เอกสารสหรัฐฯ ยันชัด รัชกาลที่ 9 ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

มีผู้พยายามกล่าวหาในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นองเลือดในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 โดยอ้างคำบอกเล่าของนักการทูตชาวอังกฤษคนหนึ่ง ทำนองว่าหัวหน้าคณะรัฐประหารในขณะนั้น ได้เข้าเฝ้า และได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากในหลวงรัชกาลที่ 9

ซึ่งเป็นการกล่าวหาที่เลื่อนลอย ของกลุ่มผู้ที่ต้องการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการโกหกปลุกปั่นเพื่อโจมตีในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยตรง

คำโกหกเลื่อนลอย

มีผู้พยายามอ้างเอกสารคือจดหมายของ D L Cole นักการทูตชาวอังกฤษ ที่ส่งถึงเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 โดยมีใจความบอกว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสนับสนุนและเลือกนาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร ให้เป็นนายกรัฐมนตรี มาตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์ในปี 2519 หลายเดือน

และยังอ้างอีกว่าในหลวงทรงรับสั่งกับนาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร โดยตรง ว่าจะทรงเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี หากมีเหตุจำเป็น

หลักฐานข้อเท็จจริง

เอกสารของ D L Cole นี้ เป็นเพียงบทสนทนาที่เล่าลือต่อ ๆ กันมา ซึ่งขัดแย้งกับหลักฐานที่อ้างอิงอยู่ในหนังสือ “บันทึกการปฏิวัติ 1-3 เมษายน 2524 กับข้าพเจ้า” ของศาสตราจารย์ บุญชนะ อัตถากร โดยได้บันทึกบทสนทนาระหว่างพลเรือเอก สงัด ชะลออยู่ กับ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ระบุไว้ว่า

นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร ไม่เคยมีโอกาสได้เข้าเฝ้าในหลวงรัชกาลที่ 9 มาก่อนเลย

และจากคำพูดของพลเรือเอก สงัด ชะลออยู่ ได้ความว่า ก่อนหน้าเหตุการณ์ 6 ตุลาคม มีทหารกลุ่มหนึ่งวางแผนที่จะทำการปฏิวัติ ดังนั้นพลเรือเอก สงัด จึงได้เข้าเฝ้าและกราบทูลในหลวงว่า จะทำการปฏิวัติเสียก่อน แต่ในหลวงทรงรับสั่งชัดเจนว่า “ไม่เห็นด้วย” กับการปฏิวัติใด ๆ มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519

ซึ่งปรากฏว่า คำกล่าวของพลเรือเอก สงัด ชะลออยู่ ตรงกับรายงานของสถานทูตสหรัฐอเมริกา ที่ส่งไปยังกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ของสหรัฐอเมริกาต่อเหตุการณ์ในประเทศไทย โดยสหรัฐฯ ระบุว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ไม่ควรจะเกิดขึ้น ด้วยเหตุผลดังนี้

  1. ผู้บัญชาการเหล่าทัพในขณะนั้น ต่างทราบข่าวมานานแล้วว่า จะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นโดยทหารอีกกลุ่มหนึ่ง จึงได้เตรียมพร้อมรับมือตลอดเวลา
  2. ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงแสดงพระประสงค์อย่างชัดเจน มาตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2519 ว่า พระองค์ไม่ต้องการให้เกิดการปฏิวัติ ไม่ว่าจากฝ่ายใดก็แล้วแต่
  3. ผู้นำทางทหารทุกฝ่ายต่างมีความเห็นตรงกันว่า ในช่วงนั้นถือเป็นยุคสิ้นสุดอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจร แล้ว อีกทั้งการปฏิวัติจะทำให้เกิดการสูญเสีย และลุกลามจนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
  4. ก่อนหน้านั้น ผู้นำนักศึกษาและแรงงานเริ่มยุติการชุมนุม และบางส่วนถูกจับกุมตัว อีกทั้งยังมีนักศึกษาจำนวนมากตระหนักได้ว่า มีการคุกคามพระราชวงศ์เกิดขึ้นจริง จึงเตรียมถอนตัวจากการชุมนุม หากแต่เกิดการปะทะขึ้นอย่างกะทันหันเสียก่อน

ดังนั้นทางสหรัฐฯ จึงสรุปว่า การทำรัฐประหารในครั้งนั้น จำเป็นต้องเกิดขึ้นเพื่อควบคุมสถานการณ์การปะทะกันระหว่างนักศึกษาและฝ่ายรัฐบาล มิได้เกิดจากการสั่งการของพระมหากษัตริย์แต่ประการใด

นี่เป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่ยืนยันชัดเจนว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่ได้อยู่เบื้องหลัง และไม่ได้เป็นผู้สั่งให้เกิดการนองเลือดในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 แต่อย่างใด

ซึ่งปัจจุบันต่างก็มีข้อมูล ตลอดจนทรรศนะของนักวิชาการหลายคน ที่สนับสนุนคำยืนยันนี้ แม้แต่ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผู้ทุ่มเวลาศึกษากรณี 6 ตุลา มาทั้งชีวิต ก็ยังยืนยันหัวชนฝาว่า “เป็นไปไม่ได้ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 จะเป็นผู้สั่งฆ่าประชาชน

อ้างอิง :

[1] หนังสือ บันทึกการปฏิวัติ 1-3 เมษายน 2524 กับข้าพเจ้า, 2525 โดย บุญชนะ อัตถากร
[2] 425. Telegram 28513 From the Embassy in Thailand to the Department of State, October 14, 1976, 1117Z.
[3] ทรรศนะ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล 28 มกราคม 2561

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า