ม.จ. สิทธิพร กฤดากร นักประชาธิปไตย ผู้ถูกกล่าวหาว่าพยายามรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ม.จ. สิทธิพร กฤดากร ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมสุภาพ ประสูติเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2426 ทรงศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงอุดมศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ที่ Harrow School และ City and Guild’s Technical College, University of London ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล ต่อมาในปี พ.ศ. 2444 หลังจากเสด็จกลับมายังประเทศไทยแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นเลขานุการของที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ

ม.จ. สิทธิพร คือหนึ่งในเจ้านายที่ ณัฐพล ใจจริง เขียนโจมตีในหนังสือ “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ” ว่า เป็นพวกอนุรักษ์นิยมหรือพวกนิยมเจ้า แปลความอีกอย่างคือเป็นพวกที่พยายามลบล้างคุณความดีของคณะราษฎร์ และมุ่งหมายที่จะถวายพระราชอำนาจคืนแก่ในหลวง ร.7

ซึ่งเป็นการกล่าวหาที่ปราศจากข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

หากไม่พิจารณาในตัว ม.จ. สิทธิพร กฤดากร ให้ถ้วนถี่รอบคอบ ก็คงง่ายที่จะทึกทักไปว่าพระองค์คงเป็นพวกอนุรักษ์นิยมหรือพวกนิยมเจ้า แบบที่ณัฐพล ใจจริง มโนขึ้นมา เพราะนอกจากภูมิหลังของพระองค์แล้ว ม.จ. สิทธิพร กฤดากร ยังมีศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร อดีตทูตไทย ณ กรุงปารีส ในช่วงสมัยที่ปรีดี พนมยงค์ เคยก่อความวุ่นวายกับสถานทูตไทยจนทางราชการเกือบจะส่งตัวกลับไม่ให้ศึกษาต่อ แต่บิดาของปรีดีได้ขอร้องในหลวง ร.7 ไว้ และต่อมาทรงมีพระเมตตาให้เรียนจนจบและกลับมารับราชการในไทยจนปรีดีฯ ได้พระราชทินนามเป็น “หลวงประดิษฐ์มนูธรรม”

นอกจากนั้น ม.จ. สิทธิพร ยังเป็นพระอนุชาของพระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม และผู้นำการกบฏในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งการกบฏครั้งนั้นตัว ม.จ. สิทธิพร เองก็พลอยโดนข้อหาให้การสนับสนุนการกบฏไปด้วย

ในตอนแรก “ศาลรับใช้การเมืองของคณะราษฎร” ได้ตัดสินโทษพระองค์ด้วยการจำคุกตลอดชีวิต ณ เรือนจำบางขวาง แต่ต่อมา รัฐบาลคณะราษฎรได้กลั่นแกล้งนักโทษการเมืองเหล่านี้ โดยการสั่งย้ายที่คุมขังไปยัง เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล และเกาะเต่าในเวลาต่อมา รวมเวลาที่ ม.จ. สิทธิพร ต้องสูญสิ้นอิสรภาพอยู่ในคุกนรกยาวนานถึง 11 ปี จนกระทั่งได้รับพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. 2487 ในสมัย ควง อภัยวง เป็นนายกรัฐมนตรีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

อย่างไรก็ดี การที่มีนักวิชาการอคติบางกลุ่มโจมตีว่าพระองค์เป็นพวกกบฏบวรเดช โดยเฉพาะบางคนถึงกับกล่าวหาว่า พระองค์เป็นพวกนิยมเจ้าที่ต้องการรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลับขึ้นมาใหม่ ซึ่งข้อกล่าวหาเหล่านี้ นอกจากจะไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์แล้ว ยังเป็นการตีความอย่างอคติโดยไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นวิชาการเลย และยังขัดแย้งกับหลักฐานที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดทางการเมืองของ ม.จ. สิทธิพร ซึ่งแม้จะเป็นเจ้า แต่กลับท้าทายแนวคิดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์เสียเอง

จึงนับได้ว่า ม.จ. สิทธิพร กฤดากร ทรงเป็นพวกเสรีนิยมมากกว่าจะเป็นอนุรักษ์นิยม

อีกทั้งยังทรงมีแนวคิดแตกต่างกับเจ้านายในสมัยนั้นด้วย เป็นต้นว่า ทรงกราบบังคมทูลลาออกจากราชการเพื่อไปทำไร่ที่ฟาร์มบางเบิด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่สวนทางกับแนวคิดของเจ้านายในสมัยนั้นที่ว่า “เกิดเป็นเจ้าแล้วต้องทำราชการช่วยบ้านเมือง”

อย่างไรก็ดี แม้จะทรงลาออกจากราชการไปแล้ว แต่ด้วยความสามารถ รัฐบาลของในหลวง ร.7 ก็ทรงให้พระองค์มาช่วยงานราชการอยู่บ้าง อาทิ สมาชิกสภากรรมการองคมตรี (ทรงดำรงวาระตั้งแต่ พ.ศ. 2470 – 2473)

ในฐานะสมาชิกสภากรรมการองคมนตรีนี้เอง ม.จ. สิทธิพร ได้แสดงให้สมาชิกสภา (ซึ่งส่วนมากเป็นเจ้า) ประจักษ์ถึงแนวคิดเสรีนิยมของพระองค์ ดังปรากฏข้อความในจดหมายของ ม.จ. สิทธิพร ลงวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ที่เสนอต่อรัฐบาลว่า …

“… ถ้าจะคิดไปถึงรากและต้นเหตุของ Democracy ก็เกิดจากการหน่วงอำนาจของพระมหากษัตริย์นั่นเอง จนถึงเลิกพระมหากษัตริย์ก็มี ในประเทศสยามไม่ต้องสงสัยว่า Monarchy เป็นวิธีการปกครองที่เหมาะสมกับราษฎร์ ทั้งเป็นที่นิยมด้วย และยังจำต้องเป็น Absolute Monarchy ไปอีกนาน แต่ถ้ามีหนทางกันข้ออันตรายต่อแผ่นดินซึ่งอาจจะมีขึ้นในภายหน้า โดยไม่เปลี่ยนวิธีการปกครอง (Constitution) ถึงแม้จะเป็นหนทางหรือช่องทางอย่างแคบ ก็ยังดีกว่าไม่มีเสียเลย และอาจจะนับได้ว่าเป็นการก้าวหน้าไปหาความมุ่งหมาย คือ Democracy แม้แต่เป็นก้าวอันสั้น …”

ซึ่งข้อเสนอของ ม.จ. สิทธิพร ข้างต้นนี้ ในหลวง ร.7 ทรงมีพระราชดำริต่อมาว่า “สำคัญมาก

ในการประชุมครั้งต่อมาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ที่ประชุมจึงได้มีมติอนุมัติให้เป็นไปตามข้อเสนอของ ม.จ. สิทธิพร ด้วยการปรับลดให้สมาชิกสภากรรมการองคมนตรีเข้าชื่อกัน 5 คน ก็สามารถเปิดสภา เพื่อถกเถียงปรึกษาหารืองานราชการได้โดยไม่ต้องมีพระมหากษัตริย์เป็นประธาน นอกจากข้อเสนอนี้แล้ว ม.จ. สิทธิพร ยังเสนอให้การประชุมสภากรรมการองคมนตรี สามารถเปิดเสรีให้สื่อมวลชน (press) และประชาชน รับทราบเรื่องราวหรือสาระของที่ประชุมได้ด้วย

หลักฐานข้อเท็จจริงเหล่านี้จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่า ม.จ. สิทธิพร กฤดากร ทรงเป็นเสรีนิยมท่ามกลางเจ้านายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และมีแนวคิดซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากข้อเสนอต่อที่ประชุมสภากรรมการองคมนตรี และแนวคิดดังกล่าวก็ยังสอดคล้องกับในหลวง ร.7 ที่ทรงให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตยอีกด้วย

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่ขัดแย้งกับข้อกล่าวหาในลักษณะ “มโน” เอาเองของ ณัฐพล ใจจริง โดยสิ้นเชิง

อ้างอิง :

[1] ปฐมาวดี วิเชียรนิตย์, เลือดสีน้ำเงิน : ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ. (กรุงเทพฯ : 2561). สำนักพิมพ์มติชน.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า