คำสารภาพของ ปรีดี พนมยงค์ ยอมรับความผิดพลาดในการร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ

“ข้าพเจ้าไม่มีความจัดเจน…บางครั้งข้าพเจ้าประยุกต์ทฤษฎีอย่างนักตำรา ข้าพเจ้าไม่ได้นำความเป็นจริง ในประเทศของข้าพเจ้ามาคำนึงด้วย ข้าพเจ้าติดต่อกับประชาชนไม่พอ ความรู้ทั้งหมดของข้าพเจ้าเป็นความรู้ตามหนังสือ ข้าพเจ้าไม่ได้เอาสาระสำคัญของมนุษย์มาคำนึงด้วยให้มากเท่าที่ข้าพเจ้าควรจะมี”

นี่คือคำสารภาพของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เกี่ยวกับความผิดพลาดในการร่าง “เค้าโครงเศรษฐกิจ” หรือที่รู้จักกันในนาม “สมุดปกเหลือง” ซึ่งเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2475 และเป็นต้นเหตุให้เกิดความแตกแยกกันอย่างรุนแรง ในคณะรัฐบาลชุดแรกของระบอบประชาธิปไตย

ช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยโต้แย้งเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ว่า เป็นการลอกแบบมาจากประเทศรัสเซีย ….สุดท้าย “สมุดปกเหลือง” ของปรีดี พนมยงค์ ก็ไม่ได้ถูกประกาศใช้ เนื่องจากไม่ผ่านการลงมติในสภา อีกทั้งในเวลาต่อมา แม้แต่ตัวผู้ร่างอย่างปรีดี ยังได้ออกมายอมรับความผิดพลาดของตนเอง ในการให้สัมภาษณ์ กับ เอเชียวีค ว่า “ทั้งหมดเกิดจากความไม่เจนจัดและการขาดประสบการณ์ของตน จนไม่คำนึงถึงความเป็นจริงของประเทศ”

แต่นายณัฐพล ใจจริง กลับยกคำพูดของปรีดี พนมยงค์ มาแค่บางส่วน และใส่ความคิดเห็นของตัวเองครอบลงไปว่า การปัดตกของเค้าโครงเศรษฐกิจ เกิดจากการที่ “กลุ่มอำนาจเก่า” ไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้พวกเขาศูนย์เสียอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจไป โดยนายณัฐพล ใจจริง ได้กล่าวหาด้วยว่า พระบรมราชวินิจฉัยจากในหลวงรัชกาลที่ 7 เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้ลดทอนความชอบธรรมของ ปรีดี พนมยงค์

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการกล่าวที่ “เลื่อนลอย” และ “ไม่มีมูลความจริง”

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเค้าโครงเศรษฐกิจ

เนื่องจากในการนำเสนอร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2476 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ลงมติ “ปฏิเสธ” การประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับนี้ ตามข้อเสนอของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ถึง 11 เสียง ได้แก่ พระยาราชวังวัน พระยาศรีวิสารวาจา พระยาวงษานุประพัทธ์ พระยาจ่าแสนยบดี พระยาเทพวิทูร พระยาทรงสุรเดช พระยาประศาสน์พิทยายุทธ หลวงสินธุ์สงครามชัย ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ร้อยโทประยูร ภมรมนตรี และพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเอง

และมีผู้ที่เห็นควรลงมติประกาศใช้เค้าโครงเศรษฐกิจเพียง 3 เสียง คือ พระยาประมวญวิชาพูล นายแนบพหลโยธิน และตัวหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเอง

ส่วนผู้ที่งดออกเสียง มี 5 คน คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี พระยาพหลพยุหเสนา พระยาฤทธิ์อัคเนย์ หลวงพิบูลสงคราม และนายตั้ว ลพานุกรม

ผลจากสมุดปกเหลืองที่เป็นประเด็นเผ็ดร้อนในช่วงการเมืองไทยขณะนั้น ต่อมา ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยโต้แย้งจากในหลวงรัชกาลที่ 7 เกี่ยวกับเค้าโครงฉบับนี้ โดยมีข้อสังเกตสรุปสาระสำคัญสั้นๆว่า

“โครงการนี้นั้นเป็นโครงการอันเดียวอย่างแน่นอนกับที่ประเทศรัสเซียใช้อยู่ ส่วนใครจะเอาอย่างใครนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบ สตาลินจะเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ฯ หรือหลวงประดิษฐฯ จะเอาอย่างสตาลินก็ตอบไม่ได้ ตอบได้ข้อเดียวว่า โครงการทั้ง 2 นี้ เหมือนกันหมด”

จากข้อมูลข้างต้น เป็นหลักฐานย้ำชัดว่า แม้แต่ในกลุ่มคณะราษฎรเอง ก็ยังไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจที่ ปรีดี พนมยงค์ อ้างว่าจะนำสยามไปสู่ยุคแห่งพระศรีอาริย์ อีกทั้งพระบรมราชวินิจฉัยโต้แย้งจากในหลวงรัชกาลที่ 7 ก็เป็นสิ่งยืนยันว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่พยายามเอาอย่างสตาลินนี้ ไม่เหมาะสมกับประเทศสยาม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปัดตกของเค้าโครงเศรษฐกิจ ก็เกิดจากการลงมติในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ไม่เห็นด้วยกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งร่างโดยผู้เป็นมันสมองของคณะราษฎรที่ยังขาดความจัดเจน และหากเค้าโครงเศรษฐกิจจะเป็นชนวนขัดแย้งให้เกิดความแตกแยกใด ๆ ก็ล้วนมาจากกลุ่มขั้วการเมืองทั้งสิ้น มิได้เกิดจากพระมหากษัตริย์ ตามที่นายณัฐพล ใจจริง พยายามดึงสถาบันฯ ลงมาเกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเกิดเป็นคำถามตามมาว่า บทสรุปของนายณัฐพล ใจจริง ที่มีต่อ “สมุดปกเหลือง” นั้น ครบถ้วนรอบด้านตามมาตรฐานที่นักวิชาการที่ดีพึงมีหรือไม่

สุดท้ายแล้วสิ่งที่จะนิยามความล้มเหลวของเค้าโครงเศรษฐกิจได้ดีที่สุดคือ หลักฐานที่ปรีดี พนมยงค์ กล่าวยอมรับความผิดพลาดของตนเองเอาไว้ ในการให้สัมภาษณ์ กับ เอเชียวีค เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2523 ความว่า

“ในปี ค.ศ. 1925 เมื่อเราเริ่มจัดตั้งกลุ่มแกน ของพรรคอภิวัฒน์ในปารีส ข้าพเจ้ามีอายุเพียง 25 ปีเท่านั้น หนุ่มมาก หนุ่มทีเดียว ขาดความจัดเจน แม้ว่าข้าพเจ้าได้รับปริญญาแล้วและได้คะแนนสูงสุด แต่ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าทางทฤษฎี ข้าพเจ้าไม่มีความจัดเจน และโดยปราศจากความจัดเจน บางครั้งข้าพเจ้าประยุกต์ทฤษฎีอย่างนักตำรา ข้าพเจ้าไม่ได้นำความเป็นจริง ในประเทศของข้าพเจ้ามาคำนึงด้วย ข้าพเจ้าติดต่อกับประชาชนไม่พอ ความรู้ทั้งหมดของข้าพเจ้าเป็นความรู้ตามหนังสือ ข้าพเจ้าไม่ได้เอาสาระสำคัญของมนุษย์มาคำนึงด้วยให้มากเท่าที่ข้าพเจ้าควรจะมี ในปี ค.ศ. 1932 ข้าพเจ้าอายุ 32 ปี พวกเราได้ทำการอภิวัฒน์ แต่ข้าพเจ้าก็ขาดความจัดเจน และครั้นข้าพเจ้ามีความจัดเจนมากขึ้น ข้าพเจ้าก็ไม่มีอำนาจ”

ที่มา :

[1] ปรีดี พนมยงค์, เค้าโครงการเศรษฐกิจหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
[2] วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์, 100 ปีของสามัญชนนาม ปรีดี พนมยงค์
[3] ณัฐพล ใจจริง, สมุดปกเหลือง : คนหนุ่มกับความพยายามเปลี่ยนแปลงรากเหง้าของสยาม

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า