พฤติกรรมของผู้อ้างตัวว่าเป็น ‘รอยัลลิสต์’ แต่กลับด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์

“ผู้ภักดี” (Royalist) หรือ รอยัลลิสต์ หมายถึง ผู้ที่เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือผู้ที่มองว่าประเทศของเขาควรมีสถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะพระประมุข ซึ่งแตกต่างจาก “ผู้นิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” (Monarchism) ที่มีทัศคติทางการเมืองแบบสุดขั้วและสนับสนุนระบอบที่ให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจอย่างเทวสิทธิ์ดังเช่นในสมัยโบราณ

ซึ่ง “ผู้นิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” มักเป็นคู่ขัดแย้งหลักกับ “พวกนิยมสาธารณรัฐ” (Republican) ที่มีทัศนคติแง่ลบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปจนถึงขั้นมีความต้องการจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากราชอาณาจักร (The Kingdom) ไปสู่สาธารณรัฐ (The Republic)

และในปัจจุบันมีผู้อาวุโสในด้านประวัติศาสตร์และการเมืองที่อ้างตนว่าเป็น “ผู้ภักดี” (Royalist) แต่การกระทำกลับสวนทางกับลมปากอย่างสิ้นเชิง โดยพฤติกรรมของเขาล้วนแล้วแต่เป็นการ “บ่อนเซาะ” สถานภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ลง มากกว่าจะเป็นการ “ส่งเสริม” ซ้ำร้ายกลับยังหาแสงให้ตัวเอง ด้วยการไปสนับสนุนขบวนการทางการเมืองของฝ่าย “นิยมสาธารณรัฐ” (Republican) อีกด้วย

“ผู้ภักดี” (Royalist) หรือ รอยัลลิสต์ หมายถึง ผู้ที่เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ หรือผู้ที่มองว่าประเทศของเขาควรมีสถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะพระประมุข (Head of State) ซึ่งคำนี้มักใช้เรียกผู้ที่มีทัศนคติดังกล่าวในประเทศที่เป็นราชอาณาจักร (The Kingdom) เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก ญี่ปุ่น หรือ ประเทศไทย

“ผู้ภักดี” (Royalist) กับ “ผู้นิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” (Monarchism) นั้น มีลักษณะต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เพราะกลุ่มหลังจะมีทัศคติทางการเมืองแบบสุดขั้ว และสนับสนุนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจอย่างเทวสิทธิ์ดังเช่นในสมัยโบราณ

และคำว่า “ผู้ภักดี” มักใช้ในประเทศที่ปกครองในระบอบพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) หรือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างไรก็ดี ผู้ภักดี ยังหมายถึงคนที่ยังจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์เดิม แม้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศเหล่านั้นจะถูกโค่นล้มไปหรือเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ก็ได้

แต่ทั้งนี้ หากเราแปลคำนี้เป็น “พวกนิยมเจ้า” ตามที่นักวิชาการหัวก้าวหน้าในไทยหลายคนเคยใช้ จนเป็นที่นิยมอยู่ระยะหนึ่ง อาทิ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ก็จะมีปัญหาว่า หากพวกนิยมเจ้าแต่ละฝ่าย ต่างล้วนแล้วแต่มีพระราชวงศ์ที่ตนเองสนับสนุน เช่น กรณีการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษ (Glorious Revolution ) ในศววรรษที่ 18 ที่คนส่วนหนึ่งสนับสนุนราชวงศ์เก่า และอีกพวกสนับสนุนพระราชวงศ์ใหม่ ก็เท่ากับว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็น “พวกนิยมเจ้า” ทั้งคู่ ซึ่งจะทำให้เกิดความสับสนได้ ดังนั้น การแปลคำว่า Royalist เป็น “ผู้ภักดี” จึงเป็นการถอดความที่เหมาะสมและพ้องด้วยความหมายที่สุด

หากมองกลับมายังราชอาณาจักรไทย (The Kingdom of Thailand) นิยามของ “ผู้ภักดี” จึงหมายถึง คนไทยโดยทั่วไปที่ยังจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร หรือนิยมพรรคการเมืองพรรคใด แต่หากความคิดทางการเมืองขั้นมูลฐานยังมีความเคารพรักในสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ ก็เท่ากับว่าพวกเขาคือ “ผู้ภักดี”

แต่ก็มีบุคคลส่วนหนึ่ง ที่มีทัศนคติแง่ลบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปจนถึงขั้นมีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากราชอาณาจักร (The Kingdom) ไปสู่สาธารณรัฐ (The Republic) กลุ่มคนพวกนี้สามารถจัดได้ว่าเป็น “พวกนิยมสาธารณรัฐ” (Republican)

ซึ่ง “พวกนิยมสาธารณรัฐ/สาธารณรัฐนิยม” (Republican) กับ “ผู้นิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” (Monarchism) นั้น ดูเหมือนจะเป็นคู่ขัดแย้งหลักกันมากกว่า เพราะแนวความคิดทางการเมืองของบุคคลทั้งสองกลุ่มต่างกันอย่างสุดขั้ว

ต่างกับ “ผู้ภักดี” (Royalist) ที่มีลักษณะเป็นฝ่ายตรงกลาง ที่ยังนิยมและเคารพการมีอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่พวกเขาก็ยังสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย และคัดค้านการเพิ่มพระราชอำนาจให้แก่พระมหากษัตริย์อย่างไม่จำเป็นจนเกิดประเด็นในรัฐธรรมนูญ เพราะพวกเขามองว่าพระราชอำนาจดังกล่าว อาจถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตี เพื่อบั่นทอนความชอบธรรมของพระมหากษัตริย์ จนเกิดอันตรายต่อพระองค์ได้

อย่างไรก็ดี ใคร ๆ ก็สามารถอ้างว่าตัวเองเป็น “ผู้ภักดี” (Royalist) ได้ แต่สุดท้าย ทัศนคติและการกระทำก็จะบ่งบอกเองว่าเป็นอย่างที่พูดหรือไม่

ซึ่งไม่นานมานี้ มีผู้อาวุโสในด้านประวัติศาสตร์และการเมืองคนหนึ่ง มักอ้างตัวว่าเป็น “ผู้ภักดี” หรือ “รอยัลลิสต์” ที่ยังเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มที่ แต่พฤติกรรมของเขากลับสวนทางกับคำพูดของตัวเองอย่างสิ้นเชิง เช่น มักนำเรื่องซุบซิบนินทาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ไร้ซึ่งหลักฐาน มาบอกเล่าแก่ผู้อื่นว่าเป็นเรื่องจริง โดยอ้างว่าได้รับฟังมาจากเจ้านายพระองค์โน้น หรือทราบมาจากลูกหลานของสมเด็จในกรมฯ พระองค์นี้ ซึ่งเรื่องเหล่านั้น มักเป็นเรื่องซุบซิบในลักษณะเสีย ๆ หาย ๆ และเป็นเรื่องที่ “บ่อนเซาะ” สถานภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ลง มากกว่าจะเป็นการส่งเสริมหรือ “ติเพื่อก่อ”

ยิ่งไปกว่านั้น พฤติกรรมและการแสดงออกทางการเมืองของเขา กลับไปเข้าทางของขบวนการทางการเมืองฝ่าย “นิยมสาธารณรัฐ/สาธารณรัฐนิยม” (Republican) ของไทยในปัจจุบัน ที่พยายามทุกวิถีทางที่จะด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อหวังเปลี่ยนราชอาณาจักรไทยไปเป็นสาธารณรัฐ (The Republic) ตามที่พวกเขาวาดหวังไว้ในเร็ววัน

ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากความหมายของ “ผู้ภักดี” แล้ว สิ่งที่ผู้อาวุโสท่านนี้ได้กระทำมาตลอดหลายสิบปี คงไม่สามารถจัดได้ว่าเป็นผู้ภักดีที่แท้จริง เพราะพฤติกรรมของเขาไม่เพียงแต่เป็นการอ้างชื่อของเจ้านายต่าง ๆ เพื่อสร้างมูลค่าให้ตนเองว่าเป็นผู้ที่เคารพรักสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่ยังเป็นการบ่อนเซาะทำลายสถานภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ลง โดยที่ตัวเขาเองก็ไม่เคยเดือดร้อนใด ๆ กับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของเขาเลย

อ้างอิง :

Royalist : Cambridge Dictionary

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า