‘เซ็นรับรองรัฐประหาร’ คำกล่าวหาอันน่าขันของผู้ไม่เข้าใจหลักการปกครอง

ทุกวันนี้หลายคนยังเชื่อกันเป็นตุเป็นตะว่า “การเซ็นรับรองรัฐประหาร” คือการที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเห็นชอบด้วย และทรงควบคุมให้การสนับสนุนคณะผู้ก่อการ ราวกับว่าการลงพระปรมาภิไธยคืออำนาจขั้นสูงสุดในการสร้างความชอบธรรมให้กับการรัฐประหารแต่ละครั้ง

ส่วนหนึ่งมาจากชุดหนังสือ (ที่อ้างว่า) เปิดกะลาทั้งหลายแหล่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากหนังสือ The King Never Smiles เขียนโดย Paul Handley ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลไว้อย่างผิด ๆ

วาทกรรมประดิษฐ์

The King Never Smiles ได้เขียนถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงห้วงเวลาต่าง ๆ ของการเมืองไทย ราวกับผู้เขียนเป็นคนไทยเสียเอง และได้นำเสนอประเด็นที่ว่า การรัฐประหารแต่ละครั้งประสบความสำเร็จ เพราะได้รับการ “สนับสนุน” (approval) จากในหลวงรัชกาลที่ 9

แต่หนังสือดังกล่าวกลับไม่ได้นำเสนอข้อมูลหรือทฤษฎีทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในการสร้างคำอธิบายเช่นนี้เลย

นับเป็นการกล่าวหาที่ไร้เหตุผล และดึงในหลวงรัชกาลที่ 9 เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยใช้ความคลุมเครือของคำว่า “เซ็นรับรองรัฐประหาร” ตามที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีพยายามกระทำมานับสิบ ๆ ปี

ความจริงที่พิสูจน์ได้

การเซ็นรับรองรัฐประหารไม่มีจริง เป็นแค่วาทกรรมที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้

รูปแบบของการรับรองรัฐประหารนั้น ไม่ได้กระทำผ่านการ “เซ็น” ในเอกสาร เพื่อขอพระบรมราชานุญาตแต่อย่างใด แต่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการ “เซ็นรับรองรัฐประหาร” เป็นกระบวนการหนึ่งของการทำรัฐประหาร โดยเป็นขั้นตอนที่แยกออกมาต่างหาก

ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนั้น “ไม่มีจริง” และไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย

กระบวนการที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งเข้าใจผิดและเรียกไปว่าเป็นการ “เซ็นรับรองรัฐประหาร” คือ การประกาศแต่งตั้งคณะบริหารประเทศเป็นการชั่วคราว ซึ่งแน่นอนว่าคณะผู้บริหารประเทศชั่วคราวในเวลานั้น ล้วนมาจาก “คณะรัฐประหาร”

ตามหลักรัฐศาสตร์แล้ว เวลาเกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหารขึ้น เมื่อคณะผู้ก่อการได้ยึดอำนาจอย่างเด็ดขาดแล้ว ก็เท่ากับว่าคณะผู้ก่อการได้สถาปนาตัวเองเป็น “รัฏฐาธิปัตย์” (ผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ) เพื่อแต่งตั้งผู้บริหารราชการแผ่นดิน

การรัฐประหารในประเทศไทยแต่ละครั้งนั้น กว่าคณะปฏิวัติจะได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะบริหารประเทศชั่วคราว มักจะเว้นระยะเวลาสักพักก่อน เพื่อให้สถานการณ์ชัดเจนว่า คณะรัฐประหารยึดอำนาจได้เด็ดขาดจริง หรือไม่มีมติมหาชนคัดค้านการรัฐประหารแต่อย่างใด หลังจากนั้นจึงให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศเป็นพระบรมราชโองการ

การลงพระปรมาภิไธย หรือ “การเซ็น” ในประกาศพระบรมราชโองการดังกล่าว จึงมักมีผู้เข้าใจผิดแล้วนำไปบิดเบือนว่าเป็นการ “เซ็นรับรองรัฐประหาร”

แต่ในความเป็นจริง การรัฐประหารได้กระทำสำเร็จลุล่วงไปแล้วโดยผู้ถืออำนาจและใช้อำนาจรัฐที่แท้จริง คือ คณะรัฐประหาร จะออกคำสั่ง ตั้งกฎหมายอย่างไร ก็อยู่ที่คณะรัฐประหารเท่านั้น พระมหากษัตริย์ “ไม่มี” อำนาจตัดสินใจใด ๆ ทางการเมืองได้

อนึ่ง คณะรัฐประหารมีอำนาจมากขนาดไหน ดูได้จากการปฏิวัติตนเองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2494 ซึ่งคณะรัฐประหาร ได้ออกคำสั่งทางการปกครอง ไปก่อนหน้าที่จะได้รับการลงพระปรมาภิไธยเสียด้วยซ้ำ

จากข้อมูลข้างต้น ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า เหตุไฉนผู้เขียน The King Never Smiles จึงได้พยายามสร้างความบิดเบือน ด้วยเรื่องราวที่ปราศจากทฤษฎีทางกฎหมาย แต่โปรยปรายไปด้วยข้อความชักจูงทางอารมณ์ แถมยังรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันฯ และคืนวันของการเมืองไทยชนิดละเอียดยิบ ราวกับผีใต้เตียงเพรียงใต้พื้นขนาดนั้น

ที่มา :

[1] ปิยบุตร แสงกนกกุล, กฎหมายรัฐธรรมนูญ การก่อตั้งรัฐธรรมนูญ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (กรุงเทพ : 2560) โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[2] เอาผิดคณะรัฐประหาร? Public Law Net, 8 กรกฎาคม 2561, โดย ชำนาญ จันทร์เรือง

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า