เมื่อผู้บริสุทธิ์ได้รับการ ‘ยกฟ้อง’ และผู้กล่าวหาโดยไม่มีมูลถูก ‘ฟ้องกลับ’ คดีตัวอย่างที่ย้ำชัดว่า ม.112 เอามาใช้กลั่นแกล้งกันไม่ได้

หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่กลุ่มผู้เรียกร้องยกเลิกกฎหมาย มาตรา 112 เอามาพูดถึงกันตลอดคือ มาตรา 112 เป็นกฎหมายที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งกันได้ เช่นถ้าใครต้องการเล่นงานฝ่ายตรงข้ามที่เขาแสดงความเห็นเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ไปแจ้งความดำเนินคดี มาตรา 112 ให้เขาติดคุกติดตารางไปเลย

ถามว่าในความเป็นจริงมันทำได้ง่ายๆ แบบนั้นหรือ ? คำตอบคือ “ไม่ใช่”

เพราะที่ผ่านมาก็มีให้เห็นแล้วว่า หลายคนที่ถูกแจ้งดำเนินคดี มาตรา 112 แล้วปรากฏว่า ศาลพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยไม่เข้าข่ายองค์ประกอบความผิด ผู้ถูกกล่าวหาเหล่านั้นต่างก็ได้รับการยกฟ้อง ซึ่งก็เป็นข้อพิสูจน์ว่ากฎหมาย มาตรา 112 เอามาใช้กลั่นแกล้งกันไม่ได้

อย่างในปีที่ผ่านมาก็มีคำพิพากษาให้ “ยกฟ้อง” ผู้ที่ถูกดำเนินคดีในมาตรา 112 ทยอยออกมาให้เห็นกันเรื่อยๆ ซึ่งเหตุผลที่ศาลพิจารณายกฟ้องคือ พฤติกรรมของผู้ถูกกล่าวหาไม่เข้าข่ายดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ หรือ หลักฐานของฝ่ายผู้ที่แจ้งความไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ซึ่งวันนี้ ฤๅ ขอนำรายละเอียดของคดีมาตรา 112 ที่สำคัญๆ มาให้รับทราบกัน

ตัวอย่างแรกคือคดีที่นายอิศเรศ อุดานนท์ ถูกแจ้งความดำเนินคดี มาตรา 112 ซึ่งเป็นคดีแรกๆ ในช่วงที่มีความวุ่นวายจากการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา โดยนายอิศเรศ ได้โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความเห็นประเด็นการไม่แต่งตั้งกษัตริย์องค์ใหม่หลังการสวรรคตของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยมีข้อความส่วนหนึ่งว่า “เกิน 24 ชม. ไม่แต่งตั้งกษัตริย์ก็คือศึกชิงบัลลังก์”

ซึ่งต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ศาลจังหวัดนครพนมได้ยกฟ้องคดีนี้ ด้วยเหตุผลว่า ข้อความของจำเลยไม่ได้เป็นการดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ตามคำกล่าวหาของฝ่ายโจทย์ โดยศาลได้พิจารณาตามองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับการดูหมิ่น หมิ่นประมาท ที่ระบุไว้อยู่ในข้อกฎหมาย ซึ่งการตัดสินว่าข้อความแบบไหนเข้าข่ายองค์ประกอบความผิด ศาลจะพิจารณาตามความรู้สึกนึกคิดของบุคคลทั่วไป ไม่ได้พิจารณาแค่ความรู้สึกของฝ่ายผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหาเพียงอย่างเดียว ซึ่งประเด็นนี้ทาง ฤๅ ก็เคยย้ำอธิบายอยู่บ่อยๆ

นอกจากนี้ ยังมีคดีอื่นๆ อีกหลายคดีในความผิดมาตรา 112 ที่ศาลมีคำสั่งยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าพฤติกรรมของจำเลยไม่เข้าข่ายองค์ประกอบความผิด

ยังมีคดีที่น่าสนใจ คือ คดีที่นายสุริยศักดิ์ ฉัตรพิทักษ์กุล อดีตแกนนำ นปช. ถูกกล่าวหาว่าทำผิด มาตรา 112 จากการที่นายสุริยศักดิ์ไปโพสต์ในกลุ่มไลน์ทำนองโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหลักฐานที่โจทก์ใช้กล่าวหาก็เป็นเพียงกระดาษหนึ่งใบที่พิมพ์มาจากการ capture หน้าจอโทรศัพท์ เป็นภาพแช็ตไลน์ของเจ้าของบัญชีที่ตั้งชื่อว่า “Suriyasak” และมีรูปโพรไฟล์ที่มีภาพรถยนต์ซึ่งจดหมายเลขทะเบียนในชื่อของนายสุริยศักดิ์

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ศาลอาญารัชดา ได้พิพากษายกฟ้องจำเลย ด้วยเหตุผลว่าพยานหลักฐานมีความขัดแย้งกันและพบพิรุธหลายประเด็น เช่น การเบิกความของพยานโจทก์ และการพิสูจน์ตัวตนของจำเลยในการใช้บัญชีไลน์

อีกหนึ่งกรณีที่คล้ายๆ กันคือกรณีของนายวารี (นามสมมติ) พนักงานรับจ้างอิสระ กับ นายพิพัทธ์ ชาวพิษณุโลก โดยนายวารีถูกกล่าวหาว่าได้โพสต์เฟซบุ๊กว่ามีการเลือกปกป้องพระมหากษัตริย์โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนนายพิพัทธ์ก็ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงพร้อมแทรกข้อความดูหมิ่น

ปรากฏว่าศาลได้พิจารณายกฟ้องทั้ง 2 คดี โดยศาลจังหวัดนราธิวาสยกฟ้องนายวารีทุกข้อกล่าวหา ด้วยเหตุผลว่าการเบิกความของพยานฝ่ายโจทก์ไม่มีความน่าเชื่อถือ และหลักฐานของผู้กล่าวหาไม่มีน้ำหนักเพียงพอ โดยภาพที่ผู้กล่าวหานำมาแจ้งความไม่มีหลักฐาน URL ประกอบ และผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้วเห็นว่าภาพมีการตัดต่อมา ส่วนกรณีของนายพิพัทธ์ ศาลจังหวัดสมุทรปราการพิจารณายกฟ้อง ด้วยเหตุผลว่าหลักฐานฝ่ายโจทย์เป็นแค่การ “capture ภาพหน้าจอ” ไม่ใช่สิ่งพิมพ์จากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง และผู้เชี่ยวชาญก็ลงความเห็นว่าสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัดต่อได้

จะเห็นได้ว่า การแจ้งดำเนินคดีในมาตรา 112 ไม่ได้ทำกันได้ง่ายๆ ผู้แจ้งความต้องมีหลักฐานให้ครบทั้ง ชื่อ-นามสกุล ผู้ก่อเหตุ ถ้าเป็น account ปลอมก็ต้องมีการก๊อบปี้ URL ของหน้า account นั้นๆ ส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญในการหาพิกัด IP Address ส่วนไฟล์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นคลิป เสียง รูปภาพ หรือข้อความ ก็ต้องมีการดาวน์โหลดออกมาแล้วปรินต์หน้าเว็บที่ติด URL มาด้วย จากนั้นก็ทำสำเนาไฟล์เพื่อส่งมอบให้กับพนักงานสอบสวน โดยทางเจ้าหน้าที่จะมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยตรวจสอบข้อมูลตรงนี้ด้วย และทุกขั้นตอนก่อนที่จะไปถึงชั้นศาลจะต้องมีการสอบสวนอย่างละเอียด ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีที่อ่อนไหว จึงมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบในการพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะ หากตำรวจสรุปสำนวนส่งไปอัยการแล้ว อัยการก็ต้องกรองสำนวนอีกครั้ง หากสอบสวนมาไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง อัยการก็ตีสำนวนกลับไปให้ตำรวจสอบสวนเพิ่ม หากอัยการเห็นว่ามีมูลก็ “ยื่นฟ้อง” ต่อศาล และอย่าลืมว่าคำฟ้องเป็นเพียงข้อกล่าวหาเท่านั้น ผิดถูกอย่างไร ก็จะต้องไปว่ากันที่ชั้นศาลอีกครั้ง

และสำหรับคนที่คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือคิดว่าตัวเองโดนกลั่นแกล้งด้วยมาตรา 112 กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหา “ฟ้องกลับ” ผู้กล่าวหาก็มีตัวอย่างให้เห็นกันแล้ว นั่นคือ กรณีที่ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ อดีต ส.ส.ราชบุรี เคยแจ้งความดำเนินคดีนายอรรถพล บัวพัฒน์ แกนนำกลุ่มขอนแก่นพอกันที ฐานผิดมาตรา 112 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ซึ่ง น.ส.ปารีณา ได้โพสต์ภาพขณะเข้าแจ้งความและติดแฮชแท็กกล่าวหานายอรรถพล ทั้งที่การจะตัดสินว่านายอรรถพลมีความผิดจริงหรือไม่นั้นต้องไปว่ากันในกระบวนการชั้นศาล แต่การกระทำของ น.ส.ปารีณา อาจทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่านายอรรถพลมีความผิดไปแล้ว

ปรากฏว่าต่อมานายอรรถพลได้ฟ้องกลับ น.ส.ปารีณา ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา พร้อมเรียกค่าเสียหายหลายล้านบาท และเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำพิพากษาว่า น.ส.ปารีณา มีความผิดในข้อหาหมิ่นประมาท และตัดสินจำคุก 16 เดือน โดยให้รอลงอาญา 2 ปี พร้อมกับมีคำสั่งปรับ 80,000 บาท จ่ายค่าสินไหมทดแทน 100,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย และให้ลงประกาศขอโทษในหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับเป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน

และจากกรณีข้างต้น หากมีการกลั่นแกล้งร้องทุกข์กล่าวหากันเรื่องมาตรา 112 ผู้กลั่นแกล้งยังมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 , 173 แล้วแต่กรณีอีกด้วย

จากตัวอย่างที่ยกมานี้จะเห็นว่า กฎหมายมาตรา 112 เอามาใช้กลั่นแกล้งกันไม่ได้ โดยผู้แจ้งความจะต้องมีหลักฐานครบถ้วนชัดเจน และจะต้องมีการสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่อย่างละเอียดทุกขั้นตอน ซึ่งหากมีการกลั่นแกล้งกัน นอกจากมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ผู้กล่าวหาอาจโดนฟ้องกลับอีกด้วย และแน่นอนว่า มาตรา 112 สามารถแจ้งความที่ไหนก็ได้ เพราะรัฐต้องอำนวยความสะดวกให้กับผู้ฟ้อง ไม่ใช่ผู้กระทำความผิด และอย่าลืมว่าโดยมากความผิดมาตรา 112 ในปัจจุบันเกิดขึ้นจากสังคมออนไลน์ ซึ่งก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า พบเห็นเหตุเกิดที่ไหน ก็แจ้งความได้ที่นั่นเลย ส่วนกรณีที่มีการโต้แย้งว่า บางเรื่องไม่ได้เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ แล้วทำไมไปแกล้งร้องทุกข์กล่าวโทษเสียไกล นั่นเพราะคดีนี้เป็นคดีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองตำแหน่งประมุขของรัฐ ดังนั้น ประชาชนที่พบเห็นการกระทำความผิดจึงสามารถแจ้งความที่ไหนก็ได้

จากข้อเท็จจริงทั้งหมดนี้ การที่มีคนละเมิดกฎหมายแล้วโดนดำเนินคดีแต่กลับออกมาอ้างว่าถูกคนอื่นใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้ง และโยนความผิดไปว่ากฎหมายมีปัญหา แล้วออกมาเรียกร้องยกเลิกกฎหมายที่ตนเองไม่เห็นด้วย จึงเป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น

ทุกคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ฝั่งฝ่ายใด ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ในอีกทางหนึ่งก็ย่อมมีสิทธิเสรีภาพและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียม ดังนั้น การที่มีคนทำผิดแล้วออกมาอ้างว่าโดนกลั่นแกล้งหรือโทษว่ากฎหมายมีปัญหา จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะกฎหมาย “ทุกฉบับ” ไม่ได้มีไว้เพื่อให้ใครใช้กลั่นแกล้งใคร แต่มีไว้เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า