ตอบ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กรณีการแปลความในเอกสาร CIA

จากกรณีที่เพจ ฤา เผยแพร่บทความ “จากมุมมองของ CIA ต่อบทบาทโดยชอบธรรมของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในวิกฤตการเมืองของไทย” แล้วต่อมา เฟซบุ๊กแอคเคานต์ของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้ออกมาแย้งว่าบทความดังกล่าว ทีมงาน ฤา ได้แปลบิดเบือนด้วยความเห็นที่ว่า …

“ตาย คนเขียนท่าจะอ่านไม่แตก งานเขียนนี้ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ร.9 ‘evidently play an active role in the events leading to and subsequently to the army coup’”

อย่างไรก็ดี สมศักดิ์เองก็ทำได้เพียงแค่การ “แปะประโยคภาษาอังกฤษ” แล้วอ้างว่า “คนเขียนท่าจะอ่านไม่แตก” แต่น่าสังเกตว่า ตัวสมศักดิ์เองก็ไม่ได้แปลข้อความนี้เป็นภาษาไทยไว้แต่อย่างใด

แต่ทั้งนี้ ทาง ฤา ยังยืนยันคำแปลเช่นเดิมด้วยข้อความจากบทความข้างต้นที่ว่า …

“จากข้อมูลในเอกสาร CIA ดังกล่าว หากว่าผู้อ่านเอกสารฉบับนี้ไม่ได้มีภูมิหลังเกี่ยวกับเหตุการณ์รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 มาก่อน อาจคิดไปว่าการรัฐประหารครั้งนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีบทบาท ‘อย่างสำคัญในฐานะทรงเป็นชนวนที่นำไปสู่เหตุการณ์ยึดอำนาจ’ จนบางคนอาจตีความไปว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนรัฐประหารด้วยตั้งแต่แรก

ทั้งที่ความจริงแล้วคำว่า ‘ชนวน’ ในที่นี้ คือเหตุการณ์ที่ เผ่า ศรียานนท์ บุคคลหมายเลข 2 ในรัฐบาลจอมพล ป. กำลังโจมตีพระราชวงศ์อย่างรุนแรง เนื่องจากไม่สามารถทัดทานความนิยมในสถาบันพระมหากษัตริย์ของประชาชนในเวลานั้นได้ และในช่วงนั้นรัฐบาลจอมพล ป. ก็กำลังเสื่อมความนิยมลงเรื่อยๆ”

ทั้งนี้ ประโยคภาษาอังกฤษดังกล่าวควรจะแปลอย่างเคร่งครัดได้ว่า “ทรงมีบทบาทอย่างสำคัญ/แข็งขันในหลายๆ เหตุการณ์ที่นำไปสู่การรัฐประหารในท้ายที่สุด”

ซึ่งทาง ฤา ได้ลดทอนความซับซ้อนของประโยคดังกล่าวลงด้วยการใช้คำว่า “ชนวน” (แปลว่า ต้นเหตุ) ซึ่งผู้รู้ทางภาษาได้กรุณาเห็นพ้องด้วยแล้วว่าเป็นการแปลที่น่าจะเข้ากับบริบทของไทยมากที่สุด

นอกจากนี้ รูปประโยคเต็มๆ ดังกล่าว ไม่สามารถตีความได้ว่า “ทรงมีบทบาทสำคัญในการรัฐประหาร” เพราะ CIA ได้ระบุเงื่อนไขในอนุประโยคแล้วว่า “in the events”  แปลว่า ในหลายๆ เหตุการณ์ หาใช่โยงไปเรื่องการรัฐประหารในมิติเดียว

และเนื่องด้วยความซับซ้อนของรูปประโยคข้างต้น น่าจะทำให้แม้แต่สมศักดิ์เองก็ไม่กล้าถอดความ (play safe ตามสไตล์ของสมศักดิ์) เพราะคงไม่รู้ว่าจะใช้คำว่าอะไรในการถอดความหมายออกมาให้ครบถ้วนสมบูรณ์

แล้วเหตุการณ์ (events) ที่นำไปสู่การรัฐประหารมีอะไรบ้าง ?

ถ้าหากสมศักดิ์ไม่รู้ ทาง ฤา จะขอยกบางเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุแห่งการรัฐประหารอันเกี่ยวข้องกับการทำให้ในหลวง ร.9 ระคายเคืองพระยุคลบาท ดังนี้

  1. เหตุการณ์ที่เผ่า ศรียานนท์ (คนสนิทสำคัญของจอมพล ป.) เป็นผู้ควบคุมหนังสือพิมพ์ที่มีทัศนคติต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง นั่นคือ หนังสือพิมพ์ “ไทเสรี” ที่มักลงข่าวโจมตีพระราชวงศ์จักรีบ่อยครั้ง อาทิ เมื่อกลางปี พ.ศ. 2500 หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลฉบับดังกล่าวได้ลงข่าวแช่งให้สมาชิกในพระราชวงศ์ถึงแก่ความตายเพราะไม่เสด็จงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพฉลองอย่างใหญ่โต กรณีนี้ทำให้รัฐสภาในเวลานั้นปั่นป่วนและเป็นเดือดเป็นแค้นกับรัฐบาลมาก นอกจากนั้น ยังปรากฏบทความในหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวที่ลงข่าวหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในวันจักรี ปี พ.ศ. 2500 อีกด้วย

  2. รัฐบาล (นำโดยเผ่า) และ พรรคศรีอาริยเมตไตรย์ (พรรคการเมืองของเฉียบ ชัยสงค์ และสง่า เนื่องนิยม คนสนิทของปรีดี พนมยงค์) กำลังประทุษร้ายต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 ในกรณีสวรรคต โดยเฉพาะเฉียบและสง่านั้นมีบทบาทอย่างสูงเด่นในการปล่อยข่าวลือดังกล่าวในช่วงก่อนการรัฐประหารไม่นานนัก กรณีนี้ได้รับการยืนยันจากเอกสารของสถานทูตสหรัฐเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2500 และปรากฏในการอภิปรายในรัฐสภา

  3. ช่วงประกาศภาวะฉุกเฉินหลังการเลือกตั้งสกปรกช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2500 นั้น เผ่า ศรียานนท์ ต้องการให้พลโทถนอม กิตติขจร “จับพระมหากษัตริย์” แต่ถนอมได้ปฏิเสธไป เรื่องนี้ปรากฏทั้งในเอกสารของสถานทูตสหรัฐเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2500 และในรายงานการประชุมรัฐสภา (ส.ส. พีร์ บุนนาค พรรคไฮปาร์ค)

จาก 3 เหตุการณ์ (events) ข้างต้นนี้ คงจะเพียงพอแล้วมิใช่หรือ? ที่จะทำให้จอมพลสฤษดิ์ และบรรดานายทหารในคณะรัฐประหาร 2490 รุ่นหนุ่มตัดสินใจรัฐประหารเสียก่อนที่เหตุการณ์ความรุนแรงจะบานปลายออกไป

ควรบันทึกด้วยว่า การรัฐประหารครั้งนี้ไม่ได้มีเพียงตัวแสดงที่เป็นรัฐบาลที่เป็นทหาร/ตำรวจ กับฝ่ายทหารฝั่งสฤษดิ์เท่านั้น จากรายงานหนังสือพิมพ์และเอกสารชั้นต้นร่วมสมัย ยังกล่าวถึงม็อบของประชาชนที่ออกมาประท้วงขับไล่จอมพล ป. และเผ่า อย่างล้นหลามตั้งแต่ช่วงวันที่ 13 – 15 กันยายน ถึงขั้นว่าขู่จะจับเผ่าแขวนคอเสีย และเรียกร้องให้จอมพลสฤษดิ์ออกมาเป็นนายกฯ

การที่สมศักดิ์แสร้งตีมึนแล้วโบ้ยกล่าวหาว่า ฤา แปลความผิดเช่นนี้ สมศักดิ์ใช้วิธีการอย่างศรีธนชัย กล่าวคือใช้เครดิตชื่อเสียงตัวเอง (ที่แทบจะไม่เหลืออยู่แล้ว) มากล่าวหาว่าผู้อื่นแปลผิด (แต่ตัวเองกลับชี้แจงไม่ได้ว่าผิดอย่างไร)

ในครั้งนี้สมศักดิ์ควรต้องออกมาให้เหตุผลด้วยว่า เหตุการณ์ (events) ที่ ฤา ยกมานี้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ระหว่างบรรทัดที่ CIA ได้ระบุไว้ในเอกสารข้างต้นหรือไม่ เพราะไม่ว่าจะอ่านอย่างไร รูปแบบประโยคดังกล่าวได้ชี้นำไปถึงเหตุการณ์ (events) มากกว่าที่จะเป็นตัวพระองค์ (ร.9) ในทุกๆ กรณี

อ้างอิง :

[1] รายงานประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 10/2500 (สามัญ) วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2500.
[2] NARA, RG 59 General Records of Department of State, Entry Thailand 1955-1959 Box 3909, Memorandum of conversation Brigadier General Wallop Rojanawisut, Colonel Edward Lansdale and Kenneth T. Young, 24 October 1957.
[3] ปากเหล็ก (นามปากกา) . ปฏิวัติ (Revolution), (กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ ป. 8.8.) 2502.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า