‘พอเพียง’ ไม่ใช่การกดคนให้จน คำยืนยันจากความสำเร็จของภาคเอกชน บนแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีเชิงเศรษฐศาสตร์ที่เราทุกคนต่างรู้จักกันดีว่าเป็นทฤษฎีที่พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ในช่วงภาวะวิกฤตในทางเศรษฐกิจเมื่อ พ.ศ.2540 (ถึงแม้เราอาจจะเห็นการก่อรูปของทฤษฎีดังกล่าวมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ พ.ศ. 2510) อันเป็นช่วงที่คนไทยต้องเจ็บปวดมากที่สุดช่วงหนึ่งแห่งยุคสมัยเพื่อเป็นแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นทฤษฎีที่กดให้คนจนต่อไปและไม่เหมาะสมกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบทุนนิยมเพราะไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตได้ ข้อวิจารณ์ดังกล่าวแม้จะน่ารับฟังแต่หากมีความเป็นจริงเพียงใด? เพื่อหาคำตอบดังกล่าวเราจึงจำเป็นต้องมองหาการวิจัยที่มีปฏิบัติการจริงลงไปในภาคเอกชนว่าส่งเสริมการเติบโตได้หรือไม่ ขัดกับการพัฒนาเศรษฐกิจและกดให้คนจนดังคิดที่คิดหรือไม่ ฤาจะพาไปพบกับคำตอบ

จำเป็นต้องเกริ่นนำเสียก่อนว่ารัชกาลที่ 9 นั้นทรงมีอาจารย์เศรษฐศาสตร์ชื่อ Firmin Oulès ซึ่งท่านเคยเป็นหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองที่ University of Lausanne ดังนั้นรัชกาลที่ 9 จะทรงได้รับอิทธิพลมาจากอาจารย์ในระดับหนึ่งทางด้านความคิดในทางเศรษฐศาสตร์

เศรษฐกิจพอเพียงนั้นรัชกาลที่ 9 ทรงเสนอไว้ว่าคือทางสายกลางที่สร้างความพอกินพอใช้ให้กับคนโดยไม่ต้องเดือดร้อน นั่นคือความพอเพียงคือความพอประมาณและความมีเหตุผล อันเป็นหลักการกว้างๆ ง่ายๆ ที่หลายคนฟังแล้วดูไม่มีความหมายอะไร แต่จากการล่มสลายของเศรษฐกิจช่วง พ.ศ. 2540 ก็กระตุ้นเตือนเราได้อย่างดีว่าความพอประมาณและความมีเหตุผลคือสิ่งที่หายไป

เพื่อทำให้เศรษฐกิจพอเพียงนั้นมีความชัดเจนและตอบคำถามว่าหากใช้เศรษฐกิจพอเพียงแล้วธุรกิจจะย่ำอยู่กับที่ไม่สามารถแข่งขันได้ สุขสรรค์ กันตะบุตร อาจารย์สาขาการจัดการทรัพยากร หลักสูตรนานาชาติ วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการวิจัยและทดสอบในบริษัทเอกชน อาจารย์สุขสรรค์พบว่าในหลายๆ ประเทศมีแนวทางในการหาทางเลือกในการดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงเช่นกัน เช่น ในยุโรปปรากฏแบบจำลองทุนนิยมไรน์แลนด์ (Rhineland capitalism model) ด้วยเช่นกัน สำหรับเศรษฐกิจพอเพียงอาจารย์ได้แปรหลักการให้เป็นแนวทางที่ชัดเจนสำหรับองค์กรธุรกิจและนำไปประเมินกับ 5 บริษัท คือ ปูนซีเมนต์ไทย กสิกรไทย ทรูคอร์เปอเรชั่น ทิปโก้ ฟู้ดส์ และแพนเอเชียฟุตแวร์ พบว่าองค์กรต่างๆ นี้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถฝ่าฟันความลำบากมาได้ [1]

อีกตัวอย่างหนึ่งคือสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรีในอดีตซึ่งเคยมีปัญหา แต่เมื่อมีการปฏิบัติการต่างๆ ที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงจึงได้กลายเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้มีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งและสามารถขยายตลาดเพิ่มได้จนในปัจจุบันมีฐานะที่มั่นคงและมีกำลังการผลิตนมกว่า 2.4 แสนลิตรต่อวัน และยอดขายกว่า 2 พันล้านบาทต่อปีในขณะเดียวกันก็ยังมีธรรมาภิบาลอีกด้วย [1] หรือแม้แต่ในระดับชุมชนภาคเหนือตอนบนเองเศรษฐกิจพอเพียงก็ยังสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงการผลิตในโครงการหัตถกรรมพื้นบ้านและอื่นๆ ก็ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างดี [2] นอกจากนี้เศรษฐกิจพอเพียงยังถูกใช้ขับเคลื่อนพัฒนาพื้นที่ที่แห้งแล้งในแอฟริกาและติมอร์เพื่อสันติภาพโดยกองทัพไทยได้ใช้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้วยการพัฒนาแทนการใช้กําลังและอาวุธโดยมีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้องค์กรพลเรือนด้านการพัฒนาของสหประชาชาติ UNHCR และ Red Crescent Society ได้ชื่นชมบทบาทของกองทัพไทยในการปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพด้านการพัฒนา [2]

ตัวอย่างที่ยกมาอย่างกระชับนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ และไม่ใช่การกดคนจนอย่างที่เข้าใจ ดังพระองค์มีพระราชดำรัสเมื่อ พ.ศ.2544 ว่า

คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป

เศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ได้ไปกดหัวใคร แต่ยังเป็นชูหัวคนให้ขึ้นมาได้อย่างมีมั่นคงเสียด้วยซ้ำ หลักการของพระองค์ไม่ใช่ทั้งซ้ายและขวารเน้นที่การสร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยงและความผันผวนต่างๆ ที่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดจะนำมาเป็นระลอกและสามารถใช้ได้กับคนทุกชนชั้นทุกระดับ [1] อันสอดคล้องกับสถานะของพระองค์ที่เป็นพระมหากษัตริย์ของทุกคนนั่นเอง

อ้างอิง :

[1] โปรดดู สุขสรรค์ กันตะบุตร, การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กรธุรกิจ (ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561).
[2] อภิชัย พันธเสน, สรวิชญ์ เปรมชื่น พิเชษฐ์ เกียรติเดชปัญญา, การประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2546), หน้า 85-100.
[3] อารี วิบูลพงศ์, “ทศวรรษแห่งการพัฒนางานวิจัยเศรษฐกิจชุมชนกับ สกว.” ใน ยั่งยืนจากประโยชน์สุขด้วยเศรษฐกิจพอเพียง (กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวัจย (สกว.), 2560), บทที่ 2.
[4] พงศ์เชษฐ พรหมรักษ์, “การทูตสาธารณะกับกิจการพลเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษายุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของกองทัพไทยในปฏิบัติการรักษาสันติภาพที่ดาร์ฟูร์ภายใต้ UNAMID,” (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563).
[5] ศุภมิตร ปิติพัฒน์, “การทูตสาธารณะของไทย กับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9”

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า