บทเรียนจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549…15 ปีที่ผ่านมาเราได้อะไร

ย้อนรอยเหตุการณ์รัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 สืบเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ก่อตัวขึ้น จากการถอดสื่อที่พยายามเปิดโปงและโจมตีปัญหาการคอรัปชั่นของรัฐบาลทักษิณ นำไปสู่การยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 เมษายน 2549 ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ เนื่องจากมีการทุจริตในการลงคะแนนเสียง

โดยก่อนหน้านั้น นักวิชาการ นักหนังสือพิมพ์ องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ได้ออกมาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานมาตรา 7 ซึ่งไม่เป็นผล เนื่องจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่เห็นด้วยและทรงตรัสว่า การขอพระราชทานนายกฯ มาตรา 7 เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในขณะนั้นกลไกของรัฐสภายังสามารถดำเนินต่อไปได้

เมื่อความขัดแย้งของหลายฝ่าย นำพาสถานการณ์ลุกลามจนเข้าใกล้สุญญากาศทางการเมือง ในที่สุด 19 กันยายน 2549 พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน จึงได้เข้ายึดอำนาจในนามคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

ต่อมามีผู้ให้ข้อมูลเท็จและพยายามกล่าวหา ในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารครั้งนี้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ “ผิด” อันสืบเนื่องมาจากการรายงานข่าวบิดเบือนของสื่อต่างประเทศในขณะนั้น

และการปฏิเสธการขอพระราชทานนายกฯ มาตรา 7 ก็เป็นสิ่งยืนยันชัดเจนว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย และ “ไม่ได้อยู่เบื้องหลัง” การรัฐประหารครั้งนี้ หรือครั้งใด ๆ

ถ้าจะพูดให้ถูกต้อง เป็นเพราะทุกฝ่ายต่างหากที่ออกมาสร้างเงื่อนไข ก่อความขัดแย้ง และชักนำสถานการณ์ให้มาถึงทางตัน จนเป็นเหตุให้เกิดการรัฐประหาร อันส่งผลนำไปสู่ความแตกแยก และแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมืองมาจนถึงปัจจุบัน

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r