จาก ‘ร่างทรง’ เหวี่ยงย้อนเวลาถึง ‘แหวนวิเศษ’ มรดกหนังเงียบที่สมบูรณ์แบบที่สุดของประเทศ

หนังหรือภาพยนตร์ถือเป็นอีกความบันเทิงที่ใกล้ตัวคนไทยเรานะครับ เพราะจากที่เห็นกันตามโรงภาพยนตร์ในช่วงปกติ ที่ไม่มีโควิด-19 มาคุกคาม คนไทยเราดูหนังกันเยอะมาก ดูจากรายได้ที่ทำกันเป็นร้อย ๆ ล้าน แล้วไม่ได้มีแค่เรื่อง-สองเรื่อง หนังที่เข้าฉายก็หลากหลาย คนไทยเราได้ดูทั้งหนังฝรั่ง, จีน, ญี่ปุ่น หรือหนังอินเดีย ที่บางทีก็มีหนังสิงโปร์, อินโดนีเซีย กระทั่งอิหร่าน มาแจม เยอะจริง ๆ ครับ

และที่ขาดไม่ได้ หนังไทยเราเอง ซึ่งไม่ใช่แค่ทำกันเองดูกันเองนะครับ หลายเรื่องเลยที่ Go Inter ได้สบาย ๆ และได้ไปด้วย ส่วนคนทำหนังไทย ก็มีไม่น้อยที่นานาประเทศยอมรับเรื่องฝีมือ อย่าง ‘ร่างทรง’ ที่กำกับโดยคุณบรรจง ปิสัญธนะกูล ก็ได้บริษัทสร้างภาพยนตร์ของเกาหลีมาร่วมสร้าง ซึ่งปีนี้ ‘ร่างทรง’ จะเป็นตัวแทนไทยเรา เข้าชิงรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 94 สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม (Best International Features) ที่ต้องมาลุ้นกันครับว่า จะไปได้ไกลขนาดไหน บนเวทีรางวัลที่จัดงานมาเกือบร้อยครั้งรางวัลนี้

แต่ที่มาไกลเหลือเกินก็คือ ภาพยนตร์ไทยเรานี่ละครับ จากปี 2466 ที่มีหนังยาวเรื่องแรกของบ้านเรา ‘นางสาวสุวรรณ’ ออกฉาย ที่ก็พูดไม่ได้เต็มปากนะครับว่าเป็นหนังไทย ด้วยความที่สร้างโดยบริษัทฝรั่ง – ยูนิเวอร์ซัล แต่ใช้นักแสดงไทย ถ่ายทำในบ้านเรา

ปี 2470 เราก็มีหนังไทยที่เป็นผลงานของคนไทยแท้ ๆ เรื่องแรก สร้าง-แสดง-ถ่ายทำในบ้านเราออกฉายให้ชม เรื่อง ‘โชคสองชั้น’ ครับ หนังเรื่องนี้เป็นผลงานของบริษัทกรุงเทพภาพยนตร์ ที่ยังได้ชื่อว่าเป็นหนังสร้างเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย แถมออกฉายแล้วประสบความสำเร็จมากมายในยุคนั้น

แต่น่าเสียดายครับ ที่หากจะหาชมกัน ‘โชคสองชั้น’ มีให้ชมแค่เป็นคลิปสั้น ๆ ตัดฉากต่าง ๆ ของหนังที่พอจะชมได้มารวมกันความยาวแค่ 50 กว่าวินาทีเท่านั้นเอง (ใครที่อยากชม คลิกชมได้ที่นี่เลยครับ หามาให้เรียบร้อยแล้ว โชคสองชั้น (๒๔๗๐) หนังไทยเรื่องแรก Chok Song Chun 1927)

แต่เรายังมี ‘แหวนวิเศษ’ ที่ไม่ได้หมายถึงแหวนที่จะมาเสกหนัง ‘โชคสองชั้น’ ให้ดูกัน แต่เป็นชื่อหนังอีกเรื่องหนึ่งครับ ซึ่งตัวหนังเรื่องนี้ ถือเป็นมรดกหนังเงียบที่สมบูรณ์แบบที่สุดของประเทศไทยเรา และที่สำคัญยังหาชมได้!!!

‘แหวนวิเศษ’ เป็นหนังที่ถ่ายทำด้วยฟิล์มขาว-ดำ 16 มม. ความยาว 25 นาที และสร้างขึ้นมาในปี 2471 ครับ

เรื่องราวก็เรียบง่าย ว่าด้วยชาวประมงคนหนึ่ง ที่เอาลูกเลี้ยงห้าคนไปปล่อยที่เกาะร้างเพราะความเกลียดชัง แต่แล้วเด็ก ๆ กลับพบพรายน้ำ ที่มอบแหวนวิเศษให้พวกเขา ทำให้ สามารถบันดาลสิ่งต่าง ๆ ให้กับตัวเองได้

การเล่าเรื่อง ก็เหมือนกับหนังเงียบทั่วไป มีคำอธิบายเหตุการณ์ หรือประโยคสนทนาสั้น ๆ ที่เรียกว่า อินเตอร์ไทเทิล (Inter Title) คั่นฉาก แต่ที่เป็นเสน่ห์ของหนังเรื่องนี้เลย ก็คือ อารมณ์ขันแบบตลกร้ายครับ บางมุขอาจจะเรียกรอยยิ้มเบา ๆ แต่บางมุขก็ขำหนักเล่นเอาหัวเราะเลยด้วยซ้ำ ซึ่งแสดงถึงไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ของคนทำงานได้ชัดเจนมาก ๆ พูดง่าย ๆ ก็คือมีมุขนั่นล่ะ

โดยผู้ที่ทำหน้าที่เขียนบทและกำกับหนังเรื่อง ‘แหวนวิเศษ’ ก็คือ นายน้อย ศรศักดิ์ ที่ยังสวมหมวกผู้อำนวยการสร้างอีกหนึ่งตำแหน่ง

ซึ่งนายน้อย คนนี้ก็ไม่ใช่ใครอื่น เพราะนี่คือนามแฝงของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวง รัชกาลที่ 7 นั่นเองครับ โดยทรงถ่ายทำขณะเสด็จประพาสทางทะเลในอ่าวไทยเมื่อปี 2471 แล้วให้บรรดาเชื้อพระวงศ์ที่ร่วมเดินทางเป็นนักแสดง

จากความสำเร็จของ ‘โชคสองชั้น’ รวมถึงหลักฐานที่เป็น ‘มรดกหนังเงียบที่สมบูรณ์แบบที่สุดของประเทศไทย’ ของ ‘แหวนวิเศษ’ มาถึงการไปออสการ์ของ ‘ร่างทรง’ รวมถึงความสำเร็จในต่างประเทศของหนังไทยและคนทำหนังไทย อีกหลายเรื่อง หลายคน

หนังไทย เดินทางมาไกลเหลือเกิน และเชื่อด้วยว่า ยังทอดต่ออีกยาวไกล

ทิ้งท้ายด้วยภาพยนตร์เรื่อง ‘แหวนวิเศษ’ ใครที่อยากชม คลิกที่ลิงก์ได้เลยครับ > แหวนวิเศษ (๒๔๗๒)

แล้วถ้าหากอยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโรงภาพยนตร์ในสยาม ก็คลิกอ่านต่อได้เลยที่นี่ > กำเนิด ‘ศาลาเฉลิมกรุง’ และพระอัจฉริยภาพด้านงานภาพยนตร์ ของในหลวงรัชกาลที่ 7

บทความโดย: ทีมห้องใต้หลังคา
TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า