‘ตุลาการภิวัฒน์’ EP.2 : เบื้องหลังวาทกรรมบิดเบือน โจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์

ปัจจุบันมีการใช้วาทกรรม “ตุลาการภิวัฒน์” กล่าวหาในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่า พระราชดำรัสของพระองค์ ที่ปฏิเสธการขอนายกฯ พระราชทานในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 เมื่อครั้งเกิดสุญญากาศทางการเมืองในยุคของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นเหตุที่นำพาไปสู่สภาวะวิกฤติทางการเมือง นั่นคือการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นโมฆะ

ซึ่งการกล่าวหาทั้งหมดนี้คือ “เรื่องเท็จ” เพราะการใช้อำนาจศาลในขณะนั้น ถือเป็นการแก้ไขวิกฤติทางการเมือง ด้วยกลไกที่มีอยู่แล้วตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การแทรกแซงทางการเมืองโดยอำนาจตุลาการแต่อย่างใด

และการพระราชทานนายกฯ มาตรา 7 ก็ไม่สามารถกระทำได้ในขณะนั้นอยู่แล้ว เนื่องจากกลไกของรัฐสภายังสามารถดำเนินต่อไปได้ เป็นสิ่งยืนยันว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงยึดมั่นอยู่ในหลักการของรัฐธรรมนูญ และทรงเห็นว่าการอาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 7 พระราชทานนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้องและไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย

คำว่า “ตุลาการภิวัฒน์” ใช้เรียกในกรณีที่ฝ่ายตุลาการ เข้ามามีบทบาทในการพิจารณาตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ ในสังคมหรือแม้แต่เรื่องการเมือง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว “ตุลาการภิวัฒน์” ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด และไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย หากแต่ยังเกิดขึ้นในต่างประเทศด้วย ดังตัวอย่างในบทความ “เบื้องหลังตุลาการภิวัฒน์ในต่างประเทศ การคานอำนาจทางการเมืองโดยฝ่ายตุลาการ

สำหรับในประเทศไทย กรณีของ “ตุลาการภิวัฒน์” ถือกำเนิดขึ้นมาจากเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองในยุคของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี พ.ศ. 2549 นั่นคือ เหตุการณ์ที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นโมฆะ

ซึ่งหากมองย้อนกลับไปก่อนการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ในช่วงเวลานั้นรัฐบาลทักษิณ ที่เพิ่งทำงานในสมัยที่ 2 เกิดปัญหาทางการเมืองมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการบริหารประเทศที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนของพรรคไทยรักไทยและตัวทักษิณเอง รวมไปถึงการปิดปากสื่อที่พยายามวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล จนนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างคนสองกลุ่มในสังคมไทย นั่นคือ “เอาทักษิณและไม่เอาทักษิณ” ทำให้การเมืองตามระบอบประชาธิปไตยเริ่มเกิดปัญหา

ต่อมาอดีตนายกทักษิณ จึงตัดสินใจประกาศ “ยุบสภา” ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 จากนั้นก็ปฏิบัติหน้าที่ “รักษาการ” จนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป และได้ประกาศการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549

แต่ฝ่ายค้านนำโดยพรรคประชาธิปัตย์มองว่า การยุบสภาครั้งนี้ไม่ถูกต้อง เพราะสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้มีความผิดอะไร และฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่ได้มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับฝ่ายบริหาร จนเป็นเหตุให้มีการยุบสภา นอกเสียจากว่ารัฐบาลทักษิณ มีเจตนาหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ ที่จะส่งผลให้นายกรัฐมนตรีขาดความชอบธรรมในการบริหารประเทศอีกต่อไป

ดังนั้น พรรคฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน จึงได้รวมพลังกันไม่ส่งสมาชิกลงเลือกตั้ง ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 แต่การเลือกตั้งก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยมีพรรคไทยรักไทยส่งคนลงเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง

ในช่วงเวลานั้น สถานการณ์การเมืองไทยถือได้ว่า ร้อนแรงมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการที่ 3 พรรคฝ่ายค้านร่วมคว่ำบาตรการเลือกตั้ง หรือการที่ รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ฉีกบัตรเลือกตั้งต่อหน้าสื่อมวลชน เพื่อแสดงแนวทางการดื้อแพ่ง รวมถึง ยศศักดิ์ โกศัยกานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.เกษมบัณฑิต ใช้ไม้จิ้มฟันแทงที่นิ้วหลายครั้ง และนำเลือดมาใช้ในการกาบัตรเลือกตั้ง เพื่อเป็นการแสดงแนวทางอารยะขัดขืน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในการเลือกตั้งตามมาอีกมากมาย เช่น ผู้สมัครจำนวนหลายสิบเขต ที่ชนะเลือกตั้ง แต่คะแนนที่ได้ กลับน้อยกว่าคะแนนโหวตโน (Vote No) แต่ก็ได้รับเลือกด้วยเกณฑ์ร้อยละยี่สิบ และเกณฑ์กรณีมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน แถมยังมีประเด็นเรื่อง “คูหาเลือกตั้ง” ที่หันหลังออก ทำให้เกรงว่าอาจจะทำให้สามารถมองเห็นการลงคะแนนได้โดยง่าย และมีการร้องเรียนว่า มีการนำรายชื่อผู้สมัครไปติดไว้ในคูหาเลือกตั้ง ฯลฯ

เมื่อ กกต.ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2549 แม้ผลจะออกมาว่าพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง แต่มีผู้สมัครบางเขตมีคะแนนเสียงไม่เกินร้อยละ 20 ตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ. เลือกตั้ง

กกต. จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 จำนวน 40 เขตเลือกตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ แต่การเลือกตั้งรอบนี้ก็ยังคงมีปัญหาหลายอย่าง ทั้งมีผู้ประท้วงโดยการฉีกบัตรเลือกตั้งในหลายพื้นที่ เช่น สงขลา, ภูเก็ต, ยะลา, นครศรีธรรมราช, ชุมพร และสุราษฎร์ธานี และมีผู้ประท้วงด้วยการลงชื่อรับบัตรเลือกตั้ง แล้วส่งบัตรเลือกตั้งคืนให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยไม่มีการกาเครื่องหมายใด ๆ ที่จังหวัดพัทลุง

จากเหตุการณ์เหล่านี้ ศาลปกครองจึงได้ไต่สวนฉุกเฉิน กรณีพรรคประชาธิปัตย์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 และ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 และหมายรวมถึงการเลือกตั้งวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2549 ที่จะเกิดขึ้นด้วย เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลปกครองได้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวสั่งให้ กกต. ระงับการเลือกตั้งดังกล่าวไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

ต่อมาวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้เพิกถอนเสียและจัดการเลือกตั้งใหม่

หลังการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ สถานการณ์ความขัดแย้งต่าง ๆ เริ่มเข้มข้นขึ้นจนนำไปสู่สุญญากาศทางการเมือง ในที่สุด วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. จึงได้เข้ายึดอำนาจในนามคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และถือเป็นการสิ้นสุดอำนาจทางการเมืองของ ทักษิณ ชินวัตร

จะเห็นได้ว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามามีบทบาทในการตัดสินให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นโมฆะ ถือเป็นการใช้อำนาจศาลในการยุติข้อพิพาททางการเมือง ที่สืบเนื่องมาจากการดำเนินการโดยมิชอบและขัดต่อรัฐธรรมนูญของฝ่ายบริหารในขณะนั้น ไม่ใช่เป็นการแทรกแซงทางการเมืองของฝ่ายตุลาการและสถาบันพระมหากษัตริย์

หากอ่านและเข้าในพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 จะเห็นได้ว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงยึดมั่นอยู่ในบทบาทของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ นั่นคือ การที่พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า พระองค์ไม่มีหน้าที่ในการพระราชทานนายกรัฐมนตรี และการที่มีกลุ่มการเมืองพยายามเรียกร้องให้พระองค์ทรงอาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 7 พระราชทานนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ส่วนวิกฤติการเมือง ณ ขณะนั้นก็ควรแก้ไขด้วยกลไกที่มีอยู่แล้วตามรัฐธรรมนูญ นั่นคืออำนาจศาล ที่เป็นอำนาจอธิบไตยที่ 3 นั่นเอง

ดังนั้นคำกล่าวหาที่ว่า พระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 นำมาสู่สภาวะวิกฤติทางการเมือง ผ่านกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ จึงเป็นแค่ “เรื่องเท็จ” ของกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่พยายามใช้วาทกรรมสวย ๆ มาบิดเบือน เพื่อสร้างความเข้าใจผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า