ในหลวงเสียภาษีเท่าไหร่ ข้อเท็จจริงที่คนเรียกร้อง ‘ภาษีกู’ ไม่เคยรู้

ที่ผ่านมามีกลุ่มต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์พยายามสร้างวาทกรรม “ภาษีกู” แล้วกุความเท็จว่า ทุกวันนี้ภาษีของประชาชนถูกเอาไปให้ในหลวงใช้ และบางคนยังพยายามบิดเบือนด้วยว่า ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์คือเงินแผ่นดิน เป็นภาษีจากประชาชนที่ในหลวงเอาไปเป็นของท่าน

ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงนั้น ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์คือพระราชมรดกตกทอดของราชวงศ์จักรี และไม่เคยตกเป็นของแผ่นดิน ไม่เคยเป็นของรัฐ แม้ว่าจะมีความพยายามยึดโดยคณะราษฎรก็ตาม และการย้ายโอนทรัพย์สินพระมหากษัตริย์จากความดูแลของกระทรวงการคลังไปเป็นพระปรมาภิไธยของในหลวง ก็เพราะสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งคือ เพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ในแต่ละปีนั้น ในหลวงต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ซึ่งจากเฉพาะข้อมูลที่เปิดเผยได้ (ยังไม่รวมรายได้อื่นๆ ที่พระองค์ต้องเสียภาษีเช่นกัน) แค่รายได้จากเงินปันผลของทั้ง 3 บริษัท คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (SCB), บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (SCG) และ บริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด

ในหลวงต้องเสียภาษีทุกปีจากรายได้เงินปันผลทั้ง 3 บริษัทนี้ ปีละ 3,000 กว่าล้านบาท

สำหรับคำถามที่ว่าในหลวงเสียภาษีเท่าไหร่ จริงๆ แล้วต้องเริ่มต้นที่ “ในหลวงต้องเสียภาษีหรือไม่” เมื่อเราพิจารณากฎหมายในปัจจุบัน นั่นคือ พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 พรบ.ฉบับนี้ไม่ได้กำหนดให้มีการยกเว้นการเก็บภาษีจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายฉบับก่อนๆ ที่เคยให้ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้รับการยกเว้นภาษี

นั่นหมายความว่า ในปัจจุบันไม่มีกฎหมายใดยกเว้นการเก็บภาษีจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ดังนั้น คำถามข้างต้นจึงได้คำตอบว่า “ในหลวงเสียภาษีเหมือนกับคนไทยทุกคน” ตามที่ประมวลกฎหมายรัษฎากรได้กำหนดให้บุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้

และถ้าอยากเจาะลึกให้ทราบว่า มูลค่าการเสียภาษีของในหลวงคือเท่าไหร่ ก็ต้องย้อนกลับไปดูที่กฎหมายว่ากฎหมายกำหนดให้บุคคลต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ซึ่งตามประมวลกฎหมายรัษฎากร ได้กำหนดให้บุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้ เมื่อเริ่มมีรายได้ ฉะนั้นการประเมินว่าในหลวงจะเสียภาษีเท่าใด ก็ต้องดูที่ฐานของรายได้

สำหรับรายได้อื่นๆ ซึ่งมาจากธุรกิจที่ทรงรับพระราชมรดกมาจากพระราชบุพการี มีทั้งเป็นที่ดินและกิจการหลายกิจการ สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลส่วนตัว ซึ่งข้อมูลการเสียภาษีนั้นหน่วยงานของรัฐจะไม่มีการเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ แต่ทั้งนี้ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ในปัจจุบันหน่วยงานรัฐมีระเบียบที่กำหนดให้หน่วยงานราชการต่างๆ หรือสถาบันการเงินในกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่นำส่งข้อมูลรายได้ให้กับกรมสรรพากร

ดังนั้น ถึงแม้ในหลวงจะมีรายได้อื่นจากการประกอบธุรกิจ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ได้รับมรดกจากพระราชบุพการี แต่พระองค์ก็มีภาระในการเสียภาษีเช่นเดียวกับคนไทยทุกคน

และนอกจากนี้ สำหรับบริษัทจำกัดมหาชน กฎหมายกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ของบริษัท อย่างกว้างขวงยิ่งกว่าองค์กรทางธุรกิจตามกฎหมายใดๆ ดังนั้น หุ้นในพระปรมาภิไธยของในหลวง จึงได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 บริษัท คือ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ กับอีกบริษัท คือ บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งแม้จะเป็นบริษัทมหาชน แต่ได้ถอนจากกระดานซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว (แต่ก็ยังมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลเหมือนกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์)

ซึ่งรายได้จากเงินปันผลทั้ง 3 บริษัทนี้ ในหลวงท่านต้องรับภาระเสียภาษีในอัตราตามที่กฎหมายกำหนด คือนอกจากต้องคิดภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% แล้ว เงินปันผลยังต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ด้วย โดยรายได้ของในหลวงที่มาจากบริษัทมหาชน ทั้ง 3 บริษัทนี้ ในปี พ.ศ. 2564 คิดเป็นเงิน 11,897,994,330 บาท และต้องเสียภาษีถึง 3,357,867,310.9 บาท โดยได้รับปันผลเป็นตัวเงินจริง 8,540,127,019.1 บาท ซึ่งแยกรายละเอียดในแต่ละบริษัทได้ดังนี้

  1. บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

ในหลวงถือหุ้น 49,341,264 หุ้น คิดเป็น 98.68%

ปี พ.ศ. 2564 ปันผล 275,000,000 บาท 271,370,000 บาท (เครดิตภาษี 20%  339,212,500 บาท – ยอดปันผลที่แท้จริง) หัก ณ ที่จ่าย 27,370,000 บาท ต้องเสียภาษี 95,212,500 บาท รวมเงินปันผลที่ได้จริง 244,000,000 บาท

  1. บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

ในหลวงถือหุ้น 403,647,840 หุ้น คิดเป็น 33.64%

ปี พ.ศ. 2564 ปันผลหุ้นละ 18.50 บาท เป็นเงิน 7,467,485,040 บาท เครดิตภาษี 9,344,356,300 บาท หัก ณ ที่จ่าย 746,748,504 บาท ต้องเสียภาษี 2,623,619,764 บาท รวมเงินปันผลที่ได้จริง 6,720,736,536 บาท

  1. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ในหลวงถือหุ้น 793,832,359 หุ้น คิดเป็น 23.35%

ปี พ.ศ. 2564 ปันผลหุ้นละ 2.3 บาท เป็นเงิน 1,825,814,425.7 บาท เครดิตภาษี 2,282,268,030 บาท หัก ณ ที่จ่าย 182,581,442.57 บาท ต้องเสียภาษี 639,035,046.9 บาท รวมเงินปันผลที่ได้จริง 1,643,232,983.1 บาท

ปี พ.ศ. 2565 มติการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 13/2565 กันยายน 2565 ปันผลหุ้นละ 17.94544 บาท เป็นเงิน 14,245,670,968.4 บาท เครดิตภาษี 17,807,088,710 บาท หัก ณ ที่จ่าย 1,424,567,096.84 บาท ต้องเสียภาษี 4,985,984,838.4 บาท  รวมเงินปันผลที่ได้จริง 12,821,103871.6 บาท

และในปัจจุบัน เงินงบประมาณแผ่นดินที่ถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้สอยเป็นการส่วนพระองค์ ได้ถูกตั้งเป็นงบเงินอุดหนุนหน่วยงานราชการในพระองค์ ซึ่งไม่ใช่การถวายเงินเป็นการส่วนพระองค์อีกต่อไป และในหลวงก็ไม่ได้รับเงินงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์จากหน่วยงานราชการในพระองค์ ดังนั้น จึงทรงไม่มีรายได้จากเงินงบประมาณแผ่นดินที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลภาษีจากเงินปันผลของทั้ง 3 บริษัท ที่ในหลวงทรงต้องจ่ายตามที่กฎหมายกำหนด และยังไม่นับรวมภาษีจากรายได้อื่นๆ อีก

การเสียภาษีถือเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ ซึ่งภาษีเหล่านั้นจะไปรวมเป็นงบประมาณแผ่นดิน ให้รัฐบาลทุกรัฐบาลนำไปพัฒนาสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติต่อไป แต่ทุกวันนี้มีข้อเท็จจริงอยู่อย่างหนึ่งว่า หลายคนที่ออกมาเรียกร้อง “ภาษีกู” บางคนมีรายได้แต่กลับไม่เคยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลย แล้วเอาแต่อ้างเรื่อง VAT 7% แถมบางคนยังพยายามเลี่ยงภาษีเสียด้วยซ้ำ แต่กลับไปใช้สวัสดิการ ใช้สาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งมาจากภาษีที่คนไทยส่วนใหญ่เขาจ่าย

แบบนี้ก็น่าตั้งคำถามกลับไปเหมือนกันว่า จริงๆ แล้วใครใช้ภาษีใครกันแน่

ที่มา :

[1] รายงานประจำปี บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2564
[2] รายงานประจำปี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2564
[3] รายงานประจำปี บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2564
[4] ประมวลกฎหมายรัษฎากร
[5] พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561
[6] รายงานการประชุมคณะกรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 13/2565 5 กันยายน 2565

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า