จะเกิดอะไรขึ้น?…หากเค้าโครงการเศรษฐกิจ ของปรีดี พนมยงค์ ถูกนำมาประกาศใช้ – ตอนต้น

เราเคยลองสมมติเล่น ๆ ว่า จะเป็นยังไงถ้ารัฐบาลประกาศใช้นโยบายของคณะราษฎรในการบริหารประเทศ ผลปรากฏว่า เอ๊ะ!…นี่มันเกาหลีเหนือชัดๆ งั้นอย่ากระนั้นเลย ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว เอาร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจของ ปรีดี พนงยงค์ มาประกาศใช้ด้วยเลยดีกว่า

เค้าโครงการเศรษฐกิจที่รับประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ทุกคนจะมีงานทำ รัฐบาลจะประกอบการเศรษฐกิจเอง โดยเป็นทั้งผู้ลงทุนและบริหารกิจการเองทุกอย่าง เรียกได้ว่าเป็นการหยิบข้อดีของลัทธิต่างๆ มารวมกันเป็นเค้าโครงเศรษฐกิจเลยทีเดียว

ในตอนต้นนี้ เรามาดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้น?…หากเค้าโครงการเศรษฐกิจถูกนำมาประกาศใช้

ในเค้าโครงการเศรษฐกิจ ทำไมต้องกำหนดทิศทางการใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลของประชาชน? ถ้ารัฐผูกขาดในการประกอบการทางเศรษฐกิจเองแล้วจะไปรอดไหม? เค้าโครงการเศรษฐกิจสะท้อนความคิดของปรีดี พนมยงค์ อย่างไร? เราไปหาคำตอบกัน

1. ประชาชนจะถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดินของตนเองมากขึ้น

ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ มุ่งกำหนดทิศทางการใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลของประชาชนมากเกินไป ทั้ง ๆ ที่ในสมัยนั้น (หรือเกือบหนึ่งร้อยปีก่อน) ยังมีที่ดินอีกเป็นจำนวนมากในประเทศไทยที่ยังไม่มีใครบุกเบิกและจับจอง ดังนั้น จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า เหตุใดปรีดี พนมยงค์ จึงพยายามมุ่งควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินนัก บางคนจึงสันนิษฐานว่า ที่ดินเหล่านั้นอาจจะเป็นที่ดินในเขตกรุงเทพหรือปริมณฑล ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงมากกว่าที่จะเป็นที่ดินโดยทั่วไป

2. เป็นการสร้างภาระให้แก่รัฐบาลโดยไม่จำเป็น ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นรัฐล้มเหลวจากการที่รัฐดำเนินกิจการขาดทุน

ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจเขียนขึ้นบนความเพ้อฝันที่ว่า รัฐบาลสามารถควบคุมดูแลปัจจัยทางการผลิต เงินทุน รวมถึงกำลังคนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความแน่นอน พูดง่าย ๆ คือรัฐบาลประกอบการเศรษฐกิจเอง เป็นผู้ลงทุนและบริหารกิจการเองทุกอย่าง ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สวนทางกับความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง และได้รับการพิสูจน์จากหลาย ๆ ประเทศในปัจจุบันแล้วว่า “ทำจริงไม่ได้” และเสี่ยงต่อการตกเป็นรัฐล้มเหลวจากการที่รัฐบาลลงทุนเองและควบคุมระบบเศรษฐกิจผิดพลาด เช่น ประเทศจีนในยุคเหมา เจ๋อ ตง เป็นต้น

สำหรับประเทศไทยจะเห็นได้ว่า สุดท้ายแม้แต่รัฐบาลสมัยพระยาพหลพลพยุหนเสนาเองก็ไม่กล้าดำเนินตามเค้าโครงการเศรษฐกิจของปรีดี และหันมาใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบ “ชาตินิยม” ในเวลาต่อมา

3. เป็นแผนเศรษฐกิจที่ไม่ได้ถูกเขียนอยู่บนสถานการณ์ที่เป็นจริง

การเขียนแผนระยะยาวหรือแผนพัฒนาใด ๆ ขึ้นมาในระดับชาติ ควรวางอยู่บนสถานการณ์และเงื่อนไขทางสังคมที่เป็นจริงและมีความครอบคลุม ซึ่งจะทำให้แผนเหล่านั้นถูกนำมาถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ของแผนได้ แต่ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจถูกเขียนขึ้นจากมุมมองของปรีดี พนมยงค์ ซึ่งจัดเป็นชนชั้นกลางในลุ่มภาคกลาง ที่มองและตัดสินทุกอย่างบนพื้นฐานว่า ประเทศไทยทั้งประเทศมีลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบลุ่มเจ้าพระยาเหมือนกับที่ปรีดีคุ้นเคยเท่านั้น และเขายังมองสังคมไทยในแง่ร้ายเกินจริงไปหมด อาทิ การที่ปรีดีทึกทักเอาเองว่า “คนไทย 99 % ไม่มีที่ดินทำกิน” การเขียนโครงการเช่นนี้จึงเป็นการเขียนขึ้นบนความเท็จ สวนทางกับความเป็นจริงในสมัยนั้น ซึ่งปรากฏว่ายังมีที่ดินรกร้างจำนวนมากที่รอการบุกเบิกถางพงอยู่ทั่วประเทศ

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า