้นเพียง 3 เดือน

สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิตจากการประท้วงนั้น ทางการอเมริกันในเวลานั้น ไม่ใส่ใจที่จะนับจำนวนและจดบันทึก

ทั้งหมดนี้ คือตัวอย่างของเหตุการณ์ก่อการขัดขืนต่อต้านอำนาจของรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจในช่วงเวลา 20 ปี นับจากเหตุการณ์ปราบกบฏผู้มีบุญ

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตฝ่ายผู้ก่อการนั้น หลายเหตุการณ์มีจำนวนมากกว่าของไทยมาก และความจริงแล้ว ตัวเลขเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ก่อการ ซึ่งอาจมีหลักสิบหรือหลักแสนคน

แต่ถึงกระนั้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ แนวคิด “อำนาจนิยม” และความ “อำมหิต” ที่ไร้มนุษยธรรมของผู้มีอำนาจในยุคสมัยนั้น ซึ่งมักเลือกวิธีการใช้กำลังเข้าปราบปราม

แม้กระทั่ง อเมริกา ซึ่งในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 กลายเป็นผู้นำลัทธิเสรีนิยม และมักอ้างหลักสิทธิมนุษยชนในเวทีโลกอยู่เสมอในปัจจุบัน

แต่ในอดีต ผู้มีอำนาจของอเมริกาก็พร้อมจะใช้กำลังและอำนาจเข้าปราบปราม เข่นฆ่าแม้กระทั่งเด็กและผู้หญิงไร้ทางสู้

สิ่งที่เหมือนตลกร้ายคือ ค.ศ. 1913 ซึ่งเป็นปีที่เกิด “สงครามแห่งเหมืองโคโรลาโด” นั้น ในไทย ตรงกับรัชกาลที่ 6 ซึ่งเกิดเหตุการณ์ “กบฏ ร.ศ. 130” ซึ่งบรรดาผู้ก่อการทั้ง 23 คน ต่างหมายจะปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ถูกจับได้เสียก่อนนั้น

ทั้งหมด ถูกไต่สวนในชั้นศาล ตามกระบวนการยุติธรรมสมัยใหม่ ซึ่งศาลตัดสินให้ประหารชีวิต 3 คน และอีก 20 ที่เหลือ ถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต

ทว่า ในหลวงรัชกาลที่ 6 ทรงคัดค้านด้วยพระมหากรุณาธิคุณ และมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ความผิดของพวกเขาเหล่านี้มี “ข้อสำคัญที่จะกระทำร้ายต่อตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทอาฆาตมาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้”

จึงไม่มีใครถูกตัดสินประชีวิตเลยแม้แต่คนเดียว

ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินั้น ผ่านกระบวนการพัฒนาเป็นลำดับขั้น ยกระดับสังคมของมนุษย์ จากความคิดที่ใกล้เคียงสัตว์เดรัจฉาน ให้ขึ้นมาเป็นสังคมที่มีความเป็นอารยะ ที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ เสมอภาคและยุติธรรมได้นั้น

ล้วนใช้เวลาในการเพาะบ่ม พัฒนาทีละขั้น ๆ อย่างเป็นระบบตลอดเวลา

พวกเราที่เวลานี้ อยู่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 อยู่ในโลกที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมาจากความพากเพียรพยายามของบรรพบุรุษในอดีตทั้งสิ้น

มันเป็นการไม่ยุติธรรมต่อบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะของเรา หรือของชนชาติอื่น ที่จะถูกพิพากษาตัดสิน โดยอาศัยมโนทัศน์ของคนยุคปัจจุบัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับกาลเวลาในสมัยนั้นเลย

สิ่งที่พวกเราพึงพิจารณาคือ เงื่อนไข และปัจจัยที่ทำให้บรรพบุรุษของเราผิดพลาด เพื่อป้องกันไม่ให้พวกเราและอนุชนรุ่นหลังนั้น ทำผิดพลาดซ้ำอีกต่างหาก

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า