พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ‘รัฐบุรุษคู่แผ่นดิน’ ผู้ตอบแทนบุญคุณประเทศชาติอย่างไม่มีข้อกังขา

หลังจากเกิดความวุ่นวายทางการเมืองอย่างต่อเนื่องภายในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่แม้จะเปิดโอกาสให้ระบอบประชาธิปไตยสามารถเติบโตขึ้นได้ แต่เนื่องด้วยการพัฒนาของสถาบันการเมืองไทยที่ไม่ค่อยพบเจอกับความต้องการของประชาชนสูงเช่นนี้ บวกกับสถานการณ์คอมมิวนิสต์ ทำให้เพียงสามปีหลังจากนั้นได้เกิดเหตุการณ์อันน่าสลดอย่าง 6 ตุลาคม 2519 และเกิดการยึดอำนาจพร้อมทั้งความแตกแยกภายในกลุ่มผู้นำทางการเมืองหลายกลุ่ม

อย่างไรก็ดีความวุ่นวายทั้งทางการเมืองและทางสังคม ก็ถูกคลี่คลายให้เกิดความสงบขึ้นได้และกลายเป็นรากฐานที่ทำให้ประเทศไทยเกิดเสถียรภาพจนนำไปสู่ยุค “โชติช่วงชัชวาล” ส่วนหนึ่งก็ด้วยบทบาทของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

หลังจากมีการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2522 ปรากฏว่าไม่มีพรรคการเมืองพรรคใดได้รับเสียงที่มากพอ ทำให้พรรคขนาดเล็กได้จับมือกันและผลักดันให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป เพราะพลเอกกรียงศักดิ์ ในขณะนั้นมีภาพความเป็นกลางและแสดงฝีมือในการผูกไมตรีกับจีนสำเร็จ [1] แต่อย่างไรก็ดี หลังการขึ้นมาเป็นนายกฯ เขากลับต้องเจอพายุการเมืองไม่หยุดหย่อน รวมไปถึงวิกฤตน้ำมันทำให้เขาต้องลาออกกลางที่ประชุมสภา และเปิดทางให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน โดยพลเอกเปรมได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย [1]

นอกจากเหตุผลทางการเมืองแล้ว พลเอกเปรมยังเป็นผู้ที่มีนิสัยซื่อสัตย์ มีความเป็นกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่เคยมีประวัติเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ ทำให้พลเอกเปรมเหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น พลเอกเปรมจึงสามารถดึงพรรคการเมืองเข้าร่วมรัฐบาลได้ และยังมีการกระจายอำนาจทางการเมืองอย่างลงตัว ในขณะเดียวกันก็ยังเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนอย่าง กรอ. ทำให้ทุกฝ่ายสามารถมีส่วนร่วมได้ทั้งหมดในรัฐบาลพลเอกเปรม [1] ดุลยภาพใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้การเมืองไทยมั่นคงอย่างมาก และมีความสงบขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อนหน้า

เครื่องมือที่สำคัญที่พลเอกเปรมใช้ในการสร้างเสถียรภาพนั้น ก็คือสูตรในการจัดโควตารัฐมนตรีให้กับพรรคต่างๆ อย่างทั่วถึง ทำให้พลเอกเปรมสามารถมีเสียงข้างมากในรัฐสภา และทำให้การบริหารเกิดความยืดหยุ่นพอสมควร และยังเป็นอิสระจากกองทัพได้อีกด้วย [1] ดังนั้นเราจึงเห็นการตั้งกลไกต่างๆ มากมายในการพัฒนาภาคเอกชนของไทยผ่านการดึงสมาคมธุรกิจยักษ์ใหญ่เข้ามาร่วมในการทำงาน

บทบาทของพลเอกเปรมอีกประการหนึ่งนั่นคือ การจบสงครามประชาชนที่เกิดขึ้นมาอย่างยืดเยื้อโดยการอนุมัติคำสั่ง 66/23 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การเอาชนะคอมมิวนิสต์ด้วยการรุกทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นการใช้การเมืองนำการทหารและต่อสู้ในแนวทางสันติ ในขณะเดียวกันก็ยังมีคำสั่ง 65/25 ซึ่งเป็นการสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยโดยตรง โดยการสร้างศรัทธาให้กับประชาชนต่อรัฐบาลแทน [1] ดังที่พลเอกเปรมกล่าวว่า ต้องลดเงื่อนไขของสงคราม … เงื่อนไขของจิตใจก็คือจะต้องให้ความเป็นธรรมและให้ความสะดวกเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างข้าราชการกับประชาชน จนทำให้การ “ทิ้งป่าคืนเมือง” เกิดขึ้นได้สำเร็จ และยังมุ่งมั่นพัฒนาตอบสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ผ่านการก่อตั้งสำนักงาน กปร. อีกด้วย

หลังจากที่เหตุการณ์ทางการเมืองสงบลง ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้น โดยมีการเน้นการผลักดันการส่งออกอย่างเต็มกำลัง และความ “โชคดี” จาก Plaza Accord ที่ญี่ปุ่นเลือกย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยด้วยบทบาทของนายเสนาะ อูนากูล ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นห่วงโซ่อุตสาหกรรมในระดับสากล นอกจากนี้ การมีแหล่งปิโตรเลียมเป็นของตัวเองยังทำให้ประเทศไทยเกิดความหวังใหม่ดังที่พลเอกเปรมกล่าวว่า นี่คือความหวังใหม่ที่สุด แล้วก็โชติช่วงชัชวาลที่สุดของประเทศชาติในณะนี้ [1] ไปพร้อมๆ กับการผลักดัน Eastern Seaboard เพื่อนำพาประเทศให้รุดไปข้างหน้า

เมื่อเข้าสู่ปีที่ 7 ของพลเอกเปรม เศรษฐกิจของไทยมิได้เพียงแค่ฟื้นฟูเท่านั้น แต่ยังพุ่งทะยานอย่างมากอีกด้วย จนทำให้มูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์พุ่งมากกว่า 400 ล้านบาทต่อวัน และยังมีเงินอีกกว่าแสนล้านบาทสะพัดทั่วประเทศ [1]

เมื่อภารกิจต่างๆ ได้ดำเนินจนถึงที่สุดแล้ว รวมไปถึงการเติบโตของสังคมไทย พลเอกเปรมจึงได้เลือกที่จะกล่าวว่า “ผมพอแล้ว” โดยลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และเปิดทางให้พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน ก่อนที่ประเทศไทยจะบินสูงกลายเป็นเสือตัวใหม่ของโลก บทบาทของพลเอกเปรมนั้นจึงสมกับที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า …

การตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน คือ การประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี เป็นสถาบันที่ดี เป็นองค์กรที่ดี เป็นตัวอย่างที่ดี มุ่งกระทำแต่ความดี เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน

บัดนี้จึงเป็นที่ประจักษ์ว่า ท่านได้ตอบแทนบุญคุณแผ่นดินอย่างไม่มีข้อกังขา และไม่มีข้อสงสัย เพราะแผ่นไทยได้เติบโตและสงบขึ้นมากจากบทบาทของพลเอกเปรม ดังนั้นการประกาศยกย่องพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษเมื่อ พ.ศ. 2531 จึงไม่ใช่สิ่งที่เกินเลย และสรุปบทบาทของพลเอกเปรมในฐานะ “บุรุษคู่แผ่นดิน” ได้อย่างดีที่สุด ดังนั้นไม่ว่าใครจะใส่ร้ายท่านอย่างไร คุณงามความดีของพลเอกเปรมจะไม่มีวันจางหาย

อ้างอิง :

[1] ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, การเมืองการปกครองไทย: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2475-2540) (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563), หน้า 417.
[2] ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, การเมืองการปกครองไทย: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2475-2540) (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563), หน้า 418.
[3] นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย: 60 ปีสิริราชสมบัติกับการเมืองการปกครองไทย (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549), หน้า 144.
[4] ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, การเมืองการปกครองไทย: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2475-2540) (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563), หน้า 425.
[5] อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ, “การเมืองไทยในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ : การบริหารจัดการทางการเมือง (2523 – 31),” (รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558), หน้า 57.
[6] ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, การเมืองการปกครองไทย: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2475-2540) (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563), หน้า 480-481.
[7] ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, การเมืองการปกครองไทย: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2475-2540) (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563), หน้า 482-483.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า