‘นายใน’ หนังสือตัดแปะใส่ความรัชกาลที่ 6 เรื่องการขอพระราชทานอนุญาตมีภรรยาในราชสำนัก

สังคมไทยในสมัยก่อนสถานภาพและสิทธิของสตรียังไม่เทียบเท่ากับบุรุษ ทั้งในทางสังคมและครอบครัว การอยู่กินของชายหญิงยังไม่ได้อยู่บนแนวคิดของการสมรส ซึ่งถือว่าเป็นการประกาศฐานะของสามีและภรรยาตามกฎหมาย

จนกระทั่งการเกิดขึ้นของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 กำหนดว่าการสมรสเป็นสัญญาแบบหนึ่งที่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างสามีและภริยาตามกฎหมายขึ้น ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478 จากนั้นมาแนวคิดเรื่องการสมรสจึงวางหลักปักฐานทั้งในทางสังคมและทางกฎหมายมาจนถึงปัจจุบัน

จริง ๆ แล้วแนวคิดนี้ ได้แพร่เข้ามาในสยามครั้งแรกตั้งแต่ช่วงเริ่มปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4-5 แต่จะอยู่ในหมู่ฝรั่งชาวตะวันตก ซึ่งต่อมาก็ได้เริ่มวางแนวทางอย่างจริงจังในสมัยในหลวง ร.6 จากการที่พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากอังกฤษ และเข้าใจในแนวคิดนี้ จนกระทั่งนำมาปรับใช้เพื่อยกระดับสถานะทางสังคมของสตรี

ในประเด็นนี้ อ. วรชาติ มีชูบท ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ให้ความเห็นเอาไว้ว่า ในหลวง ร.6 ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้การสมรสเป็นเครื่องยกสถานภาพของสตรีให้เท่าเทียมกับบุรุษ และช่วยส่งเสริมความมั่นคงของครอบครัว พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนักขึ้น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2457

ในกฎมณเฑียรบาลได้บัญญัติให้มีการจดทะเบียนครอบครัวแก่ข้าราชการในพระราชสำนัก โดยให้จดชื่อภรรยาและบุตรทุกคนลงในทะเบียนครอบครัว และถ้าต่อมามีการหย่าขาดจากกันหรือแยกกันอยู่ ก็ต้องมีการชี้แจงทำความตกลงกันด้วยว่าบุตรจะอยู่กับใคร แต่ถ้าเป็นการแยกกันอยู่โดยไม่ได้หย่าขาดกัน ก็ต้องมีการชี้แจงว่า ภรรยาอยู่ที่ไหน อยู่อาศัยกับใคร หรืออยู่เพียงลำพัง

นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติให้บรรดาข้าราชการในพระราชสำนัก ที่ยังไม่ได้มีครอบครัวในเวลาที่ประกาศใช้กฎมณเฑียรบาลนั้น เมื่อจะทำการสมรส ต้องมีหนังสือขออนุญาตมีภรรยา ยื่นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะทำการสมรสได้

ตรงนี้หลายคนคงมีคำถามว่า ทำไมต้องมีการขอพระราชทานอนุญาตมีภรรยา

ต้องเข้าใจก่อนว่า แนวคิด “การขอพระราชทานอนุญาตมีภรรยาในราชสำนักรัชกาลที่ 6” ไม่ใช่สิ่งที่พระองค์เป็นผู้คิดขึ้นมาเอง แต่ได้ทรงนำรูปแบบมาจากการบริหารราชการบุคคลของประเทศอังกฤษในดินแดนอาณานิคมมาประยุกต์ใช้ในสยาม

แนวคิดนี้กำหนดว่า บรรดาข้าราชการอังกฤษตลอดจนถึงลูกจ้างในภาคเอกชน ที่ได้ถูกส่งตัวมาจากประเทศแม่มายังดินแดนอาณานิคม เช่น ดินแดนมลายาหรืออินเดีย จะไม่ได้รับอนุญาตให้มีภรรยาหรือแต่งงานก่อนจะถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม และ “จะต้องขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเสียก่อน” ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกณฑ์เฉลี่ยอายุจะอยู่ที่ 30 ปีขึ้นไป และต้องมีฐานเงินเดือนหรือตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะเลี้ยงภรรยาได้โดยไม่ลำบาก เขาถึงจะได้รับอนุญาต

เพราะฉะนั้น แนวคิดนี้จึงอยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสมและความพร้อมในการมีครอบครัว ซึ่งครอบครัวแม้จะเป็นหน่วยเล็กที่สุด แต่ถ้ามีความมั่นคงก็จะเป็นรากฐานที่สำคัญให้กับประเทศชาติ

ซึ่งคนบางกลุ่มกลับไม่เข้าใจเรื่องนี้ และนำแนวคิดของในหลวง ร.6 ไปบิดเบือนสร้างความเข้าใจผิดว่า การที่พระองค์ทรงเข้มงวดกับการอนุญาตให้มหาดเล็กมีภรรยาหรือแต่งงานนั้น เนื่องมาจากรสนิยมทางเพศของพระองค์ ที่ทรงมีความรู้สึกหึงหวงคนใกล้ชิดหรือมหาดเล็กที่ถวายงานรับใช้

การบิดเบือนที่ว่านี้ มาจากหนังสือ “นายใน” ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตเล่มหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นการเขียนในลักษณะ “ตัดแปะ” หรือ “จับฉ่าย” ด้วยการหยิบยกเอาประโยคจากเอกสารชิ้นนั้น หรือคำบอกเล่าจากหนังสือเล่มนี้ มาเรียบเรียงใหม่จนมีลักษณะคล้ายนิยาย เพื่อต้องการชี้นำให้ผู้อ่านเชื่อว่า ในหลวง ร.6 ทรงมีรสนิยมทางเพศเป็นชายรักชาย

และกรณี “การขอพระราชทานอนุญาตมีภรรยาในราชสำนักรัชกาลที่ 6” ก็ถือเป็น 1 ในความ “มโน” ของผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าว

ถ้าหากผู้เขียน “นายใน” มีความเชี่ยวชาญ หรือได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับประเด็นนี้ให้ครอบคลุมทั่วทั้งโลกแล้วจะพบว่า แนวคิดการขออนุญาตในการมีภรรยา ไม่ว่าจะทั้งของไทยหรืออังกฤษ จะวางอยู่บนพื้นฐานของการสร้างครอบครัวที่เหมาะสม ภรรยาจะต้องคอยค้ำชูสภานภาพของสามี และสามีเองก็ต้องมีตำแหน่งและฐานเงินเดือนพอที่จะเลี้ยงดูภรรยาไม่ให้ตกอับได้

ซึ่งในกรณีของอังกฤษนั้น หากสามีไม่สามารถบำรุงสถานภาพของตนเองและภรรยาให้มีชีวิตที่ดีได้ ไม่ว่าจะเพราะต่างคนต่างเหลวไหลหรือยังมีฐานเงินเดือนไม่พอใช้ ก็จะส่งผลถึง “ภาพลักษณ์ของชาวอังกฤษโดยรวม” ในสายตาของชาวพื้นเมืองผู้ถูกปกครอง ซึ่งจะส่งผลไปถึงการปกครองอาณานิคมได้

ส่วนของไทยนั้น หากมหาดเล็กหรือภรรยาประพฤติตัวไม่เหมาะสม ก็ย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์โดยรวมของข้าราชการในพระองค์ ที่อาจจะทำให้เกิดการติฉินนินทาขึ้นได้

ด้วยเหตุนี้ การกวดขันเรื่องการมีคู่ครองจึงเป็นเรื่องปกติ และไม่เกี่ยวข้องกับรสนิยมทางเพศแต่อย่างใด และไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรเลยที่ในหลวง ร.6 จะมีแนวคิดเช่นนี้ เพราะพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษามาจากอังกฤษ ย่อมต้องทรงรับรู้แนวคิดดังกล่าวอยู่แล้ว

สรุปว่า การอ่านหนังสือ “นายใน” ควรอ่านอย่างระมัดระวัง อ่านอย่างวิเคราะห์แยกแยะ เพราะบางส่วนก็ไม่ใช่สาระที่จะต้องยึดถือ แม้แต่คำว่า “นายใน” เองก็ไม่เคยปรากฏขึ้นในเอกสารชั้นต้นใด ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่เป็นการ “คิดขึ้นมาเอง” ของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ จนกลายเป็นความคลุมเครือและเกิดการตีความกันไปผิด ๆ โดยเฉพาะเรื่องส่วนตัวของในหลวง ร.6

ซึ่งจริง ๆ แล้วถ้าพูดกันในแง่ปัจเจกบุคคล พระราชนิยมหรือพระราชจริยวัตรส่วนพระองค์ของในหลวงแต่ละรัชกาล ย่อมต้องแตกต่างกันไป ดังนั้นคำถามจึงอยู่ที่ว่า ระหว่างพระราชนิยมส่วนพระองค์ กับประโยชน์ต่าง ๆ ที่ท่านทรงทำเพื่อชาติและประชาชน สิ่งไหนกันแน่ที่เราควรยึดถือไว้เป็นสาระสำคัญที่สุด

อ้างอิง :

[1] ความเห็นของ อ. อวรชาติ มีชูบท (V_MEE)
[2] John G. Butcher, The British in Malaya 1880-1941. Offord University Press (1979)

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า