การสร้าง Fake News ของคณะราษฎร เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง

ทุกวันนี้หากเราได้มีโอกาสอ่านเอกสารชั้นต้นในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ว่าด้วยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎรช่วงหลังปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ไม่นานนัก เราจะพบว่าในช่วงแรกเริ่มของระบอบการปกครองใหม่ ฝ่ายคณะราษฎรซึ่งเป็นผู้กุมอำนาจรัฐในขณะนั้น ก็ดูเหมือนว่าจะกลัวการ “โต้ปฏิวัติ” จนถึงขั้น “ขึ้นสมอง”

เหล่าคณะราษฎรได้ทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะรักษาอำนาจทางการเมืองของพวกตนเอาไว้ให้มั่นคง และหนึ่งในความพยายามนั้นคือ การจัดตั้ง “หน่วยสืบราชการลับทางการเมือง” ขึ้นมา เพื่อใช้สืบหาข่าว ติดตามเรื่องราว ว่ามีใครบ้างที่คิดต่อต้านการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญของพวกเขา

พันธกิจหลักของ “หน่วยสืบราชการลับทางการเมือง” หรือ “สายลับคณะราษฎร” คือการสอดแนม สืบข่าว ตามวังของเจ้านาย ตามสมาคม หน่วยงานราชการ หรือที่ใด ๆ ก็ตาม ที่พวกคณะราษฎรนึกหวาดผวาไปเองว่า อาจจะมีการรวมตัวกันวางแผนเพื่อกระทำการต่อต้านระบอบรัฐธรรมนูญ

เหล่า “สายลับคณะราษฎร” จะคอยจัดหาคนแล้วส่งไปสังเกตการณ์ โดยปลอมเป็นคนจีนบ้าง เป็นคนตกปลาบ้าง เพื่อสอดแนมและส่งรายงานข่าวกรองดังกล่าวให้แก่คณะราษฎรผู้เป็นนายของพวกเขา ซึ่งทั้งหมดนี้มีปรากฏเป็นหลักฐานหลายชิ้นในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สร.0201.16 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง (มีหลักฐานอยู่ประมาณ 30 กล่อง)

ต่อมาสายลับเหล่านี้เริ่มแตกแยกแบ่งเป็นกลุ่มเป็นก๊กเพื่อแข่งขันกันเอง และเมื่อย่างเข้าสู่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2475 ถึงต้นปี พ.ศ. 2476 การประชันขันแข่งของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมไทย ได้ทวีความรุนแรงและแตกแยกขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นเหตุการณ์นองเลือด ดังที่ หม่อมเจ้า พูนพิศสมัย ดิศกุล พระธิดาของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงบันทึกบรรยากาศในเวลานั้นไว้ว่า

“…ลงท้ายเขาก็ต่างคนต่างหาพวกและคิดสู้กันเอง จนมีนักสืบ (spy) และนักสืบพิฆาฏ (trained murderer) เกิดขึ้นชุกชุมทุกหนทุกแห่ง, เช่นเรื่องพระยาเสนาสงคราม คณะชาติลูกลอบยิง เป็นต้น…”

นอกจากนี้ยังมีการรายงานข่าวเท็จของพวก “สายลับคณะราษฎร” ให้แก่ผู้เป็นนายของพวกเขาด้วย ซึ่งตัวอย่างข่าวเท็จที่เรียกได้ว่าเป็นการมโนเพ้อฝันมากที่สุดข่าวหนึ่งคือ การรายงานว่า “สมเด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงสนับสนุนสมาชมชาวปักษ์ใต้ให้ต่อต้านรัฐบาลคณะราษฎร โดยการให้เงิน 1 ล้านบาทเพื่อซื้อเสียงคนใต้”

มีการรายงานอย่าง “เป็นตุเป็นตะ” ว่า สมเด็จฯ กรมพระนครสวรรค์ ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่บันดุง เกาะชวาของดัตช์ ทรงต้องการกลับมามีอำนาจ เลยวางแผนร่วมมือกับพวกเจ้านายคนอื่น ๆ เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งขณะนั้นทั้ง 2 พระองค์พำนักอยู่ที่เกาะปีนัง ดินแดนมลายาของอังกฤษ มาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2476

ในรายงานดังกล่าวมีแม้กระทั่งการวาดแผนผังเชื่อมโยงว่าแต่ละพระองค์เกี่ยวข้องกันอย่างไร และมีการใส่ร้ายด้วยว่า คนไทยปักษ์ใต้เป็นกำลังหลักของแผนการกบฏต่อคณะราษฎร โดยมีขุนนางคนไทยเชื้อสายเปอรานากานสายสกุล “ณ ระนอง” เป็นตัวเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างเจ้านายและคนใต้

ซึ่งในข้อเท็จจริงนั้น จนถึงปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า เจ้านายทั้ง 3 พระองค์ที่ “สายลับคณะราษฎร” ได้สร้างเรื่องใส่ร้ายปรักปรำนี้ ทรงไม่มีความประสงค์ที่จะกลับมามีอำนาจทางการเมืองอีก แต่ละพระองค์ทรงใช้ชีวิตอย่างสงบในต่างประเทศและทำในสิ่งที่พระองค์รัก เช่น แต่งหนังสือ หรือศึกษาหาความรู้และวางตนอยู่เหนือการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จฯ กรมพระนครสวรรค์ ซึ่งทรงลี้ภัยอย่างถาวรและไม่เคยมีโอกาสกลับประเทศไทยอีกจนวาระสุดท้ายของพระองค์ เพียงเพราะเห็นถึงความสงบสุขของประเทศ แต่พวกสาวกคณะราษฎรก็ไม่วายใส่ร้ายพระองค์ไม่หยุดหย่อนเพื่อให้เสื่อมเสียพระเกียรติ

การใส่ร้ายป้ายสีเจ้านายทั้ง 3 พระองค์ รวมถึงการกล่าวหาในลักษณะดูถูก “คนใต้” ในรายงานของพวก “สายลับคณะราษฎร” จึงเป็นแค่การกุเรื่องเท็จขึ้นเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาของพวกเขาพึงพอใจเท่านั้น และจนถึงปัจจุบันก็ไม่เคยมีรายงานหรือหลักฐานใด ๆ ที่จะมาใช้ยืนยันข่าวลวงของพวก “สายลับคณะราษฎร” นี้เลย

นับแต่อดีต สถาบันพระมหากษัตริย์สร้างสมสิ่งต่าง ๆ เพื่อประเทศชาติและประชาชนมาโดยตลอด หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คณะราษฎรกลับยึดทุกอย่างเอาไปหมดสิ้น รวมถึงพยายามทุกวิถีทางในการกำจัดคนที่คิดว่าเป็นศัตรู และ “สายลับคณะราษฎร” ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ยืนยันถึงความตกต่ำทางการเมืองในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง :

[1] เอกสาร สร. 0201.16 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง (ตั้งแต่แฟ้ม 26 เป็นตนไปจนถึงแฟ้มที่ 35)
[2] หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล, สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (ฉบับรวมเล่ม) กรุงเทพฯ : มติชน 2557.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า