เมื่อมีคนพูดถึงโครงการพระราชดำริว่า “โครงการแบบนี้ มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่จะทำ”

เมื่อเรานึกถึงภาพในหลวงภูมิพล ก็จะนึกถึงพลังความรักและศรัทธาในตัวพระองค์อย่างท่วมท้น ที่พสกนิกรชาวไทย มีให้แด่พระองค์ และมีหลายครั้ง ที่เหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศนั้น จบลงได้ด้วยพระราชดำรัสเพียงไม่กี่ประโยค พระบารมีที่ท่วมท้นราวกับปาฏิหาริย์นี้นั้น มีมากจนราวกับว่า ทั่วแผ่นดินนี้ ไม่มีใครเลยที่จะกล้าต้านทานพระองค์

แต่ทราบมั้ยครับว่า เคยมีวันที่ข้าราชบริพาร ข้าราชการ และนักวิชาการ คัดค้าน ไม่เชื่อในพระองค์อย่างหนัก จนถึงขั้นที่มีคนพูดว่า “โครงการแบบนี้ มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่จะทำ”

โครงการดังกล่าวคือโครงการ “โครงการระบบกักเก็บน้ำในถ้ำตามพระราชดำริ (ถ้ำห้วยลึก)”ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นนวัตกรรม การสร้างเขื่อนปิดปากถ้ำหินปูนเพื่อเก็บน้ำเอาไว้ใต้ดิน ซึ่งโครงการนี้นั้น ต้องใช้เวลายาวนานถึง 30 ปีกว่าจะเห็นผล ประสพความสำเร็จเลยทีเดียว

ซึ่งความจริงแล้วในหลวงทรงเสนอโครงการนี้เอาไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 แล้ว แต่เวลานั้น ไม่มีใครเชื่อพระองค์เลย อีกทั้งยังรวมตัวกันคัดค้านอีกด้วย

เพราะไม่เชื่อ เลยไม่มีใครสนองพระราชดำริ จึงไม่เกิดโครงการอะไร

แต่ 23 ปีต่อมา มีคนชื่อ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล “เชื่อ” และจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อสนองโครงการพระราชดำริของพระองค์ มีการเสาะหาผู้ออกแบบรับเหมามาทำ ซึ่งทุกรายล้วนปฎิเสธที่จะทำ เพราะทุกคนคิดว่า “ทำไม่ได้” ทำแล้วเขื่อนจะต้องรั่วแน่ ๆ จนถึงกับพูดว่า

ถ้าอยากทำ ก็ต้องไปหา “คนบ้า” มาทำ

บางคนถึงกับบ่นว่า “จะตามพระทัยพระองค์ท่านไปทำไมกัน” เพราะแทบทุกคน “ไม่เชื่อ” ในพระราชดำริของพระองค์ จนกระทั่ง มีคนบ้ามารับงานนี้ไปทำเข้าจนได้

สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือ การรั่วซึม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดการณ์เอาไว้อยู่แล้วว่าจะเกิด ทุกคนปวดหัวและปวดใจกับการตามอุดรูรั่ว การซ่อมแซมรูรั่วนี้กินเวลายาวนานถึง 3 ปี ทุกคนต่างสงสัยว่า จะไล่อุดไล่ซ่อมแบบนี้ไปทำไม ? ระดับน้ำในถ้ำ ก็ไม่ได้สูงขึ้นมา ไม่เห็นจะเกิดประโยชน์อะไรเลย ?

แต่สิ่งทีทำให้ทุกคนอ้าปากค้างยิ่งกว่าคือ พระราชกระแสรับสั่งว่า “ต่อไปนี้ให้ทำเขื่อนปิดปากถ้ำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ”

ก็เห็นอยู่ว่าทำมาแล้วรั่ว ทั้งอุด ทั้งซ่อมมาต่อเนื่องแล้วขนาดนี้ ทำไมยังรับสั่งให้สร้างเพิ่มอีก ?

กว่าทุกคนจะถึงบางอ้อ จากความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์รอบภูเขาที่แต่เดิมจะแห้งแล้งจนไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้เลย กลับกลายเป็นอุดมสมบูรณ์ ดินมีความชื้นมากเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก อันเนื่องมาจากน้ำที่ไหลซึมรวมตัวกันในถ้ำใต้ดินในฤดูน้ำหลากนั้น ถูกกักเก็บเอาไว้ด้วยเขื่อนปิดปากถ้ำ มิได้ไหลลงสู่พื้นราบ และน้ำที่ซึมออกไปจากรูรั่วเหล่านั้น คือตัวการในการสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นดินโดยรอบภูเขา จนมีความชื้นมากเพียงพอแก่การทำการเกษตรในฤดูแล้ง แก้ปัญหาพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชน

ความจริงแล้ว โครงการนี้ควรจะเสร็จเร็วกว่าที่เป็นจริง เพราะช่วงต้นโครงการนั้น ดร. สุเมธ เคยเชิญทีมงานจากญี่ปุ่นเข้ามา และทีมงานญี่ปุ่นนั้น ตื่นเต้นและชื่นชมแนวพระราชดำรินี้อย่างมาก แต่ทว่า ในหลวงทรงมีพระราชประสงค์อย่างแรงกล้าว่า “คนบ้าที่จะมาทำนั้น ต้องเป็นคนไทยเท่านั้น” ทรงสงวนองค์ความรู้นี้เอาไว้ให้คนไทยได้รู้ก่อนเท่านั้น

ตลอดระยะเวลาที่ในหลวงภูมิพลทรงครองราชย์นั้น พระองค์ทรงทรงงานอย่างหนักตลอดเวลา และที่สำคัญคือ ทรงพิสูจน์ตัวเองต่อพสกนิกรของพระองค์ตลอดเวลาว่า “พระองค์นั้นสามารถพึ่งพาได้ ทรงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ให้ประชาชนชาวไทย ได้อยู่เย็นเป็นสุขได้จริงจริง”

พ.ศ. 2524 เวลานั้น ไม่มีใครเชื่อมั่นในพระราชดำริที่ลึกล้ำของในหลวงภูมิพล จึงไม่มีใครเชื่อ และพระองค์ ก็มิได้บังคับขู่เข็ญให้ใครต่อใครมาเชื่อพระองค์

พ.ศ. 2547 เวลานั้น ผลงานของพระองค์เป็นที่ประจักษ์มากแล้ว พระบารมีมากล้น แต่ก็ยังคงมีการ “ตั้งข้อสงสัย” ต่อพระราชดำริที่ลึกล้ำเช่นนี้อยู่ดี

นี่คือหลักฐานประการหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์ไทย ไม่ได้มีพระราชอำนาจถึงขนาดที่จะสั่งให้ข้าราชการทุกหมู่เหล่า ซ้ายหันขวาหัน ตามพระทัยของพระองค์ดั่งที่ เกษียร เตชะพีระ (พ.ศ. 2563) เคยกล่าวเอาไว้ว่า “ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชอำนาจจำกัด (limited monarchy), ด้วยรัฐมิได้อยู่ใต้การครอบครองควบคุมของสถาบันกษัตริย์เยี่ยงสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกต่อไป”
พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในปัจจุบันนั้น มาจากความเชื่อมั่นศรัทธาที่พสกนิกรชาวไทย มอบให้ในหลวงของเรา ซึ่งนี่เป็นศรัทธา ที่เกิดจากการพิสูจน์พระองค์เองต่อพสกนิกรของพระองค์ ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์มาตลอด 70 ปีนั่นเอง

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า