‘ปาตานี’ ที่ไม่เคยมีอยู่จริง

ปาตานี” เป็นคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เมื่อไม่กี่สิบปีก่อนโดยนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่คลั่งเชื้อชาติมลายูมากเกินไป เป็นวาทกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อต้องการแบ่งแยกผู้คนรวมถึงหวังผลในแง่การเมือง และปัจจุบันคำนี้ก็ได้ถูกขบวนการก่อความไม่สงบนำไปใช้

พูดง่ายๆ คือคำว่า “ปาตานี” ในแง่ของพื้นที่ทางประวัติศาสตร์นั้น “ไม่มีจริง”

หากแต่เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มหรือสื่อบางสื่อพยายามใช้เพื่อบิดเบือนภาพและเร่งเร้าความขัดแย้งในเขตพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ภายใต้ชุดความคิดที่ว่าพื้นที่เหล่านั้นถูกสยามเข้ายึดครอง (บางคนพยายามใช้คำว่าล่าอาณานิคม) มาตั้งแต่ช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์

อีกทั้งยังมีการ “โยง” ความขัดแย้งเหล่านี้มาเกี่ยวพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการบิดเบือนอย่างเลวร้าย และจงใจใช้ความแตกแยกเพื่อทำลายหัวใจหลักของระบอบการปกครอง

ทั้งที่ความจริงแล้ว การรวมดินแดนเหนือคาบสมุทรมลายูเข้ากับสยามนั้นเป็นการ “ผนวกดินแดน” (Annexation) นั่นคือการค่อยๆ หลอมรวมทั้งกลุ่มคนและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นคนสยามเหมือนๆ กัน มีสิทธิต่างๆ ที่เท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งไม่เหมือนการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกที่เน้นเข้ามาดูดกลืนทรัพยากรของประเทศอาณานิคมแล้วนำกลับไปประเทศแม่

และกรณีความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ที่บางคนพยายามโยงเข้ากับสถาบันฯ ในความเป็นจริงคือ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พูโล บีอาร์เอ็น ฯลฯ กลุ่มขบวนการเหล่านี้ “ไม่เคยต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์”

นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ไม่เคยมีแถลงการณ์ฉบับไหนของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ที่ออกมาโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ จุดประสงค์ของพวกเขาคือ ต้องการต่อสู้เพื่อได้รับเอกราช (merdeka) จากรัฐไทยเท่านั้น ซึ่งคู่ขัดแย้งในมุมมองของพวกเขาคือรัฐบาลในยุคนั้นๆ ไม่ใช่สถาบันพระมหากษัตริย์

เห็นได้จากคนในพื้นซึ่งเคยเป็นอดีตขบวนการเหล่านี้ พวกเขายังคงเคารพนับถือสถาบันพระมหากษัตริย์เสมอมา และปัจจุบัน ในหลวงรัชกาลที่ 10 ท่านก็ทรงใส่ใจสนับสนุนกิจการศาสนาอิสลามมาอย่างสม่ำเสมอ

แล้วอะไรคือปัญหาแท้จริงของเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ? มีการบิดเบือนหรือแม้กระทั่งฉกฉวยผลประโยชน์จากรณีนี้กันอย่างไร ? และสิ่งที่คนในพื้นที่ต้องการจริงๆ แล้วคืออะไร ? มาฟังคำตอบจากนักประวัติศาสตร์ภาคใต้ อดีตข้าราชการใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในคลิปวิดีโอนี้กันครับ

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า