ผ่าเกมผลประโยชน์ เบื้องหลัง ‘ตุลาวิปโยค’

“การชุมนุมครั้งนี้ ไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง นี่คือพลังของประชาชนและนักศึกษา”

หนึ่งในประโยคสำคัญ ที่เรามักจะได้ยินจากการชุมนุมประท้วงของม็อบปลดแอก ตลอดเกือบสองปีที่ผ่านมา นัยว่าเป็นพลังบริสุทธิ์ของการขับเคลื่อนเพื่อเรียกร้องทางการเมือง จากสาเหตุการถูกกดขี่กดทับ ตลอดจนความไม่เท่าเทียม ที่ทำให้เหล่าประชาชนและนักศึกษาต้องออกมาต่อสู้เพื่อสังคมส่วนรวม โดยไม่มีผู้ชักนำใด ๆ

แต่หากเรามองย้อนกลับไปดูการเคลื่อนไหวทางการเมืองในอดีตตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา จริงอยู่ว่าภาพรวมส่วนใหญ่นั้นคือพลังของปัญญาชนที่ออกมาต่อสู้เรียกร้อง และไม่น่าจะมีการสนับสนุนจากกลุ่มหรือพลังทางการเมือง

แต่ทว่า หากมองลึกดูให้ดีเราจะเห็นอีกมุมหนึ่งของประวัติศาสตร์ ว่าการต่อสู้ด้วยพลังบริสุทธิ์ของขบวนการนักศึกษา 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 อาจเป็นเครื่องมืออันทรงพลัง ของกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่รอตักตวงผลประโยชน์อย่างใจเย็น

ซึ่งทั้งหมดนี้ ไม่แตกต่างกันเลยกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นของขบวนการนักศึกษา ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างจริงจัง ได้เริ่มก่อตัวในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่มีการโค่นล้ม จอมพลถนอม กิตติขจร และเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองครั้งใหญ่ของไทย

โดยขบวนการนักศึกษาดังกล่าวในช่วงแรก ๆ มีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ การโค่นล้มจอมพลถนอม กิตติขจร, จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร จากการเป็นนายกรัฐมนตรีไทยและผู้มีส่วนในอำนาจรัฐ ณ ขณะนั้น ซึ่งหลังจากจากการลาออกของจอมพลถนอม กิตติขจร ในเวลาต่อมา ก็จัดว่าอยู่ในช่วงยุค “ประชาธิปไตยเบ่งบาน” คือ มีการเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคมมากมายในช่วงนั้น ทั้งอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและสังคมนิยม เพื่อเรียกร้องในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ก็จัดว่าเป็นช่วงที่เริ่มมีความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น และก่อตัวกลายเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

ขบวนการนักศึกษาในช่วงหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 แบ่งแยกออกมาเป็นมวลชน 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ มวลชนที่มีอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม และมวลชนที่มีอุดมการณ์สังคมนิยม ซึ่งหากมองในมุมการต่อสู้ของมวลชนที่มีอุดมการณ์สังคมนิยมจะพบว่า มีการแทรกซึมของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ชั้นนำอย่าง สหภาพโซเวียต และ สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าไปในกลุ่มนักศึกษาและแรงงานฝ่ายซ้าย เพื่อจัดตั้งมวลชนของตน และต่อสู้กับอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้าไปแผ่อิทธิพลช่วงก่อนหน้า ทั้งในภาคส่วนของกลไกราชการ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมตะวันตก

ในช่วงนั้นได้มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายในไทย ที่เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกา ทำการถอนฐานทัพที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยทั้งหมดโดยเร็วที่สุด ซึ่งถือเป็นการบ่อนทำลายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคอยู่พอสมควร ประกอบกับการที่ 3 ประเทศโดยรอบได้ถูกกลืนกินโดยคอมมิวนิสต์ จากเหตุการณ์ในช่วงปี พ.ศ. 2518 ไม่ว่าจะเป็น

  1. เหตุการณ์การสูญเสียเมืองหลวงของเวียดนามใต้อย่าง “ไซ่ง่อน” ไปให้เวียดนามเหนือและขบวนการปลดปล่อยเวียดนาม หรือ “เวียดกง”
  2. เหตุการณ์การเข้ายึดครองเมืองหลวง “พนมเปญ” ของขบวนการ “เขมรแดง” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเข้ากุมอำนาจกัมพูชา
  3. เหตุการณ์ที่ขบวนการคอมมิวนิสต์ลาวได้รวบอำนาจการปกครองได้สำเร็จและยุติระบบกษัตริย์ในลาว

ซึ่งทั้ง 3 ประเทศดังกล่าว เคยเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกามาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นการสูญเสียเหล่านี้ ย่อมทำให้การต่อสู้ระหว่างโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ ทวีความรุนแรงมากขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการต่อสู้ทางอุดมการณ์และมวลชนของทั้ง 2 ฝ่ายในประเทศไทย ท่ามกลางกลิ่นอายของสงครามเย็นที่แผ่ปกคลุม

ในที่สุด สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มให้การสนับสนุนกลุ่มขบวนการทางการเมืองฝ่ายขวาในไทย เพื่อต่อต้านการเข้ามาของแนวคิดสังคมนิยมที่กำลังเบ่งบานอยู่ในขณะนั้น โดยในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2518 นายจอห์น รัสกิน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ สตาร์ทรีบูน ว่า ซีไอเอ. ได้ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กลุ่มนวพลและกระทิงแดงถึง 12.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

เมื่อมวลชนทั้งสองฝั่ง ซึ่งมีแนวคิดและอุดมการณ์ที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ต่างได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาที่ให้การสนับสนุนมวลชนฝั่งขวา หรือแนวคิดคอมมิวนิสต์แบบเลนินนิสต์ ที่เริ่มเข้ามาอิทธิพลในตัวเมืองใหญ่โดยเฉพาะตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ผสมผสานกับแนวคิดคอมมิวนิสต์แบบเหมาอิสต์ ที่มีอิทธิพลในชนบทมากอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ทั้งหมดจึงกลายเป็นตัวกระตุ้นความขัดแย้งของมวลชนให้ทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม

ในที่สุด ทุกอย่างจึงนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งภาพรวมที่เรารับรู้กันเกิดจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลและการกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร แต่หากมองลึกไปถึงรากแห่งต้นตอนั้น เกิดจากการปราบปรามนักศึกษาที่เป็นมวลชนฝ่ายซ้าย โดยฝีมือของตำรวจนครบาลและมวลชนฝั่งขวาที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาเป็นทุนเดิม ประกอบกับมีการเตรียมรัฐประหารจากกลุ่มนายทหารที่มีแนวคิดขวาจัดในขณะนั้น รวมถึงสถานการณ์โดยรอบ ที่เริ่มมีการกลืนกินโดยคอมมิวนิสต์ในประเทศต่าง ๆ สุดท้ายจึงนำไปสู่การรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เพื่อยุติความขัดแย้งทั้งหมด

ซึ่งเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาฯ นี้เอง ที่เป็นจุดเริ่มต้นของผลผลิตผู้นำฝ่ายซ้าย ที่อยู่ในคราบของอาจารย์และนักวิชาการในปัจจุบัน คนเหล่านี้แตกกระสานซ่านเซ็นจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และกลับมาด้วยความคิดหมกหมุ่นคับแค้นอยู่กับความพ่ายแพ้ในสงครามการเปลี่ยนแปลงประเทศ และเริ่มต้นสานฝันด้วยการใช้พลังของเยาวชนเป็นเครื่องมือ

พวกเขามองว่า หากจะเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นไปในแบบที่ต้องการ จำเป็นจะต้องล้มไปให้ถึงหัวใจหลักของระบอบการปกครอง นั่นคือ สถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนวิธีการต่อสู้ จากการใช้กำลังมาเป็นการใช้สื่อ เพื่อปลุกเร้ามวลชนรุ่นใหม่ ให้เกิดแนวคิดต่อต้านทั้งรากฐานวัฒนธรรมเดิม และศรัทธาที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยใช้วาทกรรมความเท่าเทียมมาอ้าง ซึ่งถือเป็นวิธีหลักของการเคลื่อนไหวทางการเมืองในปัจจุบัน

ทั้งหมดนี้ คือการสาวย้อนไปสู่อดีตที่ผ่านมาของเหตุการณ์ในช่วง 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งประเด็นสำคัญนั้น เพื่อต้องการให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นมวลชนฟากซ้ายหรือฝั่งขวา ได้ตระหนักและฉุกคิดว่า แท้จริงแล้วการต่อสู้เรียกร้องในอดีตหรือปัจจุบันนั้น มันมีการแทรกซึมโดยกลุ่มการเมือง ที่คอยใช้พลังบริสุทธิ์ของนักศึกษา หรือแม้กระทั่งการแตกแยกของมวลชนเป็นเครื่องมือ เพื่อมุ่งสู่ผลประโยชน์ของตัวเอง

และสุดท้ายแล้ว ในความวอดวายที่เกิดขึ้น ความสูญเสียจะตกเป็นของใคร ถ้าไม่ใช่ประเทศชาติและผู้ที่เหลือภาพให้จดจำแค่คำว่า…วีรชน

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า