การยกระดับความเท่าเทียมของผู้หญิง ด้วยการกำหนดคำนำหน้านาม ของรัชกาลที่ 10

ในสมัย ร.6 นอกจากเชื้อพระวงศ์และข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์แล้ว พระองค์ทรงได้ริเริ่มให้มีการใช้คำนำหน้านามอย่างกว้างขวาง สำหรับประกอบกับการใช้ชื่อและการใช้ชื่อสกุลด้วย

เดิมทีสำหรับสตรี การใช้คำนำหน้านาม ไม่มีระเบียบแบบแผนที่ตายตัวแน่นอน แต่เป็นที่เข้าใจกันว่าสตรีที่สมรสแล้ว หรือเป็นม่าย มักใช้คำนำหน้านามว่า “อำแดง” ดังนั้นในสมัย ร.6 จึงมีการรับเอาค่านิยมการใช้คำนำหน้านามแบบตะวันตกเข้ามา เพื่อใช้คำนำหน้านามบ่งบอกสถานภาพการสมรสของสตรี โดยในหลวง ร.6 ได้ออก พระราชกฤษฎีกาให้ใช้คำนำนามสตรี พ.ศ. 2460 ไว้ดังต่อไปนี้

  • นางสาว สำหรับสตรีที่ยังไม่สมรส
  • นาง สำหรับสตรีที่สมรสแล้ว หากกรณีที่เป็นภรรยาของข้าราชการสัญญาบัตรขึ้นไป ให้ใช้นางแล้วตามด้วยราชทินนามของสามี
  • คุณหญิง สำหรับสตรีที่สามีมีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา หรือได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน
  • ท่านผู้หญิง สำหรับสตรีที่สามีมีบรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยาและได้รับพระราชทานเครื่องยศ
  • ส่วนสตรีที่เกี่ยวเนื่องในพระราชวงศ์ เช่น หม่อมราชวงศ์หญิง หรือหม่อมหลวงหญิง ก็ให้ใช้คำนำหน้านามตามกำเนิด เว้นก็แต่หากได้รับพระราชทานเครื่องยศสำหรับท่านผู้หญิง จึงใช้คำนำหน้านามว่าท่านผู้หญิง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 ได้มี พระราชกฤษฎีกาให้ใช้คำนำหน้าสตรี (เพิ่มเติม) กำหนดให้สตรีที่เป็นนางกำนัลหรือพนักงานฝ่ายใน ซึ่งบิดามีบรรดาดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไป หรือได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ก็จะมีคำนำหน้านามว่า “คุณ” โดยที่ หากเป็นกรณีบิดามีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไป สตรีผู้นั้นจะใช้คำนำหน้านามว่า “คุณ” ได้ตลอดเวลาที่รับราชการนั้นอยู่ แต่ถ้าหากเป็นกรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ก็จะใช้คำนำหน้านามว่า “คุณ” ได้ตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์นั้นอยู่

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2464 ในหลวง ร.6 ยังทรงโปรดเกล้าฯ ออกพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยคำนำนามเด็ก พ.ศ. 2464 อีกด้วย โดยมีการใช้คำว่า “เด็กชาย” และ “เด็กหญิง” สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ลงมา และใช้คำนำหน้านามว่า “นายน้อย” และ “นางน้อย” สำหรับเด็กที่เป็นบุตรของข้าราชการชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป

แต่เนื่องจากความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คำนำหน้านามสำหรับเด็กที่ไม่ตรงตามพระราชประสงค์ จึงทรงพระราชดำริว่าเป็นภาระเปลืองเวลาจึงทรงประกาศให้ยกเลิก หลังจากใช้ได้เพียงปีเดียว ต่อมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงมีการประกาศใช้คำนำหน้านามสำหรับเด็ก โดยให้ใช้ว่า “เด็กชาย” และ “เด็กหญิง” เหมือนกันทุกชั้นบรรดาศักดิ์

และภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ไม่มีการพระราชทานบรรดาศักดิ์อีกต่อไป และในเวลาต่อมารัฐบาลก็ได้มีการออก พรบ.ยกเลิกบรรดาศักดิ์ พ.ศ. 2485 หลังจากไม่ประสบความสำเร็จในการที่จะรื้อฟื้นการนำระบบบรรดาศักดิ์กลับมาใช้อีก จึงทำให้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้คำนำหน้านามบางอย่างเป็นอันสิ้นสุดไป เหลือเพียงแต่การใช้คำนำหน้านามสตรี ที่ยึดโยงกับการได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 3 ประการ คือ

  • ท่านผู้หญิง คือ สตรีที่สมรสแล้ว และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) และชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
  • คุณหญิง คือ สตรีที่สมรสแล้ว และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) และ ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)
  • คุณ คือ สตรีที่ยังมิได้สมรส และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ไม่ว่าจะชั้นใดทั้ง 5 ชั้น ตั้งแต่ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) และ ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้มี พรบ.คำนำหน้านามหญิง ออกประกาศใช้ใหม่ โดยให้ใช้คำนำหน้านามสำหรับสตรี ดังต่อไปนี้

  • นางสาว สำหรับ หญิงซึ่งมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • นาง สำหรับหญิงที่สมรสแล้ว และหากหญิงที่สมรสแล้วจะใช้ “นางสาว” อย่างเดิมโดยไม่เปลี่ยนก็ได้ หรือเมื่อใช้ “นาง” แล้วจะขอกลับไปใช้ “นางสาว” ก็ได้ (แต่ว่า “นางสาว” หากจะเปลี่ยนเป็น “นาง” ต้องผ่านการสมรสก่อน)

จึงส่งผลให้ในปัจจุบัน “นางสาว” หรือ “นาง” ไม่จำเป็นต้องยึดโยงกับสถานภาพสมรสอีกต่อไป ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ออก “ประกาศการใช้คำนำหน้านามสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พ.ศ. 2564” โดยให้ ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ไม่ว่าจะสมรสหรือไม่ก็ใช้คำนำหน้านามอย่างเดียวกัน คือ

  • ท่านผู้หญิง สำหรับผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) และชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
  • คุณหญิง สำหรับผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) และ ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)

ราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ ยกเลิกข้อกำหนดของสตรีที่สมรสแล้ว และยังมิได้สมรส เพื่อให้บุรุษและสตรี สามารถมีศักดิ์ที่เท่าเทียมกัน ดังเช่นราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งมีคำนำหน้านามสตรีว่า Lady โดยไม่ได้จำกัดว่าสตรีนั้นสมรสแล้วหรือยัง

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงพระวิสัยทัศน์ และความทันสมัยของในหลวง ร.10 และนับเป็นการยกระดับความเท่าเทียมของผู้หญิงในสังคมไทยอีกด้วย

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า