“คุกนรก” คณะราษฎร สิ่งไร้ประโยชน์ที่สร้างความเดือดร้อน ให้กับชาวไทยอย่างแสนสาหัส

ผลงานอันลือลั่นอย่างหนึ่งของรัฐบาลคณะราษฎร ที่ได้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยคือ การใช้ “ทัณฑนิคม” (Penal Colony) เป็นเครื่องมือในการกำจัดและกดขี่ผู้เห็นต่างทางการเมืองให้พ้นไปจากเส้นทางอำนาจของตน

นอกจากการเนรเทศ (exile) ผู้เห็นต่างไปในจังหวัดที่ห่างไกล เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้ว ยังมีการก่อตั้งทัณฑนิคมขึ้นในดินแดนทุรกันดารต่าง ๆ เช่น เกาะแก่งอันไกลโพ้น หรือป่าดิบชื้นในดินแดนมลายูที่ชุกชุมไปด้วยไข้ป่าและสัตว์ร้าย จากนั้นก็เนรเทศเหล่านักโทษทางการเมืองและนักโทษอื่น ๆ เข้าไปเพื่อบีบบังคับใช้แรงงาน ซึ่งวิธีการดังกล่าว เป็นสิ่งที่รัฐบาลคณะราษฎรนำมาใช้ครั้งแรกในประเทศไทย โดยไม่รู้สึกรู้สาถึงความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์อีกด้วย

“ทัณฑนิคม” (Penal Colony) ของคณะราษฎร ใช้รูปแบบเดียวกับที่อังกฤษเคยนำนักโทษจากเกาะบริเตน (Great Britain) ข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังทวีปออสเตรเลีย แล้วใช้แรงงานนักโทษเหล่านั้นในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐ และเมื่อมีกำหนดพ้นโทษแล้ว นักโทษเหล่านั้นสามารถตั้งหลักปักฐานที่ออสเตรเลียต่อได้เลย ซึ่งรัฐบาลอาณานิคมจะจัดสรรที่ดินทำกินไว้ให้ด้วย

ฟังดูเหมือนจะดี แต่ความจริงที่เกิดขึ้นคือ สิ่งที่นักโทษไทยในสมัยรัฐบาลคณะราษฎรต้องประสบพบเจอนั้น แตกต่างจากนักโทษในออสเตรเลียของอังกฤษชนิดสุดขั้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล กับ คุกธารโต จังหวัดยะลา ในช่วง พ.ศ. 2479 – 2490

“คุกตะรุเตา” จังหวัดสตูล เป็นเกาะกลางทะเลลึกและยากแก่การหลบหนี ไม่มีเรือผ่านไปมา ทั้งรอบเกาะยังเต็มไปด้วยฉลามและจระเข้ชุกชุม ผู้ที่ถูกส่งตัวมายังคุกนรกแห่งนี้ส่วนใหญ่เป็นนักโทษการเมืองที่ย้ายมาจากเรือนจำบางขวาง โดยเฉพาะนักโทษคดีกบฏบวรเดชและกบฏนายสิบ เหล่านักโทษในเกาะตะรุเตาจะถูกบังคับทำงานหนักอย่างแสนสาหัส ถูกทุบเฆี่ยน ตีตรวนอย่างทารุณ นักโทษที่นี่จะถูก “ขังลืม” ชนิดตัดขาดจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิง ใครที่หลบหนีหากถูกจับได้แล้วต่อสู้ขัดขืน ก็จะได้รับบทลงโทษสถานเดียวคือ ความตาย

“คุกธารโต” จังหวัดยะลา ทัณฑนิคมกลางป่าลึกที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและไข้มาลาเรีย มีผู้บัญชาการจำนวน 3 คน คือ นายสงวน ตุลารักษ์, ขุนนิยม บรรณสาร และนายเจือ บุญวงศ์รักษ์ โดยนักโทษทางการเมืองและนักโทษคดีอุกฉกรรจ์จากทั่วประเทศจะถูกส่งมากักขังยัง “นรกธารโต” แห่งนี้ ซึ่งนักโทษที่ถูกคุมขังที่นี่ส่วนใหญ่มักเสียชีวิตลงด้วยไข้ป่า

ทัณฑนิคมธารโต ยังเป็นสถานที่ทดลอง “ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ” ของปรีดี พนมยงค์ อีกด้วย โดยผู้ริเริ่มดำเนินการคือ นายสงวน ตุลาลักษ์ สมาชิกคณะราษฎร ผู้บัญชาการทัณฑนิคมแห่งนี้นั่นเอง วิธีการคือรัฐจะจัดสรรทรัพยากรให้แก่นักโทษ เช่น มีการจัดสรรที่ดินทำกิน อุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ และมีกิจการที่นักโทษต้องใช้แรงงานร่วมกันคล้ายลักษณะนารวมแบบคอมมิวนิสต์ แต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นกิจการโรงเลื่อยของทัณฑนิคมไม้และการปลูกพืชกสิกรรมแทน

ซึ่งต่อมากิจการทุกอย่างทั้งหมดในทัณฑนิคมธารโตล้วน “ล้มเหลวและขาดทุนอย่างย่อยยับ”

นายสงวน ตุลารักษ์ ผบ.เรือนจำธารโต (คนกลาง) รูปนี้ถ่ายที่ ทัณฑสถานนิคมธารโต จังหวัดยะลา ในปี พ.ศ. 2479

ต่อมานายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสตูล ได้มีหนังสือถึงนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เรียกร้องให้ยุบเลิกนโยบายนี้เสีย เพราะทัณฑนิคมทั้งสองแห่งนี้ มีแต่ความโหดร้ายและไร้ประโยชน์ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรอย่างมากมายนับตั้งแต่สร้างมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังมีแต่เพิ่มปริมาณโจรผู้ร้ายให้มากขึ้น

จากความล้มเหลวในกิจการต่าง ๆ ทำให้งานของทัณฑนิคมทั้งสองแห่งส่วนใหญ่ก็ไม่มีอะไร ที่ดินเรือนจำของนิคมธารโตก็เป็นการใช้อำนาจบุกรุกเอาไปจากราษฎร ส่วนนิคมตะรุเตานั้นนอกจากไม่มีกิจการงานใด ๆ แล้ว ยังกลายเป็น “สถานที่ฆ่าคน” ดี ๆ นี่เอง จากสภาพธรรมชาติและการคุมขังนักโทษที่เต็มไปด้วยความโหดร้ายบนเกาะแห่งนี้

ซึ่งจริง ๆ แล้ว นโยบายของรัฐบาลคณะราษฎรในการจัดตั้งทัณฑสถานทั้งสองแห่งนี้ ก็เพื่อที่จะเอาคนในภาคต่าง ๆ ไปผสมพันธุ์กับชาวพื้นเมือง หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “นโยบายกลืนชาติ” นั่นเอง แต่สุดท้ายนโยบายนี้ก็ไม่สำเร็จ เหตุเพราะเอาคนชั่วไปผสมพันธุ์กับคนดี แบบนี้มีใครเขาจะเล่นด้วย

ทั้งหมดนี้คืออีกหนึ่งโมเดลของคณะราษฎรในการใช้ “ทัณฑนิคม” เป็นเครื่องมือในการกำจัดผู้เห็นต่างทางการเมืองอย่างโหดร้ายป่าเถื่อน แถมยังใช้เป็นที่ทดลองกิจการและการใช้แรงงานอย่างพวกคอมมิวนิสต์อีกด้วย ซึ่งสุดท้ายก็ลงเอยด้วยความล้มเหลว แม้แต่อดีตประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสตูลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นตัวแทนที่มาจากพื้นที่ชายแดนใต้ ยังตราหน้าว่านโยบาย “ทัณฑนิคม”ของรัฐบาลคณะราษฎรที่เพิ่งถูกรัฐประหารไปหมาด ๆ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นั้น นอกจากจะไม่สร้างประโยชน์ใด ๆ ให้แก่รัฐแล้ว ยังเป็นนโยบายที่สร้างความเดือดร้อน ทั้งยังรุกล้ำและก่อกรรมทำเข็ญให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างมาก

อ้างอิง :

[1] สจช., (2) สร 0201.38/11, “สส. และผู้มีชื่อเสนอรายงานและเรื่องราวเกี่ยวด้วยพฤติการณ์และความเป็นไปของ 4 จังหวัดภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล)” (19 พฤศจิกายน 2490 – 1 พฤศจิกายน 2492)
[2] พิพิธภัณฑ์คุกธารโต : พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า