“ความเหลื่อมล้ำ” ทางชั้นเชิงด้านกฎหมายของเสนาธิการเบื้องหลัง กับเหล่าแกนนำเบื้องหน้า

กว่าสองปีแห่งการเคลื่อนไหวทางการเมืองของม็อบปลดแอก ที่แกนนำต่างทยอยถูกจับกุมดำเนินคดีกันถ้วนหน้า กระทั่งมาถึงการวินิจฉัยครั้งสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ที่ตัดสินว่าการกระทำของ 3 แกนนำ รุ้ง อานนท์ ไมค์ เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เป็นการยืนยันได้ว่า การเรียกร้องของม็อบปลดแอก ที่มีนักการเมืองหลายคนคอยเป็นแบ็คอัพให้นั้น ไม่ใช่การเรียกร้องเพื่อความเท่าเทียมและต่อต้านความเหลื่อมล้ำใด ๆ เลย หากแต่มีเจตนาไปถึงการล้มล้างการปกครอง

พูดถึงความเท่าเทียม เราเองก็ไม่สนับสนุนให้มีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นเช่นกัน และจากที่เราสรุปข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับคดีความของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังดูแล้ว พบว่า…ช่างเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ เป็นความเหลื่อมล้ำจากการใช้ชั้นเชิงด้านกฎหมายของเหล่าเสนาธิการเบื้องหลัง เพื่อให้ตัวเองรอดพ้นคดี

แต่กลับส่งแกนนำทัพหน้าให้ไปติดคุกแทน

แบบนี้เรียกว่าความไม่เท่าเทียมได้ไหม? และถึงเวลาหรือยัง? ที่เราจะกำจัดความเหลื่อมล้ำจากการใช้ชั้นเชิงทางกฎหมายเหล่านี้ให้หมดไป