จากมุมมองของ CIA ต่อบทบาทโดยชอบธรรมของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในวิกฤตการเมืองของไทย

ประเด็นการผูกโยงว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงเซ็นรับรองรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในคราวโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (หรือที่สื่อสมัยนั้นล้อเลียนเชิงเสียดสีการผูกขาดอำนาจว่า ‘พิบูลตลอดกาล’) เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ซึ่งนักวิชาการฝ่ายต่อต้านระบอบกษัตริย์บางคนถึงกับเรียกว่า เป็นการรัฐประหารโดยราชสำนัก และได้ปลูกฝังแนวคิดนี้ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ให้เข้าใจผิดต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 มากขึ้น

อันที่จริงทาง ฤา เคยจัดทำทั้งวิดีโอและคำอธิบายเรื่อง “การเซ็นรับรองรัฐประหาร” ว่าเป็นแค่วาทกรรมของฝ่ายตรงข้ามที่ต้องการจะดิสเครดิตสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น ซึ่งสามารถอ่านและรับชมได้จากลิ้งค์ด้านล่าง

เซ็นรับรองการรัฐประหารเป็นแค่วาทกรรม

‘เซ็นรับรองรัฐประหาร’ คำกล่าวหาอันน่าขันของผู้ไม่เข้าใจหลักการปกครอง

ทั้งนี้ ในความเป็นจริงแล้ว “การเซ็นรับรองรัฐประหาร” เป็นสิ่งที่ไม่มีจริงแต่อย่างใด เพราะอำนาจการตัดสินใจทุกอย่างจะอยู่ที่ “คณะรัฐประหาร” ในฐานะ “รัฏฐาธิปัตย์” (ผู้ถือครองอำนาจอธิปไตย)

อย่างไรก็ดี เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการเผยแพร่เอกสารอดีตรายงานลับของ CIA เลขรหัส RDP79-00927A001400080001-9 ซึ่งเป็นการสรุปย่อข่าวกรองทั่วโลกของสำนักข่าวกรองกลางอเมริกา เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2500 หรือ 10 วันหลังจากรัฐประหารในประเทศไทย

โดยเนื้อหาข้างในเอกสาร CIA เป็นบันทึกและความเห็นของเจ้าหน้าที่ข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (CIA) เกี่ยวกับการรัฐประหารดังกล่าว โดยมีการกล่าวอ้างถึงรายงานการสัมภาษณ์นายพจน์ สารสิน นายกรัฐมนตรีพลเรือนที่ทางคณะรัฐประหารได้แต่งตั้งขึ้น เกี่ยวกับสถานการณ์และทิศทางทางการเมืองในประเทศไทย ณ เวลานั้น ซึ่งทาง CIA ได้รับความเห็นดังกล่าวต่อมาจากสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยอีกชั้นหนึ่ง

จากข้อมูลในเอกสาร CIA ดังกล่าว หากว่าผู้อ่านเอกสารฉบับนี้ไม่ได้มีภูมิหลังเกี่ยวกับเหตุการณ์รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 มาก่อน อาจคิดไปว่าการรัฐประหารครั้งนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีบทบาท “อย่างสำคัญในฐานะทรงเป็นชนวนที่นำไปสู่เหตุการณ์ยึดอำนาจ” จนบางคนอาจตีความไปว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนรัฐประหารด้วยตั้งแต่แรก

ทั้งที่ความจริงแล้วคำว่า “ชนวน” ในที่นี้ คือเหตุการณ์ที่ เผ่า ศรียานนท์ บุคคลหมายเลข 2 ในรัฐบาลจอมพล ป. กำลังโจมตีพระราชวงศ์อย่างรุนแรง เนื่องจากไม่สามารถทัดทานความนิยมในสถาบันพระมหากษัตริย์ของประชาชนในเวลานั้นได้ และในช่วงนั้นรัฐบาลจอมพล ป. ก็กำลังเสื่อมความนิยมลงเรื่อยๆ

อย่างไรก็ดี เอกสารฉบับนี้จัดเป็น “บันทึกและความเห็น” (Notes and Comments) ของทาง CIA ที่ได้รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลแหล่งข่าวร่วมกับทางสถานทูตสหรัฐฯ อีกที ดังประโยคต่อไปที่ระบุว่า พวกเขา (CIA) ได้ร่วมพบปะพูดคุยกับเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย คือ นายแมกซ์ วอลโด บิชอป (Max Waldo Bishop) ซึ่งท่านทูตได้กล่าวย้ำกับทาง CIA ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ทรงหวังพระทัยจะนำพระองค์ออกจากสมรภูมิทางการเมืองหลังจากที่รัฐบาลใหม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างมั่นคงแล้ว

 นอกจากนั้น ทูตบิชอปยังกล่าวสำทับต่อไปว่า ในหลวงทรงมีพระประสงค์จะเห็นการเมืองการปกครองของไทยได้รับการปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้น และเมื่อเป็นเช่นนั้นบทบาทของพระองค์ (ในกรณีตัวกลางแห่งบรรยากาศการเปลี่ยนผ่านการเมืองการปกครอง) ก็จะค่อยๆ จางหายลงอย่างรวดเร็ว

การวิเคราะห์เช่นนี้ของทูตสหรัฐฯ นับว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง และน่าเชื่อว่าท่านทูตเองก็น่าจะเข้าใจระบอบการปกครองของไทย (ที่มีประเทศอังกฤษเป็นตัวอย่าง) เป็นอย่างดี เพราะตามประวัติศาสตร์และกระแสธารแห่งการพัฒนาของรูปแบบ “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” หรือ Constitutional Monarchy จะเห็นได้ว่า เมื่อใดที่ฟังก์ชั่นปกติของการปกครองแบบประชาธิปไตย (ผ่านรัฐสภาและรัฐบาล) มีปัญหา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เมื่อใดหากเกิดสุญญากาศทางการเมือง (political vacuum) ขึ้น จนทำให้สถาบันทางการเมืองในยามปกติ (political institutions) มิสามารถระงับหรือแก้ไขปัญหาทางการเมือง จนอาจนำไปสู่ความวุ่นวาย อาทิ สงครามกลางเมืองหรือการรบราฆ่าฟันได้ อำนาจและความชอบธรรมทางการเมืองในเวลาดังกล่าว ย่อม ‘หมุนกลับ’ (rotate) ตกไปเป็นของสถาบันหลักของชาติที่มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีการปกครอง (constitution) ก่อนการเปลี่ยนแปลงหรือถ่ายรูปแบบมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสถาบันทางประเพณีการปกครองนั้นก็คือ ‘สถาบันพระมหากษัตริย์’ ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างราบรื่นที่สุด

 จากวิกฤตการณ์ดังกล่าวนี้ เราจะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่การรัฐประหาร พ.ศ. 2500 เท่านั้น ที่ประเทศไทยได้ดำเนินและคลี่คลายสถานการณ์มาได้อย่างราบรื่นภายใต้ ‘ตัวกลางแห่งบรรยากาศการเปลี่ยนผ่านการเมืองการปกครอง’ แม้แต่เหตุการณ์วิกฤตของบ้านเมืองในครั้งอื่นๆ อาทิ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 2535 บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ยังมีส่วนสำคัญในการคลี่คลายปัญหาต่างๆ และนำพาบ้านเมืองผ่านพ้นวิกฤตเหล่านั้นมาได้

เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า หากปราศจากบทบาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งทางสังคมในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยอาจจะมีการนองเลือดอันมีสาเหตุมาจาก “ความเห็นต่างทางการเมือง” นับครั้งไม่ถ้วนอย่างแน่นอน จึงกล่าวได้ว่า “พระราชอำนาจนำ” ของพระองค์ในประเด็นนี้ เป็นสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ต่อชาติไทยอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ดี ใช่ว่าการลงมาจัดการวิกฤตทางการเมืองของชาติจะทำให้พระมหากษัตริย์ต้องมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะในทางวิชาการแล้ว การ “หมุนกลับ” อย่างชั่วคราวนี้ ไม่ถือว่าเป็นการแทรกแซงทางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด เพราะเป็นการกระทำโดยมุ่งหวังให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมเท่านั้น

ดังนั้น เอกสาร CIA ฉบับนี้ จึงเป็นเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่งของไทย ที่ได้ให้ข้อมูลและความเห็นที่สอดคล้องกับรูปแบบ “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตลอดรัชสมัยของพระองค์

เอกสาร CIA เลขรหัส RDP79-00927A001400080001-9
อ้างอิง :

[1] เอกสาร CIA เลขรหัส RDP79-00927A001400080001-9
[2] อาสา คำภา. กว่าจะครองอำนาจนำ. (นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน) 2564.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า