ชัดเจนไม่คลุมเครือ! ย้อนดูคำวินิจฉัยสำคัญ คดีล้มล้างการปกครอง

จากกรณี วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการกระทำของ นายอานนท์ นำภา, ไมค์ ภาณุพงศ์ และ รุ้ง ปนัสยา ในการชุมนุมปราศรัยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งมีการเสนอข้อเรียกร้อง 10 ข้อในการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง

ปรากฏว่าภายหลัง ได้มีกระแสปฏิเสธคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะคำแถลงการณ์ร่วมของ 23 องค์กรนิสิต นักศึกษา ที่อ้างว่าคำวินิจฉัยของศาลไม่เป็นธรรม และยืนยันว่า 10 ข้อเรียกร้อง ไม่ใช่การล้มล้าง หากแต่เป็นข้อเสนอให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และการชุมนุมของแกนนำทั้ง 3 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และไม่มีเจตนาล้มล้างการปกครอง

ก่อนอื่นเรามาย้อนดูคำวินิจฉัยของศาลในส่วนที่สำคัญกันอีกครั้ง โดยก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาคำวินิจฉัย ศาลได้อ่านข้อโต้แย้งของฝ่ายผู้ถูกร้องทั้ง 3 ที่ระบุว่า คำร้องมีเนื้อหาคลุมเครือไม่ชัดเจนและไม่ครบองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 49 ซึ่งศาลชี้ว่า

“ผู้ถูกร้อง ปราศรัยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ในเวทีธรรมศาสตร์จะไม่ทน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต มีเนื้อหาบิดเบือนจาบจ้วง ล้อเลียน หมิ่นพระบรมเดชานุภาพสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการกระทำที่มีเจตนาล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49

โดยผู้ร้องได้ยื่นเอกสารต่าง ๆ รวมถึงการถอดคลิปเสียงคำปราศรัย ที่แสดงถึงการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 กับพวก ประกอบมาท้ายคำร้อง จึงถือว่าคำร้องดังกล่าวมีความชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้ถูกร้องทั้ง 3 เข้าใจสภาพการกระทำที่ถูกกล่าวหาสำหรับการต่อสู้คดีได้

ในส่วนนี้ ศาลชี้ให้เห็นว่า เอกสารต่าง ๆ ของผู้ร้องครบถ้วน ทำให้คดีนี้มีพยานหลักฐานเพียงพอต่อการวินิจฉัยได้แล้ว ข้อโต้แย้งของฝ่ายผู้ถูกร้องจึงตกไป

ทีนี้เรามาดูกันว่า ทำไมศาลจึงวินิจฉัยว่าพฤติการณ์ของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยส่วนสำคัญของคำวินิจฉัยมีดังนี้

“…ข้อเรียกร้องที่ขอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่รับรองพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในฐานะทรงเป็นประมุขของรัฐ ที่ผู้ใดจะกล่าวหาหรือละเมิดมิได้นั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาทำลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดแจ้ง การกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็นการเซาะกร่อน บ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การออกมาเรียกร้องโจมตีในที่สาธารณะโดยอ้างการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ นอกจากเป็นวิถีที่ไม่ถูกต้อง ใช้ถ้อยคำหยาบคาย และยังไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เห็นต่างได้ด้วย อันจะเป็นกรณีตัวอย่างให้คนอื่นทำตาม

ผู้ถูกร้องทั้ง 3 ยังคงร่วมชุมนุมกับกลุ่มต่าง ๆ โดยใช้ยุทธวิธีเปลี่ยนแปลงรูปแบบการชุมนุม วิธีการชุมนุม เปลี่ยนแปลงผู้ปราศรัย ใช้กลยุทธ์แบบไม่มีแกนนำที่ชัดเจน แต่มีรูปแบบการกระทำอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มคนที่มีแนวคิดเดียวกัน การเคลื่อนไหวของผู้ถูกร้องทั้ง 3 และกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นขบวนการเดียวกัน มีเจตนาเดียวกันตั้งแต่แรก ถูกผู้ถูกร้องทั้ง 3 มีพฤติการณ์กระทำซ้ำ และกระทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีการกระทำกันเป็นขบวนการ ซึ่งมีลักษณะของการปลุกระดม ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ มีลักษณะก่อให้เกิดความวุ่นวายและความรุนแรงในสังคม

ดังนั้นการกระทำใด ๆ ที่มีเจตนาเพื่อทำลาย หรือทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องสิ้นสลายไป ไม่ว่าจะด้วยวิธีการพูด เขียน หรือการกระทำต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลเป็นการบ่อนทำลาย ด้อยคุณค่า หรือทำให้อ่อนแอลง ย่อมแสดงให้เห็นถึงการมีเจตนาเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ การใช้สิทธิเสรีภาพของผู้ถูกร้องทั้งสามไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย การกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็นการอ้างสิทธิเสรีภาพเพียงอย่างเดียว ไม่ได้คำนึงถึงหลักความเสมอภาค ภราดรภาพ ผู้ถูกร้องทั้ง 3 ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างจากบุคคล รวมทั้งล่วงละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่นที่เห็นต่าง ด้วยการด่าทอ รบกวนพื้นที่ส่วนตัว ยุยงปลุกปั่น ด้วยข้อเท็จจริงที่บิดเบือนจากความเป็นจริง

ผู้ถูกร้องทั้ง 3 มีการจัดตั้งกลุ่มในลักษณะเป็นองค์กรเครือข่าย มีการใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง บางเหตุการณ์ผู้ถูกร้องทั้ง 3 มีส่วนในการจุดประกายในการอภิปรายปลุกเร้าให้เกิดความรุนแรงในบ้านเมือง ทำให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ อันเป็นการทำลายหลักความเสมอภาคและภราดรภาพ ผลการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 นำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นอกจากนี้ ยังปรากฏว่า การชุมนุมหลายครั้ง มีการทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ มีการแสดงออกโดยลบแถบสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีของพระมหากษัตริย์ออกจากธงไตรรงค์

ข้อเรียกร้องสิทธิ์ 10 ข้อของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เช่น การยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ การยกเลิกการรับบริจาคโดยพระราชกุศล การยกเลิกพระราชอำนาจ และการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ เป็นข้อเรียกร้องที่ทำให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของชาติไทย ที่ยึดถือปฏิบัติกันตลอดมา แสดงให้เห็นมูลเหตุจูงใจว่า ผู้ถูกร้องทั้ง 3 มีเจตนาซ่อนเร้น เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป การใช้สิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็นการแสดงความคิดเห็นที่ไม่สุจริต เป็นการละเมิดกฎหมายมีมูลเหตุจูงใจ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา 49 วรรคหนึ่ง

จะเห็นได้ว่า การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้น ไม่ได้มุ่งเน้นพิจารณาข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ของ 3 แกนนำเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการวินิจฉัยตามเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งชี้ชัดว่าแกนนำทั้ง 3 มีเจตนาล้มล้างระบอบการปกครอง

และกับคำถามที่ว่า การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีความเป็นธรรมหรือไม่? ก็ให้ลองย้อนกลับไปดูการชุมนุมปราศรัย “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ซึ่งสามารถหาชมได้ทั่วไปในโลกออนไลน์ จะพบว่าการปราศรัยของแกนนำทั้ง 3 ล้วนเต็มไปด้วยพฤติกรรมปลุกเร้า บิดเบือนข้อเท็จจริง และยุยงปลุกปั่นด้วยคำพูดเผ็ดร้อน ไม่ว่าจะเป็น…

“สถาบันพระมหากษัตริย์พยายามใช้อำนาจผ่านการรัฐประหารปี 2557 พระมหากษัตริย์ ถ้ายังเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องไม่เซ็นรับรองการรัฐประหาร หากการรัฐประหารเกิดขึ้น พระมหากษัตริย์ต้องอยู่ฝ่ายประชาธิปไตยเท่านั้น”

– อานนท์ นำภา

“ปัจจุบันผมคิดว่าการใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยังใช้ยาวมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน เพราะกษัตริย์อยู่เหนืออำนาจอธิปไตยทั้ง 3 คืออำนาจตุลาการ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ … และที่บอกว่าอยู่เหนืออำนาจอธิปไตย คือการอยู่เหนืออำนาจของประชาชน โดยที่ประชาชนไม่สามารถแตะต้องได้ เพราะถ้าใครแตะต้อง คนนั้นต้องโดนมาตรา 112”

– ไมค์ ภาณุพงศ์

“พระมหากษัตริย์ยังคงทรงอำนาจแทรกแซงเหนือการเมือง เมื่อเกิดรัฐประหาร พระมหากษัตริย์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งหัวหน้ารัฐประหาร รวมทั้งถ่ายโอนงบประมาณแผ่นดินเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทรงใช้พระราชอำนาจนอกกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติ และให้สามารถเสด็จไปประทับนอกราชอาณาจักรได้โดยไม่ต้องแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รัฐบาลเผด็จการยอมสยบอยู่ภายใต้มือของพระมหากษัตริย์ ด้วยอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเขา”

– รุ้ง ปนัสยา

เห็นได้ชัดว่าการปราศรัยของแกนนำ ไม่ใช่เป็นการเรียกร้องตามสิทธิและเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นการเร่งเร้าหวังให้เกิดความรุนแรง กระทั่งผู้ร่วมชุมนุมต่างตะโกนโห่ร้องขึ้นมาบนเวทีว่า “ไม่ต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์” และการชุมนุมในครั้งต่อ ๆ มา ก็มีแกนนำหมุนเวียนกันขึ้นมาปลุกเร้า โกหกด้วยข้อมูลเท็จ และแสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ อันเข้าข่ายนำไปสู่แนวคิดล้มล้างระบอบการปกครอง

ซึ่งพฤติการณ์ทั้งหมดนี้ ล้วนสอดคล้องกับการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น

สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก คือหนึ่งในแกนหลักแห่งประชาธิปไตย แต่การแสดงออกนั้นควรต้องอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพึงระวังในเรื่องละเอียดอ่อน และเรื่องที่อาจจะนำไปสู่ความแตกแยกของผู้คนในสังคม ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ “ไม่มี” อยู่ในการชุมนุมปราศรัยบนเวทีธรรมศาสตร์จะไม่ทน หรือการชุมนุมประท้วงในครั้งต่อ ๆ มาของม็อบปลดแอกเลย

การปราศรัยของสามแกนนำ เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยจริงหรือ การชุมนุมในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 เป็นการแสดงออกที่ไม่มีเจตนาซ่อนเร้นใด ๆ ใช่หรือไม่ เชื่อว่าแม้แต่ตัวของผู้ที่อยู่ในการชุมนุมเองก็คงมีคำตอบอยู่ในใจ คำตอบที่แม้แต่รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังยืนยันชัดเจนว่า การชุมนุมปราศรัยบนเวทีธรรมศาสตร์ในวันนั้น คือการแสดงออกที่เลยขอบเขตของกฎหมาย

ที่มา :

[1] คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 10 พฤศจิกายน 2564
[2] เนื้อหาการปราศรัย ธรรมศาสตร์จะไม่ทน 10 สิงหาคม 2563

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ต