ตีแผ่หนังสือ The King Never Smiles ข้อมูลบิดเบือนที่ถูกนำมาใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ : ตอนที่ 2

บทความวิเคราะห์หนังสือ The King Never Smiles โดย ทุ่นดำ-ทุ่นแดง
ที่มา : ตอนที่ 2 ความคล้ายคลึงของเนื้อหาในหนังสือของ Paul Handley กับ ผลงานของ ณัฐพล ใจจริง

ในส่วนนี้เป็นตอนที่สำคัญที่สุด ที่พวกเรา ทุ่นดำ-ทุ่นแดง จะกล่าวถึง “สำนวน” ของหนังสือ The King Never Smiles ซึ่งปรากฏความคล้ายคลึงกับ “สำนวน” ของณัฐพล ใจจริง เป็นอย่างมาก จนน่าเชื่อว่าณัฐพลฯ น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากหนังสือเล่มดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อความที่ระบุว่า “กรมขุนชัยนาทนเรนทรทรงรับรองการรัฐประหารอย่างรวดเร็ว”

ในงานวิชาการของณัฐพลฯ ที่ระบุว่า “กรมขุนชัยนาทนเรนทรทรงรับรองการรัฐประหารอย่างรวดเร็ว” นี้ พวกเราได้วิพากษ์วิจารณ์ไปแล้วว่า เป็นการเขียนหรือกุขึ้นอย่างลอยๆ โดยไม่มีหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนความเชื่อนี้แต่ประการใด

อย่างไรก็ดี สมมติฐานของเราในข้อนี้เห็นทีต้องแก้ไขใหม่

เนื่องจากเรากลับไปพบข้อความ “กรมขุนชัยนาทนเรนทรทรงรับรองการรัฐประหารอย่างรวดเร็ว” ใน หนังสือ The King Never Smiles แทน !

กล่าวคือในหน้า 88 Handley ระบุข้อความว่า “การสนับสนุนของวังต่อการรัฐประหารนั้นเห็นได้ชัดจากการที่กรมขุนชัยนาทฯ ทรงรับรองการรัฐประหารอย่างรวดเร็ว” (ข้อความต้นฉบับ คือ “Palace support for the coup was evident in how quickly the regent, Prince Rangsit, approved it.”)

การอ้างเรื่องการรับรองอย่างรวดเร็วนั้น Handley ตั้งอยู่บนข้อเสนอว่า เพราะ กรมขุนชัยนาทฯ ทรงรับรองอย่างเป็นทางการภายในเวลา 24 ชั่วโมง และประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่คณะผู้ก่อการรัฐประหารได้วางแผนร่างไว้ในทันที (“He gave his official acceptance in the king’s name in less than 24 hours, and immediately promulgated the new constitution the plotters had drafted.”)

แต่ทั้งนี้ ข้อความต่อมา Handley ระบุข้อความแย้งไว้ด้วยว่า มีนักวิชาการท่านอื่นเสนอว่าพระองค์ถูกบังคับจี้ให้เซ็นด้วยปืน (“Some later accounts claimed that Rangsit had done so only at gunpoint.”)

ซึ่งข้อความในส่วนหลังนี้ Handley ได้เขียนอ้างเชิงอรรถที่ 10 เอาไว้ โดยอ้างงาน Thailand’s Durable Premier ของ กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร (Kobkua Suwannathat-Pian) นักวิชาการชาวไทยผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์ไทย-มลายู และเมื่อเราได้ตรวจสอบพบว่างานชิ้นดังกล่าวที่ได้กล่าวถึงการที่กรมขุนชัยนาทฯถูกปืนจี้ให้รับรองรัฐธรรมนูญในช่วงการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 นั้น ปรากฏว่าเป็นเรื่องที่ อ. กอบเกื้อเขียนไว้จริง แต่ไม่มีข้อความใดระบุเรื่อง “รับรองอย่างรวดเร็ว” แต่อย่างใด !

ในกรณีนี้ Handley ไม่ได้มีความผิดอย่างฉกาจเท่าใดนัก กล่าวคือ เพราะเขาเป็นเพียงแต่นักข่าวต่างประเทศ ที่อาจไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในประวัติศาสตร์ไทยช่วงดังกล่าวเท่าใดนัก รวมถึงการเข้าถึงหลักฐานเอกสารในภาษาไทยของเขา ก็อาจไม่ลึกซึ้งเพียงพอ (หรือคนที่หาหลักฐานไทยมาประเคนให้เขาเขียนหนังสืออาจ ‘อ่อน’ ประวัติศาสตร์ไทยจริงๆ ) ทำให้การเขียนหนังสือในบทนี้ของเขาตั้งอยู่บนสมมติฐาน “ตื้นๆ”

ที่เรากล่าวว่า “ตื้นๆ” นั้น เราไม่ได้ยกตนข่มท่านใดแต่อย่างใด แต่หากท่านผู้อ่านได้ติดตามเราอย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่ตอนก่อนๆ จะเห็นได้ว่าเรา (ทุ่นดำ-ทุ่นแดง) ได้พยายามอย่างที่สุดที่จะเฟ้นหาหลักฐาน “คืนวันรัฐประหาร พ.ศ. 2490” มาเผยให้เห็นว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างใด และรู้สึกอย่างไรในคืนวันรัฐประหารนั้น
จากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ปรากฏ ข้อสันนิฐานของ Handley ที่ว่า “ฝ่ายวังสนับสนุนการรัฐประหารอย่างรวดเร็ว” เป็นอันต้องล้มพับและฟังดูกลายเป็นเรื่องเหลวไหลเลอะเทอะไปในทันที เมื่อมีหลักฐานอื่นๆ มายืนยันว่า “กรมขุนชัยนาทฯ ทรงถูกปืนจี้โดยคณะรัฐประหารให้เซ็นรัฐธรรมนูญ” มิใช่รับรองอย่างแข็งขันหรือโดยใจสมัคร (แบบที่ณัฐพลฯ มักอ้างเสมอ ๆ โดยไม่มีหลักฐานอ้างอิง)

จึงกล่าวได้ว่า การรับรองอย่างรวดเร็วนี้ “เป็นสำนวนของ Handley” แต่เพียงผู้เดียว (โดยไม่มีเอกสาร/หลักฐานสนับสนุนเลย) และต่อมาถูกนำมาขยายผลโดย ณัฐพล ใจจริง ผ่านงานวิทยานิพนธ์และหนังสือของเขานั่นเอง (วิทยานิพนธ์ของณัฐพลฯ เขียนเสร็จหลังจากที่หนังสือ The King Never Smiles ตีพิมพ์ไปแล้วไม่นานมากนัก หนังสือของ Hanley เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2549 ณัฐพลฯ เขียนวิทยานิพนธ์เสร็จและสอบผ่านในปี พ.ศ. 2552)

อย่างไรก็ดี Handley ก็ยังอุตส่าห์ยกข้อมูลแย้งจากงานวิชาการของ กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร (Kobkua Suwannathat-Pian) ที่ปรากฏในหนังสือ Thailand’s Durable Premier ซึ่งระบุว่ากรมขุนชัยนาทฯ ถูกบังคับให้เซ็นฯ เพื่อให้ดูว่ามีความเป็นกลางทางด้านวิชาการ ที่ไม่ “ชี้นำ” จนเกินงาม ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้ เราสามารถพบได้ทั่วไปในงานที่เป็นงานวิชาการ

แต่สำหรับ ณัฐพล ใจจริง เขากลับไม่เคยกล่าวถึงกรณี “กรมขุนชัยนาทฯ ถูกบังคับให้เซ็นฯ ” นี้เลย ทั้งๆ ที่เอกสารเหล่านั้นเขาก็เคยใช้และผ่านตามาแล้วทั้งสิ้น

จึงมิพักต้องสงสัยเลยว่า ณัฐพล ใจจริง น่าจะมีความประสงค์อะไรบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ในการ “ชี้นำ” ทางด้านวิชาการเช่นนี้

นอกจากนั้นแล้ว ที่น่าสงสัยอย่างยิ่ง คือ เป็นไปได้อย่างไรว่าข้อความ “Palace support for the coup was evident in how quickly the regent, Prince Rangsit, approved it.” (แปลว่า “การสนับสนุนของวังต่อการรัฐประหารนั้นเห็นได้ชัดจากการที่กรมขุนชัยนาทฯทรงรับรองการรัฐประหารอย่างรวดเร็ว”) ของ Handley
กับข้อความ “กรมขุนชัยนาทนเรนทรทรงรับรองการรัฐประหารอย่างรวดเร็ว” ของ ณัฐพล ใจจริง จะมีความคล้ายคลึงกันถึงเพียงนี้ !

หรือจริงๆ แล้วมันคือการถอดความจากภาษาอังกฤษเป็นไทยจากประโยคเดียวกัน ??

เพราะสำนวนการแปลจากอังกฤษเป็นไทยนี้แทบจะลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ (how quickly the regent, Prince Rangsit, approved it.) และหากสมมติฐานของเราที่ว่า ณัฐพล ใจจริง ได้ “ยก” เอาข้อความของ Handley ไปใช้เขียนวิทยานิพนธ์แทบทั้งประโยคและตรงตามสำนวนอย่างไม่น่าเชื่อ

แต่เหตุใดณัฐพลฯ จึงไม่ยอมอ้างอิงหนังสือเล่มนี้ ? หรือเพราะทราบแก่ใจว่าหนังสือ The King Never Smiles เป็นหนังสือต้องห้ามใช่หรือไม่ ? แต่ด้วยใจปรารถนาที่จะให้มีข้อความกระทบถึงกรมขุนชัยนาทฯ เขาจึงเลือกไม่อ้างอิง The King Never Smiles

ดังนั้นก็เข้าใจได้ว่า คงเป็นเรื่องน่าอับอายและน่าโห่ฮาพิลึก หากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของมหาลัยชื่อดังของไทย กลับใช้ข้อมูลจากหนังสือต้องห้ามที่เต็มไปด้วยข้อผิดพลาดทางวิชาการเต็มไปหมด ณัฐพลฯ จึงไม่อ้าง The King Never Smiles ของ Handley แต่กลับนำหนังสือเล่มอื่นๆ มาอ้างอิงแทน 2-3 เล่ม

แต่มีความเสียใจที่จะบอกว่า หนังสือพวกนั้นพอพวกเรา (ทุ่นดำ-ทุ่นแดง) ตามไปสืบค้น ก็ไม่พบว่ามีข้อความตรงกันแต่อย่างใด จนกระทั่งมาพบกับข้อความใน The King Never Smiles นี้ ซึ่งจริงๆ ถ้าณัฐพลฯ อ้าง The King Never Smiles ก็จบ ไม่เห็นต้องอ้างปากของนักวิชาการท่านอื่น ให้มาเกลือกกลิ้งกับงานวิชาการอันฉาวโฉ่นี้เลย

ช่างน่าเสียใจจริง ๆ

[ตอนที่ 1 ประเด็นการใช้หลักฐานอ้างอิงบางส่วนในหนังสือ The King Never Smiles]

[ตอนที่ 2 ความคล้ายคลึงของเนื้อหาในหนังสือของ Paul Handley กับ ผลงานของ ณัฐพล ใจจริง]

[ตอนที่ 3 ทุ่นดำ-ทุ่นแดง หักล้างทฤษฎีในหนังสือ The King Never Smiles ของ Paul Handley และงานวิชาการของ ณัฐพล ใจจริง ด้วยเอกสารชั้นต้นร่วมสมัยของ CIA!]

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า